ความสูงของเสา
หรือ กำแพง ที่ใช้ในการคิดปริมาณคอนกรีต และ พื้นที่แบบหล่อ
เมื่อมีแป้นหัวเสา (Drop Panel)
- ให้วัดจากส่วนบนสุดของฐานเสา(Column Base)
ไปจนถึงท้องแป้นหัวเสาชั้นหนึ่ง
จากด้านบนของพื้นชั้นหนึ่งไปจนถึงท้องแป้นหัวเสาถัดไปตามลำดับ
-
การคิดความสูงเพื่อคิดปริมาตรคอนกรีต
และพื้นที่แบบหล่อเสาหรือกำแพง กรณีท้องพื้นมีแป้นหัวเสา (Drop Panel)
ให้วัดจากส่วนบนสุดของฐานเสา(Column Base)
ไปจนถึงท้องแป้นหัวเสาชั้นหนึ่ง จากด้านบนของพื้น(หลังพื้น)
ชั้นหนึ่งไปจนถึงท้องแป้นหัวเสาถัดไปตามลำดับ
|
การวัดปริมาตรคอนกรีตพื้น
- ความกว้างและความยาวคิดจากจุดศูนย์กลาง
ของจุดรองรับถึงจุดศูนย์กลางของจุดรองรับ หรือ ริมสุดของแผ่นพื้น (กรณีเป็นพื้นช่วงสุดท้าย)
-
และปริมาตรคอนกรีตหาจาก พื้นที่คูณกับความหนาของพื้น
|
การวัดปริมาตรคอนกรีตแผ่นพื้นไร้คานที่มีแป้นหัวเสา
(Drop Panel)
-
ในกรณีของพื้นสำหรับแผ่นพื้นไร้คานที่มีแป้นหัวเสา(Drop Panel)การคิดปริมาณของคอนกรีตพื้นจะต้องรวมถึงส่วนของแป้นหัวเสาเข้าไว้ในปริมาณของคอนกรีตพื้นด้วย
|
การวัดปริมาตรคอนกรีตคาน
-
ความยาวคานจะต้องคิดจากหน้าเสาต้นหนึ่ง
ไปยังหน้าเสาอีกต้นหนึ่งของช่วงคานนั้น
-
สำหรับความลึกของคานจะต้องคิดจากเสาต้นหนึ่ง
ไปยังหน้าเสาอีกต้นหนึ่งของช่วงคานนั้น
-
สำหรับความลึกของคานจะต้องคิดจากท้องพื้นลงไปจนถึงท้องคาน
-
ในกรณีที่เป็นคานกลับ (Inverted Beam)
ความลึกของคานจะต้องคิดจากด้านบนของแผ่นพื้นขึ้นไปยังด้านบนของคาน
-
ในระบบพื้นบนคาน (Slab
on Beam) จะมีบางส่วนที่กลืนกันอยู่กับพื้น
แต่ในการคิดปริมาณงานคอนกรีต
และ แบบหล่อ จะให้คิดแยกส่วนที่ไม่กลืนกับพื้นออกมา
|
ข้อพิจารณาต้องหักปริมาตรคอนกรีตออกหรือไม่
- ปริมาตรของเหล็กเสริมโครงสร้างและหน้าตัดอื่นใดฝังอยู่ในคอนกรีตไม่ต้องหักปริมาตร
- คานหรือเสาที่เป็นกล่องต้องหักปริมาตรช่องท่อออก
-
ปริมาตรของท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟ และอื่นๆ
ที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 0.01 คร.ม.
ไม่ต้องหักปริมาตร
-
ปริมาตรของร่องราง การลบมุมและอื่นๆ
ในทำนองเดียวกัน ที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 0.01 ตร.ม.
ไม่ต้องหักปริมาตร
- ปริมาตรวัสดุ (หัวเสาเข็ม)
ที่กลืนอยู่ในฐานราก ไม่ต้องหักปริมาตร
ในการคิดปริมาณงานคอนกรีตฐานราก
|
งานแบบหล่อคอนกรีต(FORMWORK)
- ข้อกำหนดทั่วไป
งานแบบหล่อจะจัดหมวดหมู่ตามลำดับเช่นเดียวกับงานคอนกรีต คือ
- งานแบบหล่อสำหรับคอนกรีตหล่อในที่
- งานแบบหล่อสำหรับคอนกรีตหล่อสำเร็จ
- งานแบบหล่อสำหรับคอนกรีตอัดแรง
- ในการประมาณราคางานแบบหล่อ
จะต้องรวมถึงรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
-
ทุกสิ่งที่จำเป็นในการรักษารูปร่างของคอนกรีต ซึ่งได้แก่ นั่งร้าน(Falsework)
ค้ำยันแบบเหล็กยึดแบบ (Form Ties)
ตะปู ฯลฯ
- งานลบมุมที่มีขนาดเล็ดกว่า
2.5*2.5 ซม.
-
อุปกรณ์จำเป็นทุกอย่างที่ใช้ในการประกอบและการรื้อถอนแบบหล่อ
- การเสียเปล่าของวัสดุ
- การแบ่งรายการของงานแบบหล่อ
สามารถแบ่งได้ตามลักษณะ ดังต่อไปนี้
- แบบหล่อสำหรับผิวคอนกรีตที่แตกต่างกัน
- แบบหล่อที่ใช้กับงานรูปแบบต่างๆ เช่น แนวตั้ง
แนวราบ แนวเอียง และ พื้นผิวโค้ง
- แบบหล่อที่ต้องทิ้งไว้ในตำแหน่งนั้น
ไม่สามารถถอดออกมาใช้ได้อีก
- วิธีการวัด
-
งานแบบหล่อจะต้องวัดปริมาณงานในหน่วยของพื้นที่เป็นตารางเมตร
ตามพื้นที่ของผิวคอนกรีตหล่อในที่ซึ่งต้องอาศัยค้ำยันชั่วคราว
ในระหว่างที่ทำการหล่อคอนกรีต
โดยระยะที่ใช้ในการวัดปริมาณของโครงสร้างชนิดต่างๆ
ให้ใช้ระยะเดียวกับงานหล่อในที่
-
การคิดปริมาณงานแบบหล่อจะไม่หักส่วนของช่องเปิดที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน
1.00 ตารางเมตร ในแต่ละช่องเปิด
- งานแบบหล่อสำหรับคานรอง (Secondary
Beam) จะต้องวัดปริมาณงานไปจนถึงด้านข้างของคานเอก
(Main Beam) จไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของคานหลักส่วนที่คานรองตัดผ่าน
-
จะไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของส่วนคานหลักตัดผ่าน
-
จะไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของส่วนเสาหรือคานหลักตัดผ่าน
-
พื้นผิวคอนกรีตที่มีลักษณะพิเศษจะต้องวัดปริมาณแยกต่างหาก
- ช่องเปิดสำหรับติดตั้งสลักยึด
(Anchor Black) รูเจาะ (Cored Holes)
ช่องเปิดขนาดเล็กใน ขนาดใกล้เคียงกัน
ให้จัดให้เป็นหมวดหมู่
- งานลบมุมที่มีขนาดเกินกว่า
2.5*2.5 ซม.
ให้จัดเป็นกลุ่มที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
- รอยต่อเผื่อขยาย รอยต่อก่อสร้าง
โดยวัดแยกออกมา
- หน่วยของการวัด
- งานแบบหล่อทั่วๆ ไป มีหน่วยเป็น ตารางเมตร
- ร่องและรางต่างๆ มีหน่วยเป็น
เมตร
-
รอยต่อเผื่อขยาย
รอยต่อก่อสร้างตามที่กำหนด โดยระบุความกว้าง
และความลึกของรอยต่อ เมตร
- รูเจาะ ช่องเปิด
ช่องเปิดสำหรับติดตั้งสลักเกลียว (ระบุขนาด)
จำนวน
|
- การคิดปริมาณงานแบบหล่อ
จะไม่หักส่วนของช่องเปิดที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 1.00
ตารางเมตร ในแต่ละช่องเปิด
|
งานแบบหล่อคอนกรีตสำหรับคานรอง (Secondary Beam)
-
ต้องวัดปริมาณงานไปจนถึงด้านข้างของคานเอก (Main Beam)
โดยไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของคานหลักส่วนที่คานรองตัดผ่าน
และไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อ ของส่วนเสาที่คานหลักตัดผ่าน
-
จะไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของพื้นที่ส่วนที่เสาหรือคานตัดผ่าน
|
เหล็กเสริมคอนกรีต(REINFORCEMENT)
- ข้อกำหนดงานทั่วไป
- งานเหล็กเสริมจะจัดหมวดหมู่ตามลำดับเหมือนกับงานคอนกรีต
-
การสัดปริมาณงานเหล็กเสริมสามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งจาก 2
วิธีนี้
- การวัดปริมาณโดยทำรายการการดัดเหล็ก
(Bar Bending Schedual)
- การวัดปริมาณโดยการประมาณการ
- ขอบเขตราคาต่อหน่วย
ในการประมาณราคางานเหล็กเสริมคอนกรีต
จะต้องรวมรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
- วัสดุที่ใช้ การขนส่ง
การขนถ่ายและการติดตั้งเหล็กเสริมในตำแน่งที่ต้องการ
- การจัดทำรายการดัดเหล็ก
หากใช้วิธีการวัดปริมาณ โดยวิธีทำรายการดัดเหล็ก
- การทำความสะอาด การตัด การดัด
และการผูกเหล็กตะแกรง
- ขารับ (Chairs)
เหล็กจัดระยะ (Spacers) Hangers
ฯลฯ และการใช้ลวดผูกเหล็กหรืออื่นๆ (ในกรณีที่จำเป็น)
เพื่อยึดเหล็กให้อยู่ในตำแหน่ง
ที่ต้องการ
- การทาบต่อของการก่อสร้าง (Construction
Lap) ของเหล็กเสริม และเศษที่เหลือจากการตัด
- การแบ่งรายการของงาน
งานเหล็กเสริมคอนกรีต สามารถแบ่งได้ตามลักษณะดังต่อไปนี้
- ตามกำลังคลาก (SR, SD)
- ตามลักษณะของผิวเหล็ก เช่น เส้นกลม
(RB) ข้ออ้อย(DB)
- ตามขนาดของเหล็กที่ใช้
- วิธีการวัด
- การวัดปริมาณโดยการทำรายการการดัดเหล็ก
- คำนวณน้ำหนักของเหล็กเสริม
จะต้องวัดจากความยาวสุทธิที่ปรากฏในแบบ
โดยคำนวณน้ำหนักจากนำหนักระบุต่อหน่วย(Nominal Unit Mass)
ของแต่ละหน้าตัดเหล็กเส้น และ
ยอมให้คำนึงถึงส่วนของเหล็กที่ทาบต่อกันและส่วนที่ดัดหรืองอ
โดยใช้ความยาวตามข้อที่กำหนดของโครงการนั้นๆ
แต่ไม่อนุญาตให้คำนึงถึงเศษของการตัดน้ำหนักในส่วนของขารับ
เหล็กจัดระยะ Hangers
ตัวยึดผูกลวดเหล็กหรืออื่นๆ ที่จำเป็น
เพื่อยึดเหล็กเสริมให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
-
การวัดเนื้องานโดยวิธีประมาณการ
- การวัดเนื้องานให้คิดตามแบบที่แสดงไว้
โดยวัดเป็นน้ำหนัก ระยะงอ ระยะขอ ระยะทาบ ระยะคอม้า
การเผื่อเสียหายให้คิดเป็นเปอร์เซ็นตามขนาดเหล็กตามตารางอัตราเปอร์เซ็นต์ปริมาณเหล็กเพิ่ม
โดยแยกรายละเอียดตามประเภทของโครงสร้าง
-
ความยาวเหล็กปลอกหรือเหล็กรัดรอบที่คล้ายเหล็กปลอก
ให้คิดตามรูปตัดที่แสดงในแบบโดยวัดระยะจากผิวคอนกรีตถึงผิวคอนกรีต
-
จำนวนเหล็กปลอกให้หาค่าเฉลี่ยจากระยะที่แสดงในแบบหรือตลอดความยาวเหล็กเสริมหลัก(Main
Reinforcement) (ถ้าแบบไม่ได้ชี้เฉพาะ)
โดยปัดเศษขึ้น (Round up)
ให้เป็นจำนวนเต็ม
- ความยาวเหล็กเสริมพิเศษ
ให้คิดตามที่แสดงในแนบ
- ความยาวเหล็กเสริมหลัก(Main
Reinforcement) ให้คิดจำนวนตาแบบส่วนความยาว
ให้คิดตามแต่ละชนิดโครงสร้าง
- เหล็กเสริมรอบ Sleeve
และช่องเปิด ไม่ต้องคิด (ให้ถือว่าคิดเผื่อไว้แล้วตามเปอร์เซ็นต์ของเหล็ก)
- เหล็กตะแกรง (Fabric
Reinforcement)
จะต้องวัดปริมาณงานในหน่วยของพื้นที่เป็นตารางเมตร
โดยไม่อนุญาตให้คำนึงถึงส่วนของการก่อสร้างทาบต่อกันและส่วนของเศษที่เหลือจากการตัด
-
จะไม่มีการหักพื้นที่ปริมาณงานของเหล็กตะแกรม
สำหรับช่องเปิดที่มีพื้นที่ไม่เกิน 1
ตารางเมตร
-
ตารางอัตราเปอร์เซ็นต์ปริมาณเหล็กเพิ่มสำหรับการวัดโดยการประมาณการ
- เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6
มม. เผื่อ 5
เปอร์เซ็นต์
- เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9
มม. และ 10 มม.
เผื่อ 7
เปอร์เซ็นต์
- เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12
มม. เผื่อ 9
เปอร์เซ็นต์
- เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15
มม., 16 มม. เผื่อ
11 เปอร์เซ็นต์
- เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19
มม., 20 มม. เผื่อ
13 เปอร์เซ็นต์
- เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25
มม.ขึ้นไป เผื่อ
15 เปอร์เซ็นต์
- หน่วยของการวัด
- เหล็กเส้น (ระบุแยก กำลังคลาก
ชนิด และขนาด) มีหน่วยเป็น
กิโลกรัม
- เหล็กตะแกรง(ระบุแยก กำลังคลาก
ชนิด และขนาด) มีหน่วยเป็น
ตารางเมตร
- รอยต่อพิเศษ เช่น การเชื่อม หรืออุปกรณ์ต่อเหล็ก
ในกรณีระบุให้ใช้ นับเป็น จำนวนหน่วย
|
งานเหล็กเสริมคอนกรีต : เหล็กเสริมคาน
-
คิดความยาวจากจุดศูนย์กลางของจุดรองรับ ถึง ศูนย์กลางของจุดรองรับถึงจุดรองรับ
หรือ ริมสุดของคาน (กรณีเป็นคานช่วงสุดท้าย)
- ถ้าเหล็กเสริมหลักยาวไม่ตลอดช่วงคาน ให้ใช้ความยาวคานตามแบบ หรือ
ที่ระบุในรายการก่อสร้าง
- ไม่ต้องคิดระยะงอขอ งอฉาก
|
งานเหล็กเสริมคอนกรีต : เหล็กปลอก
-
ความยาวเหล็กปลอกหรือเหล็กรัดรอบที่คล้ายเหล็กปลอก
ให้ติดตามรูปที่แสดงในแนบโดยวัดระยะจากผิวคอนกรีตถึงผิวคอนกรีต
-
ในการคิดความยาวเหล็กโดยวิธี “ประมาณการ”
มีจุดประสงค์คือ ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณปริมาณงาน
และยังคงมีความใกล้เคียงปริมาณงานที่มีจริงในการคิดความยาวเหล็กปลอกคานหรือเสา
โดยวิธีนี้คิดจากระยะตามผิวคอนกรีตที่ปรากฏในแบบเสาหรือคาน
- จำนวนเหล็กปลอกให้หาเฉลี่ยจากระยะที่แสดงในแนบ
หรือตลอดความยาวเหล็กเสริมหลัก (Main Reinforcement) (ถ้าแบบไม่ได้ชี้เฉพาะ)
โดยปัดเศษขึ้น (Round up)
ให้เป็นจำนวนเต็ม
|
ความยาวเหล็กปลอก |
= ระยะตามแบบจากผิวคอนกรีตถึงผิวคอนกรีต |
= 2 เท่าความกว้างคาน หรือ เสา + 2
เท่าความลึกคานหรือเสา |
จำนวนเหล็กปลอก ( ปัดเศษขึ้น ) |
= ความยาวเหล็กเสริมหลัก /
ระยะเรียงเหล็กปลอก |
|
|
งานเหล็กเสริมคอนกรีต : เหล็กเสริมพื้น ในระบบพื้น -
คาน
-
คิดความยาวจากจุดศูนย์กลางของจุดรองรับ ถึง จุดศูนย์กลางของจุดรองรับ
หรือ ริมสุดของพื้น (กรณีเป็นพื้นช่วงสุดท้าย)
- ถ้าเหล็กเสริมหลักยาวไม่ตลอดช่วงคาน ให้ใช้ความยาวคานตามแบบ หรือ
ที่ระบุในรายการก่อสร้าง
- ไม่ต้องคิดระยะงอขอ งอฉาก
|
งานเหล็กเสริมคอนกรีต : เหล็กเสริมในเสา และ ตอม่อ
- ตอม่อ คิดรวมความยาวจากท้องฐานรากถึงระดับหลังพื้นชั้นแรกตามระดับที่กำหนดในแบบ
- เสาชั้นใดๆ
คิดความยาวจากระดับหลังพื้นชั้นนั้นๆ ถึงระดับพื้นชั้นถัดไป (หรือสุดความสูงของอาคาร
ในกรณีเป็นเสาชั้นสุดท้าย)
|
งานเหล็กเสริมคอนกรีต : ฐานราก
- เหล็กเสริมหลักตามยาว
คิดเท่ากับความยาวของฐานราก (ผิวคอนกรีต –
ผิวคอนกรีต)
- เหล็กเสริมหลักตามขวาง
คิดเท่ากับความกว้างของฐานราก (ผิวคอนกรีต –
ผิวคอนกรีต)
-
เหล็กเสริมหลักที่ต้องงอขึ้นหลังฐานราก(มากกว่าระยะงอปกติ)
ให้คิดเท่ากับความยาวเหล็กเสริมหลัก บวกกับ 2
เท่า ของความหนาฐานรากในกรณีงอเหล็กขึ้นถึงหลังฐานราก หรือ 2
เท่า ของระยะความสูงที่งอขึ้น ซึ่งชี้ชัดอยู่ในแบบ
- เหล็กรัดรอบฐานราก ให้คิดเท่ากับเส้นวัดรอบของฐานราก (ตามผิวคอนกรีต)
-
การคิดปริมาณงานเหล็กเสริมฐานรากมี 3
กรณีใหญ่ๆ คือ
- กรณีที่งอขึ้นไม่มากกว่าระยะงอปกติ
- กรณีงอเหล็กขึ้นถึงฐานราก
- กรณีงอเหล็กขึ้นที่ระบุระยะความสูงชี้ชัดในแบบ
ซึ่งแต่ละกรณีจะมีการคิดตามรายละเอียดข้างต้น
|
|
งานเหล็กเสริมคอนกรีต : กำแพงคอนกรีต
- เหล็กนอนทั้งด้านนอกและด้านใน
คิดความยาวตามเส้นรอบรูป (ภายนอก)
ของกำแพง
- เหล็กทั้งทางด้านนอกและด้านใน
คิดเหมือนเหล็กเสริมหลักของเสา
|
ความยาวเหล็กนอนด้านนอก |
= ความยาวเหล็กนอนด้านใน |
= เส้นรอบรูปภายนอกกำแพง |
|
งานเหล็กเสริมคอนกรีต : บันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก
-
เหล็กเสริมหลักตามขวางคิดความยาวเท่ากับความกว้างของบันได
-
เหล็กเสริมหลักตามยาววัดตามความเอียงบันไดจากจุดศูนย์กลางที่รองรับถึงศูนย์กลางที่รองรับ
-
เหล็กดัดตามรูปลูกขั้นบันได ให้วัดความยาวตามผิวลูกขั้นบันได
- เหล็กเสริมมุม
คิดความยาวเท่ากับความกว้างของบันได
- เหล็กเสริมพื้นชานพักบันไดคอนกรีตระบบพื้น
– คาน ให้คิดเหมือนเหล็กเสริมพื้นในระบบพื้น
- คาน
- เหล็กเสริมคานบันไดคอนกรีตระบบพื้น –
คาน ให้คิดเหมือนเหล็กเสริมคานในระบบพื้น -
คาน
|