สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.


แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคารตามมาตรฐาน วสท และ การประมาณราคางานก่อสร้างเบื้องต้น
หมวด 01 งานทั่วไป


ความหมายของหัวข้อหลัก ความหมายของหัวข้อหลัก
  • ข้อกำหนดทั่วไป  หมายถึง  การกล่าวโดยรวมถึงลักษณะของงาน 
    และข้อแนะนำที่ควรคำนึง
     

  • การแบ่งรายการของรายงาน หมายถึง การจัดหมวดหมู่และชนิดของงาน  เพื่อ
    ความเป็นระเบียบและตรวจสอบได้
     

  • หน่วยการวัด  หมายถึง การกำหนดหน่วยจากการวัดปริมาณงานในรายการ
    ต่างๆ ให้เป็นแนวทางเดียวกัน
     

  • บัญชีแสดงปริมาณงานและราคาค่าก่อสร้าง  (BILL  OF  QUANTITIES)
    หมายถึง   บัญชีรายการของงานในโครงการ  ซึ่งแสดงรายละเอียดของงาน  รวมทั้งปริมาณของงานที่เป็นส่วนของสัญญาของโครงการนั้นๆ
     

  • บัญชีแสดงปริมาณงานและราคาค่าก่อสร้าง   จะต้องระบุปริมาณงาน  และสื่อถึงคุณภาพของงานที่จะทำการก่อสร้างที่ได้อธิบายไว้   ในข้อกำหนดอย่างถูกต้องและชัดเจน  สำหรับงานซึ่งยังไม่สามารถกำหนดปริมาณงานที่แน่นอนได้  จะต้องจัดรายการของงานนั้นเข้าไว้   ในรายการของบสำรองที่จัดเตรียมไว้  (Provisional Sum)
     

  • การวัด (MEASUREMENT)ถ้ามิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น  การวัดปริมาณงานต่างๆ จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดซึ่งแสดงไว้ดังนี้
    1. ขนาดของความยาวจะต้องให้ใกล้เคียงถึง  0.01  เมตร 
      ยกเว้นสำหรับความหนาของแผ่นพื้น  ซึ่งจะต้องให้ใกล้เคียงถึง 
      0.005 เมตร
    2. ขนาดของพื้นที่จะต้องวัดให้ใกล้เคียงถึง 0.01 ตารางเมตร
    3. ขนาดของปริมาตรจะต้องวัดให้ใกล้เคียงถึง 0.01 ลูกบาศก์เมตร
    4. ขนาดของน้ำหนักจะต้องวัดให้ใกล้เคียงถึง  0.1 กิโลกรัม
  • ในกรณีที่ไม่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน  แต่มีการระบุขนาดปริมาณงานในแนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างออกเป็นตัวเลขที่แสดงถึงขอบเขตล่าง (Lower Limit)  และขอบเขตบน  (Upper Limit)  ให้ตีความหมายว่า
    มากกว่าขอบเขตล่างและไม่เกินของเขตบน
     

  • งานซึ่งต้อดำเนินไปภายใต้สภาวะดังต่อไปนี้   ควรที่จะจัดเป็นรายการแยกจากรายการเดิม

    1. งานที่ต้องทำใต้น้ำ
    2. งานที่ต้องทำในพื้นที่ที่เป็นโคลนเหลว(Liquid Mud)
    3. งานที่ต้องทำภายใต้สภาวะดินฟ้าอากาศที่ชื้นและแฉะ
    4. งานที่ต้องทำภายใต้กระแสน้ำไหล
    5. งานที่ต้องทำ บริเวณที่เป็นสิ่งปลูกสร้างเดิม
    6. งานที่ต้องทำแข่งกับเวลา
    7. งานที่มีระบบจราจรมาเกี่ยวข้อง
    8. งานที่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา  เช่น  การขึ้น – ลงของน้ำ
  • ในกรณีที่เป็นงานที่ต้องทำภายใต้กระแสน้ำไหล    จะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนด้วยว่า เป็นแม่น้ำ  ลำคลอง  หรือน้ำทะเล   ค่าระดับน้ำเฉลี่ยสูงสุด  และต่ำสุดเป็นเท่าไร   พร้อมทั้งระบุด้วยว่า   งานดังกล่าวได้รับความกระทบกระเทือนต่อสภาพการทำงาน   หรือต่อคุณภาพของงาน  จากกระแสน้ำตลอดเวลา  หรือเพียงบางช่วงเวลาเท่านั้น
     
  • การคิดราคาของหน่วยงานแต่ละรายการถ้าไม่มีระบุไว้เป็นอย่างอื่น ให้รวมถึง
    ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับรายการนั้นๆ  เช่น  ค่าออกแบบ  ค่าขนส่ง  ค่าติดตั้ง  ค่าดัดแปลง   ค่
    บำรุงรักษา   และค่ารื้อถอน  เป็นต้น
     
  • หน่วยของการวัด
    1. ค่าใช้จ่ายประเภทคงที่  ให้ระบุหน่วยเป็นเหมารวม(Lump Sum)
    2. ค่าใช้จ่ายที่เป็นสัดส่วนกับระยะเวลาก่อสร้าง ให้ใช้หน่วยเป็นเวลา
      วัน เดือน หรือปี
    3. ค่าใช้จ่ายที่เป็นสัดส่วนกับมูลค่างานตามสัญญาให้ระบุหน่วย
      เป็นร้อยละของมูลค่างาน

 

 

 

 

 

  • ขอบเขตงานในราคาต่อหน่วย       หมายถึง  การกำหนดของงานหรือองค์ประกอบที่ต้องมีในงานที่ทำเพื่อความเข้าใจตรงกันในการตรวจวัดและตรวจรับงาน  และการกำหนดราคาต่อหน่วยปริมาณงาน
     

  • วิธีการวัด หมายถึง การกำหนดแนวทางปฏิบัติในการวัดปริมาณงานให้มีขั้นตอนหรือวิธีการเดียวกัน ซึ่งมีหลายวิธี 

    1. คำนวณปริมาณงานจากระยะที่ระบุในแบบก่อสร้าง (Net)
    2. คำนวณปริมาณงานจากระยะที่ระบุในแบบก่อสร้างบวกรวมค่าเผื่อ
      (Gross)
    3. ใช้ปริมาณงานเป็นสัดส่วนจากปริมาณอื่นที่สามารถคำนวณหา 
      ปริมาณงานได้สะดวกกว่า 
      (Proportional)
    4. ใช้การนับจำนวนที่ปรากฏตามแบบก่อสร้าง (Count)
    5. คำนวณปริมาณงานจากระยะที่ปรากฏจริงภายหลังจากการติดตั้ง
      หรือก่อสร้างแล้วเสร็จ 
      (As Built) 

    ทั้งนี้เลือกใช้วิธีการวัดอย่างเดียวกันสำหรับงานประเภทเดียวกัน 
    หรือในกรณีที่มีการวัดหลาวิธี  ควรระบุถึงวิธีการวัดในแต่ละงานให้ชัดเจน
     

  • การวัดปริมาณงาน   จะต้องวัดตามปริมาณที่ปรากฏในตำแหน่งตามแบบก่อสร้าง  (Fixed in Position)
     
  • การระบุตัวเลขเพื่อแสดงมิติ  (Dimension) ให้แสดงความยาว   ความกว้าง  และความสูง  หรือความลึก  หรือความหนาตามลำดับ  ในกรณีที่เห็นว่าการแสดงขนาดตามลำดับดังกล่าว  ไม่เหมาะสม  หรือก่อให้เกิดความคลุมเครือ   อาจแสดงมิติในลักษณะอื่นได้   แต่ต้องชี้แจงประกอบให้ชัดเจน
     
  • ในกรณีที่ไม่ได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น   ในบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาค่าก่อสร้าง หรือในแนวทางการวัดปริมาณงาน  จะต้องมีรายการดังต่อไปนี้ด้วย
    1. ค่าแรงงาน   และต้นทุนทั้งหมดเกี่ยวข้องกับคนงาน
    2. ค่าวัตถุดิบ  วัสดุและต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ 
      รวมทั้งค่าขนส่ง  การขนถ่าย  การเก็บรักษา
    3. ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ติดตั้ง  และวิธีการประกอบวัสดุ
      ให้อยู่ในตำแหน่งใช้งาน
    4. ค่าเครื่องจักร  และต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจักรที่ใช้ทำงานนั้น
    5. การเสียเปล่าของวัตถุดิบ
    6. ค่าใช้จ่ายในส่วนของการดำเนินการ  และกำไร
    7. ค่าบำรุงรักษา  และป้องกันชิ้นงาน
  • ่าใช้จ่ายทางอ้อมในการดำเนินการทั้งหมด ให้ครอบคลุมช่วยเวลาต่างๆ ได้แก่ ช่วงสำรวจออกแบบ , ช่วงประกวดราคา,ช่วงเตรียมงานก่อสร้าง,ช่วงระหว่างการก่อสร้าง,ช่วงส่งมอบงาน,ช่วงเวลารับประกันผลงาน
     
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ   ให้รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
    1. ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานหมวดหนึ่งหมวดใด
      โดยเฉพาะ เช่น   เทาว์เวอร์เครน  ลิฟท์ขนส่ง  ปั๊มลม  เป็นต้น
    2. ค่าธรรมเนียมต่างๆ   ทั้งในส่วนของหน่วยข้าราชการ  และเอกชน 
      เช่นสถาบันการเงินต่างๆ
  • การคิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
    1. ให้คิดตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ยกเว้นค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะเป็น
      งบสำรองที่จัดเตรียมไว้  ให้ระบุอย่างชัดเจนว่าจะทำการวัดปริมาณงาน
      ใหม่ตามที่ทำจริงในภายหลัง   ด้วยความยินยอมของคู่สัญญาทั้งสอง
      ฝ่าย
    2. ไม่รวมเงิน  กำไร + ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับโครงการ
      โดยตรง  และ + ภาษีทุกชนิด
  • การแบ่งรายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
    1. ค่าใช้จ่ายประเภทคงที่  หมายถึง   ค่าใช้จ่ายที่ระบุจำนวนไว้แน่นอน 
      และไม่เปลี่ยนแปลงจนสิ้นสุดอายุสัญญา  โดยแบ่งย่อยตามรายการที่
      เกิดขึ้นจริง  เช่น  ค่าก่อสร้างและรื้อถอนอาคารสำรักงาน ที่พักคนงาน
      รั้วชั่วคราว  ค่าธรรมเนียมในการจัดหาประปาและไฟฟ้าชั่วคราว เป็นต้น
    2. ค่าใช้จ่ายเป็นสัดส่วนกับระยะเวลาก่อสร้าง    เช่น  ค่าใช้จ่ายใน
      สำนักงานสนาม   เงินเดือนของพนักงาน  ค่าเช่าเครื่องจักร  
      ค่าเช่าพื้นที่  เป็นต้น
    3. ค่าใช้จ่ายเป็นสัดส่วนกับมูลค่างานตามสัญญา  เช่น  ค่าใช้จ่าย
      ในการทำประกันภัย   ค่าธรรมเนียมสถาบันการเงิน   และ
      อากรต่างๆ เป็นต้น
    4. ค่าใช้จ่ายที่เป็นงบสำรองที่จัดเตรียมไว้  (Provisional Sum)
   


rscelaw@yahoo.com

ปรับปรุงแก้ไข จันทร์, 26 ธันวาคม 2548 15:38:28