สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.


แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคารตามมาตรฐาน วสท และ การประมาณราคางานก่อสร้างเบื้องต้น
หมวด 05 งานโครงสร้างเหล็กและโลหะอื่นๆ


งานฉาบ

  1. ข้อกำหนดทั่วไป
  • งานเหล็กรูปพรรณหรืองานโลหะที่มีลักษณะเป็นโครงเคร่า  เช่น โครงฝ้า   หรือโครงผนัง  อาจรวมอยู่ในงานหมวดเครื่องมุงหรืองานฉาบ
  • งานท่อโลหะ   อาจรวมอยู่ในงานหมวดระบายน้ำ  หรืองานท่อสุขาภิบาล
  •  งานประตู  หน้าต่างโลหะ  อาจรวมอยู่ในงานหมวดประตูหน้าต่าง
  1. ขอบเขตงานในราคาต่อหน่วย  ในการประมาณราคางานเหล็กรูปพรรณและงานที่ทำด้วยโลหะโลหะ  จะต้องรวมถึงรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • การจัดหา  ขนส่ง  และการจัดตั้ง
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ค่าออกแบบรายละเอียดในกรณีที่จำเป็น
  •  สลักเกลียว  หมุดย้ำ  และอุปกรณ์ยึด  หรือรอยเชื่อมต่อที่ใช้เชื่อมตามจุดต่อต่างๆ
  •  การเสียเปล่าเนื่องจากการตัดและอื่นๆ
  • สำหรับงานลูกกรง(Balustrades) ราวจับ(Handrails)  ให้รวมถึงการดัดโค้งต่างๆ นอกจากจะระบุว่าให้วัดแยก
  1. การแบ่งรายการของงาน
  • จำแนกตามคุณภาพและชนิดของโลหะที่ใช้  เช่น เหล็ก  อลูมิเนียม  ทองเหลือง  สเตนเลสสตีล
  • จำแนกตามวิธีการประกอบ (Type of Fabrication) ซึ่งสามารถจำแนกออกได้ดังต่อไปนี้ ( ในแต่ละประเภทให้ระบุถึงมิติของโครงสร้างและระยะยกที่สูงที่สุด)
    • คานและเสาที่เป็นเหล็กรูปพรรณหน้าตัดต่างๆ ที่ติดตั้งโดยใช้หมุดย้ำ   หรือสลักเกลียวแต่เพียงอย่างเดียว
    • คานและเสาที่เป็นเหล็กรูปพรรณหน้าตัดต่างๆ ที่มีรายละเอียดซับซ้อนมากขึ้น  เช่น มีเหล็กแผ่นเชื่อม  (Welded Plate)  หรือแป้นหูช้าง (Bracket)
    • คานและเสาที่ประกอบขึ้นจากแผ่นเหล็ก  เช่น คานเหล็กแผ่นประกอบ(Plate Girder)   เสาประกอบ (Box Column)
    • ชิ้นส่วนทแยง (Bracing)  ที่ประกอบขึ้นจากเหล็กฉาก  (Angle Steel) เหล็กหน้าตัดกลวง (Hpllow Section)  และเหล็กหน้าตัดรูปอื่นๆ
    • โครงถักข้อหมุน (Truss) ที่ประกอบขึ้นจากเหล็กรูปพรรณต่างๆ
    • โครงข้อแข็ง  (Rigid Frame)
    •  แป  (Purlin)  รวมทั้งเหล็กยึดโยง (Tie Rod)
  • จำแนกตามประเภทของการเคลือบผิวโลหะ  เช่น  เหล็กเคลือบสังกะสี  เหล็กทาสีกันสนิม
  •  การอัดลิ่ม  (Wedging)  และการอัดปูนเหลว (Grouting) ในกรณีที่วัดแยก
  • สลักเกลียวยึดฐาน  (Holding Down Bolts)
  1. วิธีการวัด
  • การวัดให้วัดตามระยะและขนาดสุทธิตามแบบ  หรือมิฉะนั้นต้องระบุวิธีวัดให้ชัดเจน  คำนวนน้ำหนักให้ใช้นำหนักต่อหน่วยปริมาตราที่ใช้โดยทั่วไป (Nominal Unit Mass of Standard Section) โดยไม่มีการเผื่อสำหรับเศษเหลือจากการตัดประกอบ ส่วนเหลือจากการม้วน (Rolling Margins)  หรือเผื่อน้ำหนักของลวดเชื่อม (Welding Rod)  หรือหัวหมุดย้ำ(Rivet Head)
  •  น้ำหนักของแผ่นรองฐาน  (Base Plate)   และแผ่นเสริมตีนเสา(Cap Plate)  หรือแผ่นเสริมกำลัง  (Stiffeners) ของชิ้นโครงสร้างต่างๆ ให้รวมอยู่ในชิ้นโครงสร้างแต่ละชิ้นนั้น  นอกจากจะระบุให้วัดแยก
  •  โครงข้อแข็ง  (Rigid Frame)  จะต้องวัดรวมจันทัน  (Rafter) เป็นรายการเดียวกัน  โดยรวมจุดต่อต่างๆ แต่ต้องระบุระยะต่างๆ ให้ชัดเจน
  •  ท่อเหล็กประกอบขนาดใหญ่ให้วัดความยาว  โดยแยกแต่ละเส้นผ่านศูนย์กลาง  และแยกท่อตรงและท่อโค้ง
  • งานประตูและหน้าต่างโลหะให้รวมอุปกรณ์ประกอบเป็นชุดโดยต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจน
  1. หน่วยของการวัด
  • งานโครงสร้างเหล็กทั่วไป โครงสร้างโลหะทั่วไป         วัดเป็น          กิโลกรัม
  • งานท่อเหล็ก  ราวจับ       (ระบุรายละเอียด)              วัดเป็น         เมตร
  • ประตู  หรือลูกกรงเหล็กดัด           (ระบุรายละเอียด)  วัดเป็น         จำนวน
  • โครงข้อแข็ง        (ระบุรายละเอียด)                        วัดเป็น        จำนวน

โครงข้อแข็ง (Rigid Frame)

       
  1. จะต้องวัดรวมจันทัน(Rafter) เป็นรายการเดียวกัน โดยรวมจุดต่อต่างๆ แต่ต้องระบุระยะต่างๆ ให้ชัดเจน

rscelaw@yahoo.com

ปรับปรุงแก้ไข จันทร์, 26 ธันวาคม 2548 15:40:42