สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.


Take home examination : Theory & Lab

ข้อกำหนดในการสอบภาคปฏิบัติเบื้องต้น
  • ให้ส่งไม่เกิน 15.00 น ของวันพุธสุดท้ายของการเรียน
  • การสอบภาคปฏิบัติขึ้นต้นด้วย lab #  เป็นการจำลองการนำวิชาสำรวจไปใช้ในงานก่อสร้างจริงบางอย่าง โดยให้ทำเป็นกลุ่มเหมือนเดิม
  • การทำระดับ หรือ วงรอบ ทุกครั้ง ต้องออกจากหมุดที่รู้ค่า และ บรรจบ กับหมุดที่รู้ค่า
  • การ plot graph ต้องทำด้วยมือและใช้ Ms - Excel เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
  • ให้เย็บเล่มส่งเป็นกลุ่มตามลำดับการถ่ายภาพ  และ ทำส่งใน home page ของแต่ละกลุ่มด้วย
  • การคำนวณระดับ และ วงรอบ จะต้องคำนวณโดยใช้ตารางคำนวณ

การสอบ Final เป็นการสอบแบบ ปิดตำรา

ข้อ 1. ความรู้ทั่วไปในงานสำรวจ

  • ความหมายของระดับน้ำทะเลปานกลาง

  • วิธีการกำหนดตำแหน่งในงานสำรวจ มีกี่วิธี อะไรบ้าง

  • ความแตกต่างระหว่าง Accuracy & Precision

  • ความหมาย และ ชนิด ข้อแตกต่างของ Errors & Mistake

  • ความหมาย และ วิธีการคำนวณหาค่า Accuracy Ratio & Error of Closure

  • ประโยชน์ของการวัดระยะด้วยการนับก้าว

  • วิธีการคำนวณการปรับแก้ระยะที่วัดได้จากเทปที่มีความยาวไม่ได้มาตรฐาน คือ อาจจะสั้นกว่า หรือ ยาวกว่า

  • วิธีการคำนวณหาความลาดเทของพื้นที่ทั้งในรูปของอัตราส่วน และ ในรูปของ Grade

  • วิธีการปรับแก้ระยะของเทปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

  • วิธีการปรับแก้ระยะของการวัดเทปที่ตกท้องช้าง

  • ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ของงานสำรวจชั้น 3 ที่เกี่ยวข้องกับ การทำระดับ การวัดระยะ และ การวัดมุม

  • การคำนวณความคลาดเคลื่อนเนื่องจากความโค้งและการหักเหของแสง

  • ความสัมพันธ์ของรัศมีความโค้ง ความไวของหลอดระดับ และ ผลที่เกิดขึ้น

  • คำจำกัดความของ BM , DATUM , ERROR OF COLLIMATION , BS , IFS , FS , HI , TP , TBM , PLAN , PROFILE , X - SECTION

  • ประโยชน์ของการทำระดับแบบสอบกลับ

  • วิธีการคำนวณหาการเอียงของแกนกล้อง และ วิธีการแก้ไข

  • ประโยชน์ของการหาระยะทางโดยการใช้ Stadia

  • ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ และ หลักการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนในงานสำรวจทั้ง ระดับ ระยะ มุม และ พิกัด

  • ข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่าง Azimuth & Bearing

  • วิธีการตรวจสอบมุมภายในของรูปเหลี่ยม

  • วิธีการคำนวณหาค่าของมุม Forward & Backward  Azimuth and Bearing

  • ข้อแตกต่างระหว่างวงรอบปิด และ วงรอบเปิด

  • หลักการ และวิธีการคำนวณหาค่า Latitude , Departure รวมถึง ประโยชน์ในการนำไปใช้ในงานสำรวจ

  • หลักการปรับแก้วงรอบโดยวิธี Compass Rule or Bowditch

  • ความหมาย และ ความสัมพันธ์ระหว่างมาตราส่วน กับ ระยะจริง

  • ความหมายของส่วนต่างๆของการวางโค้ง

  • ข้อจำกัดของการใช้โค้งแบบต่างๆในงานก่อสร้าง

  • ความหมายของ contour , contour interval , index contour ,  depression contour ,

  • ลักษณะของ contour , ร่องน้ำ , สันเขา , ความลาดชัน , ช่องเขา ,

  • วิธีการตรวจสอบการคำนวณการทำระดับ

ข้อ 2. การคำนวณการทำระดับทั้งวิธี HI & RF ( jack )

ข้อ 3. การคำนวณ Azimuth ของรูปเหลี่ยม ( gob )

ข้อ 4. การคำนวณหาพื้นที่และปริมาตรของรูปตัดตามขวางและตามยาว ( oat )

ข้อ 5. การเขียนแผนที่และตรวจสอบความถูกต้องของมุมและระยะทาง ( mon )

ข้อ 6. การคำนวณวงรอบปิด ( job )


Field Works

   

การคำนวณทุกครั้งต้องออกจากหมุดที่รู้ค่า และ เข้าบรรจบกับหมุดที่รู้ค่า
BM1 มีค่าระดับ  1.6872 รทก.

 

  lab # 1 
การหาพื้นที่และปริมาตรของอ่างเก็บน้ำจากเส้นชั้นความสูงโดยใช้ Planimeter
  lab # 2
การหาค่าพิกัดของหมุดสำรวจโดยใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งจากดาวเทียม
Global Positioning System
หรือ GPS
 

lab # 3
การคำนวณโค้งทางราบของถนนที่มีอยู่เดิม
โดยให้เส้นสัมผัสโค้งอยู่ชิดขอบถนนด้านนอก

 

  lab #4
การหาระดับของกันสาดและความสูงของกันสาดจากพื้นโดยใช้กล้องระดับ
  lab # 5
การหา spot height ของพื้นที่ที่กำหนดโดยการออกฉากจำนวน 5 x 5
และให้เขียนแผนที่ลงในกระดาษ A4 มาให้ดูด้วย
  lab # 6 การหาความลาดเทของท่อระบายน้ำ ถ้ากำหนดว่าความลาดเทของท่อระบายน้ำต้องไม่น้อยกว่า1 : 200
อยากทราบว่าท่านจะตรวจรับแนวท่อนี้หรือไม่เพราะเหตุใด
   lab # 7 การหาความลาดเทของรางระบายน้ำรูปตัว V ที่อยู่ข้างถนนถ้ากำหนดให้ความลาดเทของรางระบายน้ำ
ต้องไม่น้อยกว่า1 : 200

อยากทราบว่าท่านจะตรวจรับรางระบายน้ำนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด
 
  lab # 8  ถ้า ปิดทางระบายน้ำทุกช่อง และสร้างทำนบกั้นตามแนวที่ปัก POLE สูงถึงขอบถนน และ ถ้าฝนตกคิดเป็นความสูง
ชั่วโมงละ 10 มม. อยากทราบว่าจะใช้เวลานานเท่าใดน้ำฝนจึงจะเต็มถนน
 

 

 
 
 lab # 9 การหา Azimuth ของรอยต่อของพื้นจากจุดหักโค้งถึงบันไดทางลง โดยวัดจากทิศเหนือแม่เหล็ก และหา Azimuth
 ของด้านของวงรอบตามแนวรอยต่อของพื้น ( connected traverse )
   
     lab # 9
  
 
lab # 10  การหาพื้นที่โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างมุมและทิศทาง
       
 
 lab # 11 การหาค่าพิกัดฉากของพื้นที่ที่กำหนดโดยอาศัย Azimuth และค่าพิกัด จาก lab #2 และ lab # 9
 
 
lab # 12 การหาค่าความลาดชันของลาดถนนในรูปของ  % Grade
 
   
   
   
   
   
   

rscelaw@yahoo.com

ปรับปรุงแก้ไข อังคาร, 26 เมษายน 2548 19:42:03