สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.


 Introduction to Construction Estimating for Civil Engineering Students
 
ความหมายของการประมาณราคาก่อสร้าง
เป็นการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะต้องใช้เพื่อทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแบบ และผลงานมีคุณภาพตามที่ได้กำหนดไว้ในรายการก่อสร้าง (Specification)
ประโยชน์ของการประมาณราคาก่อสร้าง
เพื่อทราบราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้นก่อนลงมือก่อสร้างจริง  เพื่อจัดเตรียมงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้ในงานก่อสร้าง เพื่อตรวจสอบราคาค่าก่อสร้างที่จัดทำโดยผู้รับเหม
การก่อสร้างที่ใช้มาตรฐานความปลอดภัยต่ำก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง
  1. ค่าซ่อมบำรุงเครื่องจักรเครื่องมือในระหว่างการทำงานจะสูงขึ้น
  2. ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากงานช้าลง เช่น คนงานว่าง คนไม่มีงานทำ เพราะเครื่องจักรเครื่องมือเสีย แต่ค่าแรงยังคงต้องจ่ายอยู่
  3. ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินคดีตามกฎหมาย กรณีเครื่องจักรเสียหายแล้วก่อให้เกิดมลพิษต่อบริเวณข้างเคียง เช่น ตอกเข็มโดยใช้ Diesel Hammer ที่เครื่องยนต์เก่า
    จะก่อให้เกิดมลภาวะทางด้านไอเสีย
    (ก๊าซ CO) สูงมากต่อบริเวณข้างเคียง
  4. ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการขนส่งเครื่องจักรเครื่องมือฉุกเฉินเพื่อทดแทนที่เสีย
  5. ค่าเช่าเครื่องจักรเครื่องมือเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนของเก่า
  6. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อให้ใช้เครื่องมือชนิดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
  7. ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องการทำงานล่วงเวลาเพื่อเร่งงานให้ทันกับแผนงานที่วางเอาไว้ เนื่องจากต้องหยุดเพราะเครื่องจักรเครื่องมือเสีย
  8. ผลงานที่ได้จะลดลงเพราะคนงานบาดเจ็บเนื่องจากใช้เครื่องจักรเครื่องมือไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อผลงานลดลง ต้องใช้ระยะเวลาทำงานมากขึ้นเพื่อให้ได้ปริมาณงานเท่าเดิม
    ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
  9. ชื่อเสียงของบริษัทเสียหายที่ทำงานไปหยุดไป
  10. ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ ความสำเร็จของงานและหาแนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้นจะเพิ่มขึ้น

บริษัทก่อสร้างที่ใช้มาตรฐานความปลอดภัยสูงในการประมาณราคาผลต่อการยื่นซองประกวดราคาจะเป็นอย่างไร ?
ค่าใช้จ่ายในหมวดค่าก่อสร้างทั่วไปจะสูง  +  โอกาสชนะการประมูลงานจะลดลง
ผู้รับเหมาจะหางาน ซื้อแบบเพื่อยื่นซองประกวดราคาได้จากที่ใดบ้าง ?
ถ้าเป็นงานรัฐบาล ดูที่
 
ประกาศเชิญชวนให้ยื่นซองประกวดราคาตามหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ + กองพัสดุ หรือจัดซื้อ จัดจ้าง + สามคมผู้รับเหมาก่อสร้าง , สถาปนิก , วิศวกร

ถ้าเป็นงานเอกชน ดูที่
ประกาศเชิญชวน + บริษัทหาสถาปนิกที่ออกแบบ +
 ของานจากเจ้าของโดยตรง + วิศวกรผู้ออกแบบ/ด้านโครงสร้าง + สมาคมผู้รับเหมา ,สถาปนิก ,วิศวกร


จุดประสงค์ของการประมาณราคาของกลุ่มเจ้าของโครงการ  เพื่อ
1.   ECONOMIC FEASIBILITY  พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการว่าถ้าจะสามารถทำกำไรได้หรือไม่ มีระยะเวลาคืนทุนกี่ปี
2.   CAPITAL INVESTMENT COST  ต้องการรู้ต้นทุน แหล่งเงินลงทุน อัตราดอกเบี้ย  เป็นต้น
3.   PROFIT GAINING  ต้องการกำหนดผลกำไร 
4.   FINANCIAL ARRANGEMENT  จัดทำแผนการบริหาร และ กระแสรายรับรายจ่ายทางการเงิน


จุดประสงค์ของการประมาณราคาสำหรับกลุ่มสถาปนิก,วิศวกร,ช่างเทคนิคประเภทต่างๆ
1. 
SITE SELECTION    เปรียบเทียบการเลือกแบบอาคารหลาย ๆ แบบในพื้นที่จำกัด
2. 
DESIGN OF FACILITY   ใช้ออกแบบระบบภายในอาคารว่าจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้าง คุณภาพของวัสดุอยู่ในระดับใด
3.  DESIGN OF LANDSCAPE  ใช้ออกแบบภูมิสถาปัตย์หรือบริเวณภายนอกอาคารว่าต้องการความสวยงามมากน้อยเพียงใด
4.
  DESIGN OF STRUCTURE  ใช้ออกแบบระบบโครงสร้างว่าจะใช้ระบบโครงสร้างแบบใด คสล  Prestress  หล่อในที่ ระบบสำเร็จรูป


จุดประสงค์ของการประมาณราคาสำหรับกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง
      1.  BIDDING เพื่อต้องการยื่นซองประกวดราคา
      2.  PROFIT ESTIMATING เพื่อประมาณผลกำไร
      3.  FINANCIAL PLANNING เพื่อวางแผนทางการเงินในระหว่างการก่อสร้างว่าเวลาใดต้องการเงินสด เงินสำรอง เงินกู้เท่าใด

จุดประสงค์ของการประมาณราคาของกลุ่มนายหน้า
      เพื่อประมาณผลกำไร หรือ ผลประโยชน์ตอบแทน จากการขายโครงการนั้นๆ 
     
บุคคลกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่สัมผัสกับตลาด หรือ กลุ่มลูกค้าโดยตรง ถ้าไม่มีคนกลุ่มนี้จะทำให้แผนการตลาดเป็นไปอย่างเชื่องข้า
อาจไม่ทันกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอยู่เสมอตามระยะเวลาที่ผ่านไป

ประเภทของกลุ่มนายหน้า

     
1.  TRADITIONAL BROKER รับค่านายหน้า 2 ทางโดยคิดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่แน่นอนตายตัว เช่น กลุ่ม BROKER ในตลาดหุ้น เป็นต้น

      2.  PROJECT BROKER  รับค่านายหน้าจากการขายโครงการ ภายในระยะเวลาและผลตอบแทนตามที่ตกลงกัน

      3.  INTIATIVE BROKER มีศักยภาพทางสังคม(SOCIAL POTENTION ) สูง มีคนรู้จักมากหรือรู้จักคนมาก โดยจะใช้วิธีที่เรียกว่า จับแพะ ชนแกะ คือ เรียกหรือเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายมาพบกันโดยตัวเองเป็นประธานที่ประชุม  ผลประโยชน์ของคนกลุ่มนี้จะคิดเป็นร้อยละของโครงการและมักจะเรียกเก็บทันที  เช่น กลุ่มนักการเมืองหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นต้น

      4.  LOGISTIC BROKER  
พวกวงใน คือจะรู้ข้อมูลภายในว่าถนนจะตัดผ่านที่ใดบ้าง หรือ โครงการใดจะได้รับการอนุมัติแน่นอนก็จะ
ขอค่าวิ่งเต้นบางส่วนเพื่อให้ได้รับการอนุมัติเร็วขึ้น หรือ จะคอยส่งข่าวว่าโครงการนั้นอาจจะมีปัญหาหรือไม่

จุดประสงค์ของการประมาณราคาของกลุ่มสถาบันทางการเงิน
     เพื่อต้องการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ กำหนดวงเงินให้กู้ยืม  กำหนดแผนการชำระคืนเงินกู้ เป็นต้น

ลักษณะของผู้ที่จะประมาณราคาได้ดี

1.
 คิดเลขได้รวดเร็วและถูกต้อง อ่านแบบเป็น

2. เข้าใจกระบวนการหรือวิธีการก่อสร้าง
(EGINEERING SENSE)

3. รู้แหล่งซื้อวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป

4. รู้จัก
SUBCONTRACTOR งานประเภทต่างๆเป็นอย่างดี

5. ชอบการทำงานชนิดที่ไม่ต้องพบปะผู้คนมากนักได้เป็นอย่างดี

6. รักงานประจำในสำนักงานมากกว่าการประจำอยู่หน่วยงานก่อสร้าง

7. มีความละเอียด รอบคอบ

8. ทันสมัย ติดตามข่าวสารอยู่เสมอโดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและข่าวการพยากรณ์อากาศ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ราคางานโครงการเปลี่ยนแปลง

9. รู้จักพอใจในผลตอบแทนที่ตนเองได้

จุดประสงค์ของการประมาณราคาแบบหยาบๆหรือแบบคร่าวๆ(ROUGH OR TENTATIVE ESTIMATING)
    
1. ตั้งงบประมาณของโครงการ (DUDGETING) ควรเป็นเท่าใดโดยไม่จำเป็นต้องมีแบบรายละเอียดมากนัก
     2. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
(FEASIBILITY STUDY) ว่าจะมีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่โครงการจะประสบความสำเร็จทางธุรกิจ
     3. พิจารณาเลือกแบบก่อสร้าง
(ALTERNATE DESIGN) ว่าแบบก่อสร้างใดจึงจะตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้หรือเจ้าของโครงการได้มากที่สุดโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

ข้อสังเกตของการประมาณราคาแบบหยาบ
     ผู้ที่จะทำหน้าที่ประมาณราคาแบบหยาบนี้ได้ดี จะต้องมีข้อมูลที่เคยทำมาก่อนมากพอที่จะนำมาใช้อ้างอิงได้ทันทีที่ต้องการ  มีประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องมากพอสมควร
     การประมาณราคาแบบหยาบนี้  ใช้เงินและเวลาน้อย  ให้ความละเอียดถูกต้องของราคางานน้อย ไม่สามาถนำไปใช้ประมูลงานได้เพราะหยาบเกินไป ราคาที่ได้ไม่มีรายละเอียด ไม่มีที่มา

วิธีการประมาณราคาแบบหยาบที่นิยมใช้กันมาก

  
1. การประมาณราคาแบบ RULE OF THUMB OR CONCEPTUAL ESTIMATING
      
โดยการกำหนดไว้เป็นมาตรฐานแน่นอนตายตัวว่าสิ่งก่อสร้างแต่ละชนิด แต่ละประเภทมีราคาเท่าใดและใช้ราคาเท่ากันทั้งประเทศไม่ว่าจะสร้างที่ไหนก็ตาม 
       สำนักงบประมาณใช้มากที่สุด  ราคาที่ได้จะไม่มีการแบ่งแยกหมวดหมู่ประเภทของวัสดุอุปกรณ์แรงงาน และเครื่องจักรเครื่องมือที่
จะใช้ในโครงการ  ผู้ที่ใช้ราคาที่ได้จากการประมาณราคาแบบหยาบ   จะไม่ทราบที่มาของราคา ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุ
,แรงงาน,เครื่องจักรเครื่องมือ  จะทำให้การปรับราคาได้ยาก หรือถ้าทำได้ก็จะเกิดการผิดพลาดได้มาก
       การประมาณราคาแบบหยาบนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น
2 ประเภท คือ
              
BULK UNIT RATE หรือ TOTAL UNIT RATE เช่น  สถานีอนามัยตามแบบ อ.1 ราคาหลังละ 6,000,000 บาท  
              
DIVIDED UNIT RATE เช่น การสร้างถนนจะคิดต่อหน่วยความยาว การเทคอนกรีตจะคิดต่อหน่วยปริมาตร การทำTOPOGHRAPHIC MAP จะคิดต่อหน่วยพื้นที่ เป็นต้น

   2. การประมาณราคาแบบ
PRELIMINARY ESTIMATING
       ใช้วิธีเปรียบเทียบโครงสร้างแบบต่างๆ ที่จะสร้างลงบนพื้นที่เดียวกันว่าวิธีใดจะประหยัดที่สุด
       แบบที่ใช้ประมาณราคาเป็นแบบที่เรียกว่า
PRELIMINARY หรือ TENTATIVE DESIGN  เป็นแบบที่ยังไม่สมบูรณ์ถูกต้องครบถ้วน
       การประมาณราคาแบบนี้อาจจะมีการแบ่งหมวดหมู่ของราคาวัสดุอย่างคร่าวๆ ตามขั้นตอนของการก่อสร้าง และจะบันทึกข้อมูลตามระบบการจัดเก็บเอกสารแบบใดแบบหนึ่ง
เช่น
CSI  เป็นต้น

   3. การประมาณราคาแบบ
COMPARISON ESTIMATING
      
โดยเปรียบเทียบกับค่าก่อสร้างของงานที่คล้ายๆ กันที่เคยสร้างมาแล้ว จากนั้นจึงนำค่าก่อสร้างงานก่อนนั้นมาปรับราคาใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน 
       แบบที่ใช้ในการประมาณราคาแบบนี้อาจจะเป็นแบบเดียวกันหรือเป็นแบบที่คล้ายๆ กันก็ได้
       วิธีการประมาณราคาแบบนี้ใช้เวลาไม่มาก แต่อาจเกิดการผิดพลาดได้มาก เช่น งานฐานรากจะต่างกันแน่นอนเพราะสิ่งที่ซ่อนอยู่ใต้
ดินไม่มีใครทราบมาก่อน  การเอาแบบของเก่ามาใช้และประมาณราคาโดยอาศัยข้อมูลเก่าทั้งหมดอาจผิดพลาดได้ง่าย

วิธีการประมาณราคาแบบละเอียด (DETAILED ESTIMATING OR QUANTETY TAKE-OFF)
   
 หรือที่เรียกโดยทั่วๆไปว่าการถอดแบบ
     มีจุดประสงค์เพื่อ ใช้สำหรับการประมูลงาน เพราะจะทำให้รู้ราคางานที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
     ผู้ที่จะทำหน้าที่ประมาณราคาแบบละเอียดนี้ได้ดี จะต้องมีความละเอียดรอบคอบอ่านแบบเป็น เข้าใจวิธีการก่อสร้างโครงสร้างต่างๆ ได้เป็นอย่างดี มีข้อมูล วัสดุ แรงงานพร้อม
     ใช้เงินและเวลามาก ใช้คนมาก ให้ความละเอียดมากพอที่จะใช้สำหรับการประมูลงานได้ 
     ระบุ ค่าวัสดุ ค่าแรง ค่าเครื่องจักรเครื่องมือ ค่าอื่นๆ ครบถ้วน 
     มีการแยกราคาตามหมวดหมู่ตามลำดับการก่อร้าง  โดยจัดเรียงข้อมูลตามระบบใดระบบหนึ่งก็ได้ เช่น
CSI
     ต้องมีแบบก่อสร้างที่มีรายละเอียดที่ถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วนก่อนจึงจะทำการประมาณราคาได้

ขั้นตอนในการประมาณราคาโดยละเอียด

     1.   ทบทวนขอบเขตของโครงการ

     2.   พิจารณาผลกระทบของสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ในรูปของตัวเงิน เช่น สถานที่ตั้งสภาพการจราจร พื้นที่ว่างที่จะใช้เก็บวัสดุหรือก่อสร้างที่พักรวมทั้งสถานที่ทำงาน เป็นต้น

     3.   เรียงลำดับและจัดหมวดหมู่ปริมาณงานทั้งหมดตามลำดับการก่อสร้างตามระบบใดระบบหนึ่ง เช่น
CSI,CI/SFB หรือ แบบใด ๆ ก็ได้ตามแต่บริษัทนั้นๆ จะเห็นสมควร

     4.   หาปริมาณงานทุกๆ อย่างทั้งหมดจากแบบโดยละเอียดเรียงตามลำดับหมวดหมู่ทีได้มีการกำหนดไว้

     5.   ใส่ราคา วัสดุ  ค่าแรง อาจจะเป็นค่าแรงแต่ละคน หรือ ค่าแรงเป็นกลุ่มก็ได้ ค่าอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือ

     6.   ใส่ราคางานพิเศษหรืองานที่ให้
SUBCONTRACTOR รับเหมาช่วงงานบางอย่างไปทำโดยเลือกรายที่เสนอราคาต่ำที่สุด แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมความน่าจะเป็นหรือโอกาสที่จะทำงานเสร็จด้วย ควรทำตารางแสดงรายการที่ผู้รับเหมาแต่ละรายส่งราคามาให้พร้อมเงื่อนไขหรือรายละเอียดต่างๆ ถ้ามี

     7.   ใส่ราคาที่ผู้ส่งของหรือ
SUPPLIER ส่งมาให้พร้อมทั้งทำตาราง เรียงลำดับเอาไว้

     8.   คำนวณภาษี เงินค้ำประกัน ค่าประกันภัย และ ค่าดำเนินการของทุกๆ รายการที่เกี่ยวข้อง และทำตารางเพื่อเปรียบเทียบภายหลัง

     9.   อย่าลืมเพิ่มรายการเงินเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้ด้วย

    10.  ต้องการกำไรเท่าใดให้ใส่ลงไป

    11.  รวมราคา และ เตรียมยื่นประมูล


ค่าก่อสร้างที่ไม่ค่อยมีใครคิดถึงหรือมักจะถูกลืมเมื่อทำงานโดยใช้มาตรฐานงานก่อสร้างต่ำ (HIDDEN COST)
    
การทำงานก่อสร้างที่มีมาตรฐานความปลอดภัยต่ำจะทำให้มี COST หรือค่าใช้จ่ายประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่าค่าใช้จ่ายที่ซ่อนเร้นหรือค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นมาด้วยในระหว่างการก่อสร้าง  ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะมาจาก

     1.   ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรเครื่องมือเก่าที่เสียในระหว่างการทำงาน

     2.   ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับความล่าช้าของงานหรืองานถูกขัดจังหวะ เช่น เครื่องจักรเครื่องมือเสียแต่ค่าแรงยังคงต้องจ่ายอยู่

     3.   ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ค่าทนายความกรณีเกิดอุบัติเหตุคนตาย เป็นต้น

     4.   ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเกี่ยวกับการจัดส่งของและเครื่องจักรเครื่องมือสำรองในกรณีเร่งด่วน

     5.   ค่าเช่าเครื่องจักรเครื่องมือทดแทนของเก่าที่เสียในระหว่างการก่อสร้าง

     6.   ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบงานที่เพิ่มขึ้นและการบริหารจัดการ

     7.   ค่าใช้จ่ายในการจ้างและฝึกอบรมบุคคลากรทดแทนผู้ประสบอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง

     8.   ค่าล่วงเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการเร่งงานให้ทัน

     9.   ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลงานที่ลดลงของการกลับมาทำงานใหม่ของคนงานที่บาดเจ็บทำให้ใช้เวลาทำงานมากขึ้น

    10.  ธุรกิจก่อสร้างประสบการขาดทุนเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชื่อเสียงของบริษัทหรือผู้บริหารของบริษัททำให้สถาบันการ
เงินขาดความมั่นใจที่จะปล่อยสินเชื่อต่อไป

ปัจจัยที่มีผลทำให้การประมาณราคาผิดไปจากเดิม
    
บ่อยครั้งที่เมื่อได้ทำการประมาณราคาไปเรียบร้อยแล้ว  แต่เวลาทำการก่อสร้างจริงราคาที่ได้ประมาณเอาไว้แต่เดิมจะเปลี่ยนไปมากในทางที่สูงขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจาก

    
1.   ราคาวัสดุเปลี่ยนแปลง   ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเงินเฟ้อ  หรือ  เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลง

     2.   ราคาค่าแรงงานเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมาก  นอกจากมีการประมูลตัวคนงานในช่วงเวลาเศรษฐกิจขยายตัว หรือ
 มีสถานที่ก่อสร้างอยู่ใกล้กัน  หรือ รัฐบาลเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น

     3.   สภาพดินฟ้าอากาศ  เช่น  ฝนตกบ่อยๆ ต้องหยุดงานต้องจ่ายค่าแรงบางส่วน   แต่ถ้าดำเนินการจะต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้น

     4.   สถานที่ก่อสร้างอยู่ไกล    ต้องสร้างถนน   สะพาน   หรือ  ค่าการขนส่งวัสดุเพิ่มขึ้น

    
5.   การทำล่วงเวลาเพื่อเร่งงานให้เสร็จเร็วขึ้นแผน

    
6.   ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นจากที่ได้ประมาณราคาเอาไว้แต่แรก

การประมูลงานแบบเปิดหรือไม่จำกัดผู้เข้าร่วมประมูลหรือ  OPEN  BIDDING  
    
ไม่จำกัดผู้เข้าร่วมประมูล
     ต้องการให้มีการแข่งขันกันโดยเสรีโดยไม่สนใจว่าบริษัทใดจะเคยผ่านงานมาก่อนหรือไม่
     เหมาะกับ งานขนาดเล็ก  งบประมาณไม่มาก  ลักษณะงานจะเป็นงานขนาดเล็กทั่วๆไปใครๆก็ทำได้ งานที่ไม่ต้องการเทคนิคหรือวิธี
การที่สลับซับซ้อน  งานที่ไม่ต้องการเงินค้ำประกันที่สูงมากนัก
     ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือ  มีผู้เข้าร่วมประมูลมาก  บางบริษัทก็มีประวัติการทำงานไม่ดีชอบทิ้งงาน บางบริษัททำงานไม่ได้มาตรฐาน
บางบริษัทมีผู้บริหารเคยมีปัญหากับเจ้าของโครงการมาก่อน

การประมูลงานแบบปิดหรือ จำกัดผู้เข้าร่วมประมูล หรือ CLOSED BIDDING
     จำกัดผู้ที่จะเข้ายื่นซองประกวดราคา
     กำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะเข้ายื่นซองประกวดราคาหรือที่เรียกว่า 
PREQUALIFICATION หรือ เรียกกันโดยทั่วไปว่า P.Q
     บริษัทที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ  P.Q จะได้รับการประกาศรายชื่อซึ่งเรียกว่า SHORT  LIST  และบริษัทใน SHORT  LIST 
จะมีสิทธิ์ยื่นซองประกวดราคาได้ต่อไป
     ข้อดี ก็คือ ได้ผู้รับเหมาที่มีโอกาสทำงานได้เสร็จ  ได้ผลงานที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น  ไม่ต้องเสียทั้งเวลา
กำลังคน  อุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือ  และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบงานมากจนเกินไป

กระบวนการในการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น  (PREQUALIFICATION   P.Q)
จะต้องตรวจสอบประวัติบริษัท เงินทุนจดทะเบียน ประวัติการผ่านงานตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านอื่นๆ เช่น
    
1.   ประวัติการผ่านงาน   ราคางานที่เคยรับทำ
    
2.   ลักษณะงานที่เคยทำ   ตรงกับงานที่กำลังจะประชุมหรือไม่
    
3.   คณะผู้บริหาร เชื่อถือได้แค่ไหน
    
4.   บุคลากรประเภทต่างๆ มีครบถ้วนหรือไม่
    
5.   อุปกรณ์และเครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบันเพียงพอหรือไม่
    
6.   เงินทุนหมุนเวียนและทุนในการดำเนินการ
    
7.   แหล่งเงินทุนที่เคยให้การสนับสนุน   ยังคงให้การสนับสนุนอยู่หรือไม่
    
8.   มีประวัติการเคยทิ้งงาน  เคยถูกขึ้นบัญชีดำของราชการหรือไม่
    
9.   อื่นๆ ที่จำเป็น
สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจะต้องเขียนเป็นเอกสารที่เรียกว่า QUALIFICATION  STATEMENTS  เพื่อส่งให้เจ้าของโครงการหรือผู้แทนพิจารณาอนุมัติก่อนยื่นซองประกวดราคาต่อไป

ข้อควรพิจารณาก่อนการประมูลงาน  (DECISION  TO  BID  OR  NOT TO BID)
การยื่นซองประกวดราคาจำเป็นจะต้องมีการซื้อแบบมาเพื่อทำการประมาณราคาซึ่งบางงานเสียค่าแบบแพงมาก ดังนั้น เพื่อจะได้ไม่ต้อง
เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อแบบและไม่ต้องเสียเวลาในการประมาณราคา   ดังนั้น  ก่อนที่ผู้รับเหมารายใดจะตัดสินใจยื่นซองประมูลงาน
โครงการใดก็ตาม   มีข้อควรพิจารณาพอสังเขป  ดังนี้

     1.  
ลักษณะหรือชนิดของงานที่จะเข้าประมูล   ควรตรงกับความรู้   ความสามารถ  ประสบการณ์  ของบริษัท

    
2.   การประมูลงานภาคเอกชน  การเงินอาจจะมีความไม่แน่นอนสูง  แม้ว่าจะให้ธนาคารรับประกันโครงการก็ตาม   อาจเสียเงินใต้โต๊ะน้อย  หรือ  อาจไม่ต้องเสียเลยก็ได้  
ระวังจะถูกหลอกให้ประมาณราคาฟรีเพื่อเจ้าของงานจะได้มีราคาไว้ตรวจสอบกับบริษัทอื่น เพราะมีบริษัทที่เลือกไว้ก่อนหน้าเรียบร้อยแล้ว

     3.  
การประมูลงานภาครัฐ    การเงินจะไม่มีปัญหาแต่อาจจะช้า  โครงการภาครัฐที่เกิดขึ้นเพราะการเมืองจะมีความไม่แน่นอนสูง เสียเงินใต้โต๊ะมาก ถ้าไม่มีความคุ้นเคยเป็นการ
ภายในจะทำงานได้ยาก

     4. 
ต้องการประมูลงานเพียงเพื่อต้องการทำประวัติในการผ่านงานหรือไม่ ซึ่งอาจจะต้องยื่นซองประมูลให้ขาดทุนก็ได้

     5.  
โอกาสชนะมีมากน้อยเพียงใด

     6.  สถานที่ตั้งโครงการ การคมนาคมสะดวกหรือไม่ มีร้านค้าท้องถิ่นเพียงพอหรือไม่  มีแรงงานท้องถิ่นที่จะมาทำงานแบบเช้าไปเย็นกลับหรือไม่เพื่อจะได้ไม่ต้องสร้างที่พัก
ชั่วคราว

     7.  
ระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้าง ถ้านานอาจจะทำให้ราคาค่าก่อสร้างเปลี่ยนแปลง อาจต้องนำภาวะเงินเฟ้อมาพิจารณาด้วย  ทำให้ราคางานจะสูงขึ้นกว่าโครงการระยะสั้น

     8.  
ขนาดโครงการที่จะเข้าร่วมประมูลเกินความสามารถของบริษัทหรือไม่ ขนาดโครงการอาจจะบอกเป็นจำนวนเงินหรือเป็นปริมาณวัสดุที่ใช้ก็ได้

     9.  ความน่าเชื่อถือของแบบก่อสร้าง
ถ้าทำไปแก้ไปจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก

   10. 
มีความคุ้นเคยกับเจ้าของงานหรือผู้ออกแบบมากน้อยเพียงใด    ระดับความคุ้นเคย  หมายถึงโอกาสได้งาน

   11. 
ต้องการประมูลงานเพื่อเลี้ยงคนของบริษัทที่อยู่ในช่วงเวลาไม่มีงานหรือไม่

   12. 
มีการฮั้วหรือการสมยอมราคากันบ้างหรือไม่

   13. 
เจ้าของโครงการต้องการให้ผู้รับเหมาเข้าไปแก้ปัญหาให้ งานที่ยากผู้รับเหมาะจะน้อยราคาประมูลจะสูง

   14. 
โครงการที่ต้องการระดับความปลอดภัยสูง  ราคาประมูลจะสูง     เช่น   การก่อสร้างห้อง  X-RAY 

   15. 
ถ้าต้องการเงินค้ำประกันโครงการสูง  ราคาประมูลจะสูง

   16. 
ถ้าไม่แน่ใจว่าจะชนะการประมูล    ก็ไม่ควรไปซื้อแบบ   เพราะจะเสียค่าใช้จ่ายมากโดยไม่จำเป็น

   17. 
มีความพร้อมที่จะเล่นเกมการเงินและเกมการเมืองทั้งในระดับชาติ หรือ ในระดับท้องถิ่นที่ต้องไปทำการก่อสร้างหรือไม่

การเตรียมการประมาณราคาเพื่อประมูลงาน (BID  ESTIMATING  PREPARATION) ควรดำเนินการอย่างไร

    
1.   เมื่อได้ตัดสินใจที่จะยื่นซองประกวดราคาแล้ว ต้องไปซื้อแบบที่หน่วยงานที่ได้ระบุไว้ในประกาศเชิญชวนประกวดราคา

     2.   แบบก่อสร้างที่ซื้อมาจะมีเอกสารต่าง ๆ มากมายโดยเรียกรวม ๆ กันว่าเอกสารการประกวดราคาหรือ 
BID  COCUMENTS   ซึ่งจะประกอบด้วย ข้อกำหนดหรือรายการก่อสร้าง
หรือ 
SPECIFICATIONS  แบบที่จะต้องทำการก่อสร้างหรือ WORKING   DRAWINGS  และเอกสารหรือเงื่อนไข  แนบท้ายสัญญา หรือ ADDENDUMS  

     3.  
จะต้องหาข้อมูลให้ได้ว่ามีบริษัทใดซื้อแบบไปบ้าง   กี่บริษัท   บริษัทที่ซื้อแบบไปนั้นมีบริษัทใดบ้างที่มีความชำนาญมากกว่า บริษัทใดมีค่าดำเนินการสูงกว่าหรือต่ำกว่า   

     4.   ถ้าประมูลงานภาครัฐ   ต้องรู้ว่าบริษัทใดมีพรรคการเมืองใดหนุนหลัง  และพรรคการเมืองนั้น ๆ  ปัจจุบันเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล เป็นต้น

     5.   แจ้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบว่า   บริษัทจะเข้ายื่นซองประกวดราคาที่ใดบ้างเพื่อที่จะให้ทุกคนช่วยกันหาข้อมูลที่จำเป็นในการกำหนดราคาที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

     6.  
เขียนประกาศติดเอาไว้ในที่ที่จะเห็นได้ชัดว่า  
                    โครงการใดกำหนดวันยื่นซองเมื่อใด    มีเงินค้ำประกันซองเท่าใด   ซึ่งเรียกว่า 
BID  REPORT 
                    ซึ่งจะประกอบไปด้วย   ชื่อโครงการ ,  ชื่อเจ้าของโครงการและสถานที่ติดต่อ ,  ชื่อผู้ออกแบบและสถานที่ติดต่อ , 
                    ชื่อบริษัทที่ปรึกษาและสถานที่ติดต่อ ,  ค่าแบบ , 
BID  DOCUMENTS ,  วัน-เวลา-สถานที่ที่จะยื่นซองและเวลาปิดรับซอง
                    วัน
-เวลา-สถานที่ที่จะเปิดซองประกวดราคา ,
                    ชนิดของการประมูลเป็นแบบ 
OPEN  BIDDING   หรือ  CLOSED  BIDDING  , ขนาดโครงการที่กำลังประมูล ,
                    รายละเอียดโครงการทางด้านกายภาพ  เช่น  เป็น ค
..-โครงสร้างเหล็ก-จำนวนชั้น  เป็นต้น , งบประมาณโครงการ ,
                    ราคาที่ได้จากการประมาณราคาอย่างหยาบๆ แต่ไม่ใช่ราคาประมูล , จำนวนเงินค้ำประกันซอง , จำนวนเงินค้ำประกันสัญญา
                    ระยะเวลาจัดเตรียมความพร้อมหลังชนะการประมูลก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาอีกครั้ง , วันเริ่มต้นโครงการ ,
                    ระยะเวลาดำเนินโครงการจนแล้วเสร็จ , อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  เป็นต้น

     7.   จัดตั้งทีมประมาณราคา โดการแบ่งตามความชำนาญที่เคยผ่านงานมาก่อน  เช่น  กลุ่มประมาณราคางานอาคาร   หรืองานเขื่อนงานถนน   เป็นต้น   เพราะจะทำงานได้รวดเร็ว

     8.  
ทำแผนการประมาณราคาโดยกำหนดรายละเอียดว่าโครงการใดใครทำ  และ ต้องระบุด้วยว่าจะต้องเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์เมื่อใด  

     9.   ก่อนที่จะเริ่มลงมือประมาณราคาทุกครั้ง จะต้องอ่าน 
BID  DOCUMENTS  ให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อน  โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องแบบ รายละเอียดของแบบ สัญญลักษณ์ที่
ปรากฎในแบบ เป็นต้น ตอนใดที่สงสัยให้บันทึกรายละเอียดเอาไว้สอบถามผู้ออกแบบอีกครั้งซึ่งเรียกว่า 
QUERY  LIST  ทั้งนี้เพื่อที่จะได้สอบถามผู้ออกแบบในภายหลัง

    10.  จะต้องไปตรวจสถานที่ตั้งโครงการ 
(JOBSITE  VISIT)  ก่อนเริ่มการประมาณราคาทุกครั้งเพราะแบบที่ซื้อมาอาจจะออกแบบเอาไว้เมื่อ 1-2 ปี  ที่ผ่านมาแล้วก็ได้   กว่าจะเปิด
ขายแบบเพื่อประมูลงานสภาพแวดล้อมอาจจะเปลี่ยนไปลงไปจากเดิมมาก   เช่น  ถนนหนทางในการขนส่งวัสดุ    สะพานข้ามคลองอยู่ในสภาพดีหรือต้องซ่อมแซมก่อน   เป็นต้น 
รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ สมบูรณ์หรือไม่  สิ่งเหล่านี้ทำให้เสียเงินเพิ่มทั้งสิ้นถ้าต้องทำเพิ่มเติม

    11.  
สำรวจอิทธิพลท้องถิ่น   เช่น  นักการเมืองระดับชาติที่มีอิทธิพลในเขตเลือกที่ตั้งที่โครงการก่อสร้างตั้งอยู่   หรือ  พรรคการเมืองหรือนักการเมืองที่มีอำนาจอนุมัติโครงการ 
หรือนักการเมืองท้องถิ่น    หรือกลุ่มข้าราชการที่มีส่วนในการอนุมัติโครงการให้ต้องทำตามกฎหรือระเบียบใดๆ ก็ตาม   เป็นต้น    จะต้องหาตัวเลขให้ได้ว่าจะต้องจ่ายเงินให้คนกลุ่มนี้
หรือไม่   เท่าใด    จ่ายอย่างไร

    12.   จะต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือจากร้านในท้องถิ่นร้านใด  ราคาเท่าใด  ให้
CREDIT  ได้กี่วัน   ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้การทำงานของเราเป็นไปด้วยความราบรื่นตลอด
ระยะเวลาดำเนินการโครงการ

    13.  
สำรวจสภาพแรงงาน  (LABOUR   SURVEY)  และ ปริมาณคนงานในท้องที่   ประเภทช่างที่มีอยู่   ระดับฝีมือ อัตราค่าจ้างภายในพื้นที่ที่จะเข้าไปทำการก่อสร้าง เปรียบเทียบ
กับช่างที่มีอยู่ จะทำให้ทราบว่าต้องการช่างประเภทใดเพิ่มเติมอีกบ้าง  จำนวนเท่าใด

            ข้อดีของการจ้างคนงานท้องถิ่น ก็คือไม่ต้องเสียค่าก่อสร้างอาคารที่พักชั่วคราวจำนวนมากเพราะคนงานท้องถิ่นสามารถทำงานแบบเช้าไปเย็นกลับได้  

            ข้อเสียของการจ้างแรงงานท้องถิ่น คือ  มักจะมาทำงานไม่ตรงเวลา   วิธีแก้ก็คือควรจ่ายงานแบบเหมาะให้ทำ  เช่น  ให้ขุดดินให้ได้วันละ 
ลบ..  โดยจะทำเมื่อใดหรือทำ
กี่คนก็ได้แต่ต้องเสร็จตามแผนงานที่กำหนดให้   เป็นต้น  

            ข้อเสียของการจ้างคนงานท้องถิ่น อีกประการก็คือ ต้องใช้หัวหน้าช่างผู้ควบคุมมากและบางครั้งการสั่งให้ทำงานให้ได้มาตรฐานตามแบบและจะต้องทำงานให้เสร็จตามเวลาที่
กำหนดมักจะสร้างความไม่พอใจให้กับคนงานท้องถิ่นเสมอ    ยิ่งถ้าผู้ควบคุมงานที่พูดภาษาท้องถิ่นไม่ได้ยิ่งทำให้เกิดปัญหามากขึ้นไปอีก  วิธีแก้ปัญหานี้ก็คือให้หาหัวหน้างานหรือ 
FOREMAN  หรือ  JOB    SUPERINTENDENT หรือผู้ควบคุมดูแลงานสนาม ที่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้  จะช่วยแก้ปัญหาความไม่เข้าใจกันไปได้มาก 

            ข้อควรพิจารณาอีกประการหนึ่งของการจ้างแรงงานท้องถิ่น ก็คือ   ถ้าหากว่าบริเวณนั้นมีงานก่อสร้างหลายๆ  โครงการเกิดขึ้น
  ปัญหาการแย่งคนงานจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน
กรณีนี้คนงานหรือช่างจะมีอำนาจการต่อรองสูงทำให้ต้นทุนค่าแรงงานสูงขึ้นหรือผิดเกิดการผิดพลาดไปจากการประมาณการครั้งแรกไปมาก   วิธีแก้ก็คือให้เตรียมคนงานต่างถิ่นสำรอง
ให้เพียงพอ   โดยพร้อมที่จะเรียกตัวไปได้ทันที่ทีต้องการ

    14.  แยกรายการงานหรือ 
JOB   BREAKDOWN   ตามหมวดหมู่ตามขั้นตอนการก่อสร้าง    เพราะจะทำให้การถอดแบบ   ประมาณราคาไม่ลืมรายการบางรายการไป   ยิ่งมีการแยก
รายการค่าวัสดุ    ค่าแรงงาน   ค่าเครื่องจักรเครื่องมือได้ละเอียด    มากเท่าใด   ก็จะยิ่งทำให้ได้ราคาใกล้เคียงความจริงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น   งานบางงาน  เจ้าของโครงการจะกำหนดการ
แยกรายการมาให้ทำตามนั้น  ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการต่อรองราคา  ในภายหลัง 

    15.  เพื่องานเสร็จทันเสลาที่ต้องการ  ควรกำหนดลงไปด้วยว่า  งานรายการใดต้องถอดแบบให้เสร็จเมื่อใด  จะทำให้การบริหารและควบคุมเวลาในการถอดแบบประมาณราคาทำงาน
ได้ดียิ่งขึ้น

    16.  ขณะทำการประมาณราคา   จำเป็นต้องมีผู้ช่วย ถ้ามีข้อสงสัยประการใดก็อาจจะขอร้องให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาให้ข้อมูลรายละเอียดได้ หรือถ้าสงสัยข้อมูลเกี่ยวกับบริเวณ
 
SITE  ก็ อาจจะส่งคนไปหาคำตอบก็ได้   บุคลากรประเภทต่างๆ ที่เข้ามาช่วยในการประมาณราคาแต่ไม่ได้ลงมือทำการประมาณราคาเองเรียกว่า TEAM   APPROACH

    17. 
งานบางรายการต้องให้ผู้รับเหมาช่วงรับไปทำ  ดังนั้นจึงต้องมีบัญชีชื่อบริษัทผู้รับเหมาช่วงงานประเภทต่าง ๆ  ที่พร้อมจะติดต่อได้ทันที และเมื่อตัดงานใดให้ผู้รับเหมาช่วงรับไป
ทำ  จะต้องกำหนดรายละเอียดของโครงการไปด้วยเช่น    โครงการอะไร  ตั้งอยู่ที่ไหน จะให้เขาส่งราคามาให้เมื่อใด   ราคาที่ส่งมานี้ยืนราคาได้กี่วัน  ในกรณีที่สงสัยจะติดต่อใครได้ 
เป็นต้น  แม้ว่าจะตัดงานใดให้ผู้รับเหมาะช่วงไปทำก็ตามจะต้องตรวจสอบราคาอีกครั้งหนึ่ง  การตรวจสอบราคาอาจจะทำโดยการเราต้องทำการประมาณราคาอีกครั้งหนึ่ง  หรือให้ผู้รับ
เหมาช่วงหลาย ๆ รายส่งราคางานชนิดเดียวกันมาให้เพื่อเป็น  การเปรียบเทียบก็ได้

    18.  เมื่อได้ตัวเลขเกี่ยวกับค่าวัสดุ    แรงงาน  และเครื่องจักรเครื่องมือแล้ว  จะต้องเพิ่มรายการค่าใช้จ่ายอีกบางรายการก่อนการยื่นซองประกวดราคา  คือ ค่าดำเนินการ  ค่าภาษี
มูลค่าเพิ่ม  ค่ากำไร   ค่าภาษีนิติบุคคล    เป็นต้น   ส่วนใหญ่ราคาการประมูลงานของแต่ละบริษัทจะแพ้ชนะกันที่หมวดนี้มากที่สุด  เพราะราคาในหมวดอื่นจะไม่แตกต่างกันมากนัก ตัว
เลขในหมวดนี้จะแตกต่างกันมากหรือน้อยตามนโยบายของแต่ละบริษัท

    19.  ก่อนการยื่นซองประกวดราคาทุกครั้ง  จะต้องนำตัวเลขที่จะยื่นซองประกวดราคาเข้าที่ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับผิดชอบกับตัวเลขที่จะประมูล
ร่วมกันในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับตัวเลขเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังจะต้องระวังสายลับของฝ่ายตรงข้ามด้วย  ในบางบริษัทมีวิธีการที่ค่อนข้างเข้มงวดมากในระหว่างการถอดแบบประมาณราคา
อาจจะมีการเก็บตัวเป็นอาทิตย์หรือห้ามใช้โทรศัพท์เด็ดขาดนอกจากจะพูดโดยมีผู้ที่บริษัทไว้ใจมายืนฟังอยู่ด้วย  เป็นต้น

องค์ประกอบหรือโครงสร้างของราคาค่าก่อสร้าง COMPOSTION  OF    CONSTRUCTION  COST
โครงสร้างของราคาก่อสร้างที่ระบุไว้ในสัญญาก่อสร้าง (CONSTRUCTION  COST   AS  SPECIFIED  IN CONTRACT) แต่ละสัญญา
ไม่เหมือนกันทุกๆ หัวข้อแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะคล้ายๆ กัน  พอแยกออกได้ดังนี้

    
SALE’S  TAXES   หมายถึง  ภาษีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ประเทศไทยคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม  7%  ของเงินที่จะประมูล

   
 CONSTRUCTION  COST  หมายถึง   ราคาค่าก่อสร้างจริงๆทั้งหมด ซึ่งจะประกอบไปด้วย Direct Cost & Indirect Cost

               
DIRECT   COST  เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้างตัว STRUCTURE  โดยตรง   ซึ่งจะประกอบไปด้วย

                                       
MATERIAL   COST  เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้างตัวอาคารหรือสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (FACILITIES)  ปริมาณของวัสดุที่ต้องการในงานก่อสร้างจะประกอบไปด้วยปริมาณที่ปรากฎตามแบบและ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นตามสภาวะการทำงานปกติซึ่งจะประกอบไปด้วยระหว่าง
การขนส่งจากแหล่งผลิตหรือสถานที่เก็บไปยัง  
SITE  , ความสูญเสียระหว่างการเก็บรักษา และ ความสูญเสียระหว่างหรือขณะทำการก่อสร้าง

                                       
LABOUR  COST  เป็นค่าแรงงานที่จำเป็นต้องใช้ในงานก่อสร้าง  โดยหลักการแล้วควรแยกแรงงานออกตามชนิดของการก่อสร้างและตามประเภทของ
แรงงานซึ่งจะทำให้การวางแผนงานในด้านที่เกี่ยวกับ 
MANPOWER RESOURCE  ง่ายขึ้น  นอกจากนี้ควรนำสภาพการทำงานหรือ  SITE   CONDTION   ขนาดของโครงการหรือ  
SCALE  OF  CONSTUCTION  เพราะงานอย่างเดียวกัน  ถ้ามีสภาพการทำงานยากง่ายต่างกันค่าแรงจะไม่เท่ากัน  นอกจากนี้ขนาดของโครงการก็มีส่วนสำคัญต่อค่าแรงเพราะถ้า
เป็นโครงการขนาดเล็กงานจะเสร็จเร็วจะต้องหางานใหม่ส่วนงานที่มีขนาดใหญ่จะเสร็จช้าไม่ต้องรีบหางาน  ดังนั้น  ค่าจ้างแรงงานจะแตกต่างกัน เป็นต้น  ค่าแรงอาจจะรวมถึง  ค่าจ้างราย
วัน   รายเดือน  ค่าล่วงเวลา   เงินเพิ่มพิเศษหรือ 
BONUS  และค่าแรงอาจจะแตกต่างกันตามประเภทของช่าง   สถานที่ก่อสร้าง  และ  ความยากง่ายของงาน  เป็นต้น

                                      
MACHINERY  COST  เป็นค่าเครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง

                                      
OTHERS  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประกอบไปด้วยค่าลิขสิทธิ์หรือ  PATENT  FEE  สำหรับเครื่องจักรเครื่องมือซึ่งจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการ
ใช้วิธีการก่อสร้างหรือเครื่องจักรมือนั้นๆด้วย  นอกจากนี้ยังรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าน้ำ  ค่าไฟ และค่า
โทรศัพท์  ตลอดจนค่าอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

               
INDIRECT  COST เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับค่าก่อสร้างตัวโครงสร้างหรืออาคาร แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างนั้น ๆ   หรืออาจจะบอกได้ว่าถ้าไม่มี
INDIRECT  COST  แล้วการก่อสร้างโครงการนี้ไม่สามารถที่จะดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มีหลายอย่าง เช่น

                                      GENERAL   MANAGEMENT  COST  หมายถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารและจัดการทั่วไป ซึ่งจะอยู่ระหว่าง 9% - 16%  ของ  DIRECT  COST ค่าใช้จ่ายใน
หมวดนี้ส่วนมากจะประกอบไปด้วย  เงินเดือนสำหรับผู้บริหารในสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา , เงินเดือนคนงาน , เบี้ยเลี้ยง
/เงินชดเชยการออกจากงาน , ค่าสวัสดิการ , ค่าบำรุง
รักษาและซ่อมแซมงาน , ค่าสำนักงานและอุปกรณ์ , ค่าคมนาคมและการขนส่ง , ค่าประปา  ไฟฟ้า  โทรศัพท์  โทรสาร , ค่าการศึกษาปัญหาและการวิจัย , ค่าโฆษณา ,ค่าเลี้ยงรับรอง ,
ค่าบริจาคการกุศล , ค่าเช่าที่ดินและสำนักงาน , ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกบางรายการ

                                     
INTEREST  หมายถึงค่าดอกเบี้ย ซึ่งจะประกอบไปด้วย ดอกเบี้ยเงินกู้ , ภาษีกำไร , ภาษีเงินได้นิติบุคคลค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือการทำธุรกิจ

                                     
TEMPORARY  WORK   COST  เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงานชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านเครื่องกล  เช่น  CONCRETE  PLANT ,
ASPHALT  PLANTS , ค่าน้ำ  ค่าไฟ  ค่าโทรศัพท์ , ค่าสะพานชั่วคราว ,  ค่าถนนชั่วคราว ,   ค่าซ่อมแซมถนนที่มีอยู่เพื่อใช้ในงานได้ดี   ค่าก่อสร้างกำแพงกันดิน  เป็นต้น

                                      
COST FOR MEASURES TO PREVENT CONSTRUCTION  FROM AFFECTING  THE  SURROUNDINGS เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการต่างๆ ที่จำเป็น
ต้องใช้เพื่อไม่ให้การก่อสร้างส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง   หรือสิ่งแวดล้อมบริเวณ  
SITE  ก่อสร้าง  เช่น   การป้องกันเสียงรบกวนการป้องกันการทรุดตัวของฐานรากของอาคาร
ข้างเคียง
การป้องกันการสั่นสะเทือนเนื่องมาจากการตอกเสาเข็ม การป้องกันอิทธิพลของน้ำใต้ดินในระหว่างการก่อสร้าง เป็นต้น

                                      
PREPARATORY   WORK  COST  เป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมงานที่ SITE ก่อสร้าง (MOBILIZATION) และค่าทำความสะอาดหลังการก่อสร้างเสร็จเรียบ
ร้อยแล้วและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสำรวจภูมิประเทศ

                                       TECHNICAL  MANAGEMENT  COST  เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทางด้านเทคนิค เช่น ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น
ต้องใช้ในการก่อสร้าง  ค่าใช้จ่ายในการทดสอบวัสดุเพื่อการควบคุมคุณภาพ   การวัด 
DIMENSION ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการควบคุมงานการจัดเตรียมรายงานต่างๆ เป็นต้น

                     TRANSPORTATION   COST  OF  MACHINERY, ETC.  เป็น     ค่าใช้จ่ายในการขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรเครื่องมือจากที่เก็บไปยังที่ที่จะทำ
การก่อสร้างและการเคลื่อนย้ายเก็บเข้าโกดัง  ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเครื่องจักรเครื่องมือภายใน 
SITE  ก่อสร้างเอง

                     TEMPORARY  BUILDING  and  REPAIR  COST  เป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง   ซ่อมแซมและรื้อถอนาคารชั่วคราว  เช่น  สำนักที่พักคนงาน   ห้อง
LAB,  โรงเก็บพัสดุสำนักงานชั่วคราวสำหรับ ผู้ควบคุมโรงรถ  เป็นต้น

                     LABOUR  TRANSPORTATION  COST  เป็น  ค่าใช้จ่ายในการขนส่งคนงานระหว่างที่พักกับ SITE  ก่อสร้างทั้งไปและกลับ

                     UTILITY  AND  CONSTRUCTIONAL  SERVICE  COST  เป็นค่าสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องใช้เพื่อช่วยให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  
เช่น    ค่าเช่าที่ชั่วคราวสำหรับเก็บ
MATERIAL,    ค่าเช่าที่สำหรับการทำงานชั่วคราวค่าใช้จ่ายในการปิดถนนหรือค่าน้ำ    ค่าไฟ  ที่จำเป็นต้องใช้เฉพาะแห่ง  เป็นต้น

                     SAEFTY  COST  เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อความปลอดภัย   เช่น  ค่าป้ายสัญญาเตือนภัย  ค่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย    
ค่าใช้จ่ายสำหรับการควบคุมความปลอดภัยและเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง  ค่าตรวจสอบและมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

                                       TRANSPORTATION  COST  FOR  PREFABRICATED  MEMBERS  เป็นค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากโรงงานไปยัง  SITE  ก่อสร้าง

                                       INDIRECT  LABOUR  COST  เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ  INDIRECT  LABOUR  หรือค่าใช้จ่ายสำหรับหัวหน้าคนงานในระดับต่าง ๆ            


การแบ่งหมวดหมู่ของราคาค่าก่อสร้าง
     1.   หมายถึง การแบ่งงานก่อสร้างออกเป็นหมวดหมู่ตามขั้นตอนและชนิดของการก่อสร้าง 

     2.  การแบ่งหมวดหมู่นี้เรียกได้หลายแบบ เช่น บัญชีส่วนประกอบของงานก่อสร้าง  หรือ เอกสารบัญชีวัสดุก่อสร้าง หรือ บัญชีรายการค่าก่อสร้าง เป็นต้น

     3.  ในปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานได้จำแนกราคาค่าก่อสร้างออกเป็นหมวดหมู่หลายๆระบบ เช่น ระบบ
CSI ของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ ระบบของประเทศคานาดา หรือ ระบบ
CI / SfB ของยุโรป เป็นต้น

     4. 
ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่งานก่อสร้าง คือ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสามารถตรวจสอบได้ง่าย ทำให้การประมาณราคาไม่ไม่หลงลืมในหมวดใดหมวดหนึ่งซึ่งจะเกิดผล
เสียหายอย่างมากในภายหลัง

     5.
การแบ่งหมวดหมู่งานก่อสร้างในประเทศไทยนิยมใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ ระบบ CSI ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมักใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่  ส่วนงานขนาดเล็กนิยมใช้ตามที่
ได้ระบุไว้ในหนังสือการประมาณราคาก่อสร้างทั่วๆไป 

ข้อควรพิจารณาในการวัดปริมาณงานจากแบบก่อสร้าง        

ในการถอดแบบประมาณราคาเราจะต้องดูรายละเอียดทั้งหมดจากแบบก่อสร้าง  ดังนั้น  ตัวเลขหรือราคาที่จะใช้ในการยื่นซองประกวดราคาจึงมาจากแบบเกือบทั้งหมดจึงต้องระมัด
ระวังในการอ่านแบบ สัญญา และ ข้อกำหนดในการก่อสร้างให้ละเอียดมิฉะนั้นอาจทำให้การประมาณราคาผิดไปจากข้อเท็จจริงมาก

      ในการวัดปริมาณงานจากแบบทุกครั้งมีข้อควรพิจารณา ดังนี้

                      ปริมาณที่จะต้องใช้ในการก่อสร้างจริง ๆ หรือ NET IN PLACE  เป็นการวัดตาม DIMENSION ที่ปรากฏจริง ๆ ตามแบบ ไม่ว่าจะเป็น ปริมาตร พื้นที่  หรือ ความยาว ไม่มีการเผื่อไม่
ว่าในกรณีใด ๆ

         
 ปริมาณที่จะต้องใช้เพื่อการสั่งของหรือสั่งซื้อ หรือ PROCUREMENT  จะประกอบไปด้วยปริมาณงานที่ใช้จริงรวมกับเผื่อเสียหาย

การสั่งซื้อหรือจัดซื้อ  ปริมาณใช้งานจริง  การสูญเสีย
PROCUREMENT  NET IN PLACE     +   LOSSES

            การสูญเสีย         เป็นปริมาณที่จะต้องเผื่อเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การทำงาน การเก็บรักษา เป็นต้น

            การวัดแบบ NET IN PLACE และ  PROCUREMENT  จะทำให้ได้ราคาต่อหน่วยต่างกัน เพราะปริมาณที่ใช้ต่างกัน


ตัวอย่างงานที่มีแต่ค่าแรง และ ค่าเครื่องจักรเครื่องมือ การแต่งไหล่ถนน โดยใช้ MOTOR GRADER

ปัญหาเรื่องหน่วยที่ใช้ในการวัดหรือการนับ 
เป็นปัญหามากสำหรับหน่วยงานที่ต้องทำงานร่วมกับชาวต่างชาติเพราะใช้หน่วยต่างกัน  มีอยู่บางงานที่จะต้องเขียนแบบโดยใช้หน่วย 2  ระบบ เช่น ระบบเมตริก กับ ระบบอังกฤษ แต่
หน่วยที่ใช้ในบ้านเราโดยทั่วไปจะใช้หน่วยดังต่อไปนี้

1.       ความยาว จะใช้ เมตร, กิโลเมตร เช่น ความยาวสายไฟ ,ความยาวถนน

2.       พื้นที่จะใช้ ตารางเมตร ,ตารางกิโลเมตร , ไร่ เช่น การปูกระเบื้อง ,การทำงานที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ขนาดใหญ่ หรือ การวัดพื้นที่ขนาดเล็กโดยเฉพาะกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

3.       ปริมาตร จะใช้ลูกบาศก์เมตร , ลูกบาศก์ฟุต เช่น ปริมาตรของคอนกรีต , ปริมาณไม้

4.       น้ำหนัก จะใช้ กิโลกรัม , ตัน เช่น ปริมาณ ตะปู , ปริมาณเหล็กเสริมในคอนกรีต

5.       นับเป็นชุดโดยระบุขนาดด้วยเนื่องจากมีหลายขนาด เช่น ประตู หน้าต่าง สิ่งเหล่านี้ใน 1 ชุด จะประกอบด้วย วงกอบ ลูกบิดบานพับ เป็นต้น

6.       นับเป็นหน่วยโดย ไม่ต้อง ระบุขนาดเพราะเป็นที่รู้กันหรือมีแต่เฉพาะขนาดมาตรฐานเท่านั้น เช่น กระเบื้อง CPAC MONIER

7.       นับเป็นหน่วย แต่จะต้อง ระบุขนาด เช่น ไม้อัดขนาด 4’ x 6’ หนา 0.5 ซม. เป็นต้น


TAKE – OFF ITEMS
เป็นตารางสำหรับการประมาณราคา   แต่ละบริษัทจะมีแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะคล้าย ๆ กันซึ่งตารางสำหรับการประมาณราคานี้อาจจะ
ประกอบด้วย
 

1.    ITEM NUMBER เป็นลำดับรายการที่กำลังจะทำการประมาณราคาว่าอยู่ในเลขหมวดหมู่เอกสารในการประมาณราคาทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ วางแผน และควบคุม
ราคาในภายหลัง
(COST ANALYSIS, COST PLANNING และ COST CONTROL)
 

2.     DESCRIPTION เป็นรายละเอียดที่ให้คำอธิบายงานที่กำลังประมาณราคา เช่น เป็น PILE , CAP ของฐานราก F1

3.    DIMESION จะเป็นขนาดที่เป็นตัวเลขของงานที่กำลังประมาณราคา ควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายในการกรอกตัวเลขและการตรวจสอบในภายหลัง
เช่น พื้นที่กำหนดเป็น กว้าง
x ยาว ปริมาตรก็ควรเป็น กว้าง x ยาว x สูง หรือ กว้าง x ยาว x ลึก  เป็นต้น เพราะจะทำให้ง่ายในการตรวจสอบภายหลัง

            4.     UNIT หน่วยที่ใช้ในการวัด ความยาว พื้นที่ ปริมาตร ชุด 

5.     QUANTITY เป็นปริมาณงานที่วัดได้

            6.     UNIT COST ราคาต่อหน่วยทั้งวัสดุ และ เครื่องจักรเครื่องมือ 

7.       LABOUR RATE อัตราค่าแรงงานต่อหน่วย 

8.       TOTAL COST รวมราคาทั้งหมด 

9.       REMARK หมายเหตุเพิ่มเติมถ้าจำเป็นต้องมี


ข้อควรพิจารณาขณะทำการถอดแบบ
1.    หน่วยที่ใช้ในการวัด บ้านเราใช้หลายหน่วยหลายระบบ เช่น ความสูงวัดเป็น ซม. แต่ รอบเอววัดเป็นนิ้ว หรือ ความยาวไม้แบบวัดเป็นเมตรแต่พื้นที่หน้าตัดวัดเป็นนิ้ว

2.    จะต้องตกลงกันว่าจะใช้ทศนิยมกี่ตำแหน่งในการวัดและจะมีการปัดเศษกันอย่างไร เพราะการใช้ทศนิยม 1 ตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง และ 3 ตำแหน่ง เมื่อรวมทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว
จะทำให้ราคางานแตกต่างกันมาก

3.    หลีกเลี่ยงการวัดหาระยะจากแบบเพราะกระดาษอาจยืดหดได้ไม่แน่นอนแล้วแต่อุณหภูมิในขณะนั้น แต่ถ้าตามแบบไม่ได้ให้ DIMENSION เอาไว้จะต้องคำนวณหาระยะหรือขนาดเอา
เองแต่จะต้องแสดงวิธีการคำนวณเอาไว้ในรายการนั้น ๆ ด้วยเพื่อจะได้ตรวจสอบอีกครั้งในภายหลัง

4.    ส่วนใดของแบบที่ได้ทำการประมาณราคาไปแล้วจะต้องแสดงเครื่องหมายให้เห็นชัดเจน เช่น อาจจะใช้สีระบายก็ได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ไม่ลืมหรืออาจจะประมาณราคาซ้ำก็ได้

5.จะต้องเตรียมสัญญาก่อสร้าง  เอกสารประกอบสัญญาจ้าง แบบก่อสร้าง รวมถึง  รายการก่อสร้างหรือ SPECIFICATION ให้เรียบร้อยพร้อมที่จะเปิดดูได้ทันทีที่มีปัญหา

6.    การประมาณราคางานคอนกรีต จะต้องระบุ STRENGTH และ ระยะเวลาที่ต้องการประเภทปูนที่ใช้ ตำแหน่งที่ต้องการเท เพราะราคาคอนกรีตจะแตกต่างกันมาก ปูนแบบเดียวกันแต่
เทที่ชั้น
1 กับ ชั้นที่ 20 ราคาจะแตกต่างกัน

7.    ตรวจสอบรายการประมาณราคา อย่าลืมรายการใด ๆ ควรแบ่งรายการถอดแบบงานแต่ละงานออกให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะจะทำให้ได้ตัวเลขที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

8.    การประมาณราคาอย่างหยาบ ๆ แต่ละรายการ เมื่อนำมารวมกันจะทำให้ได้ตัวเลขที่ผิดความจริงไปมาก ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ได้งานหรือได้งานทำแต่ขาดทุนก็เป็นได้  ดังนั้น  ควรหลีก
เลี่ยงการประมาณราคาอย่างหยาบๆ หรือ อย่างคร่าวๆให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


จะเริ่มต้นถอดแบบอย่างไร
มักจะมีคำถามจากผู้ทำการประมาณครั้งแรกเสมอว่า จะเริ่มต้นจากตรงไหนดี  จากคำถามดังกล่าวจึงขอให้พิจารณาคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

1.       การออกแบบจะมีลักษณะออกแบบจากบนลงล่างหรือ TOP DOWN

2.      
การก่อสร้างจะมีลักษณะก่อสร้างจากข้างล่างขึ้นข้างบนหรือ BOTTOM UP 

3.      
การถอดแบบสามารถทำได้ทั้ง TOP DOWN , BOTTOM UP และเริ่มจากตรงกลางลงไปข้างล่างหรือ MIDDLE DOWN หรือเริ่มจากตรงกลางขึ้นข้างบนหรือ MIDDLE UP ก็ได้

4.      
มองแบบทั้งหมดและสร้างจินตนาการให้เห็นภาพที่สมบูรณ์ที่สุดของงานชิ้นนั้นว่ามีลักษณะอย่างไร งานบางอย่างอาจจะมี MODEL หรือ  PERSPECTIVE ก็ได้ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจ
แบบมากยิ่งขึ้น

5.      
แยกภาพที่สมบูรณ์ที่สุดที่อยู่ในจินตนาการนั้นว่าประกอบด้วยส่วนย่อยหลัก ๆ อะไรบ้าง ตามลำดับการก่อสร้างทั้งโครงการ

6.      
แยกส่วนประกอบย่อยหลักออกเป็นส่วนประกอบย่อย ๆ ตามลำดับการก่อสร้างทั้งโครงการอีกครั้งโดยให้เห็นรายละเอียดทั้งหมด

7.     
เริ่มต้นถอดแบบประมาณราคาส่วนประกอบย่อยเริ่มแรกของโครงการก่อน จากนั้นให้ดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับส่วนประกอบย่อยอื่น ๆ ต่อไปตามลำดับการก่อนสร้างจนจบ
โครงการ

8.     
บางคนชอบเริ่มต้นถอดแบบประมาณราคางานสุดท้ายก่อนงานเริ่มแรก ก็สามารถทำได้ แล้วแต่ความถนัด หรือ แล้วแต่ว่าจะได้รับมอบหมายส่วนใด

9.      
ส่วนประกอบย่อยหลัก หรือส่วนประกอบย่อยในรายละเอียดของทั้งโครงการ สามารถหาดูได้จากการจัดระบบเอกสารในงานก่อนสร้างซึ่งมีอยู่หลายระบบ

10.  ถามตัวเองว่า
member ที่กำลังประมาณราคาอยู่นั้น วางอยู่บนอะไร หมายความว่า ต้องสร้างสิ่งนั้นก่อน

ชนิดของเครื่องจักรเครื่องมือในงานก่อสร้างและวิธีการคิดราคา
ในงานก่อสร้างทุกชนิดจะมีเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้หลายชนิด หลายประเภทตามแต่ชนิด และ ขนาดของโครงการก่อสร้างแต่ส่วนมากแล้วพอจะแบ่งออกได้ ดังนี้

1.  HAND TOOL OR SMALL TOOLS  เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก เช่น ค้อน ไขควง ขวาน จอบ เสียม พลั่ว ฯลฯ ในการคิดราคาจะคิดเป็น % ของค่าแรง แต่มีโครงการก่อสร้าง
เป็นจำนวนมากไม่นำค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มาคิดด้วย

2.  SITE EQUIPMENT   เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ร่วมกันในการทำงานหลาย ๆ ชนิด เครื่องจักรเครื่องมือในกลุ่มนี้จะต้องเก็บเอาไว้ที่ SITE ตลอดระยะเวลาการทำงานหรือ
จนกว่างานจะเสร็จ เช่น
CRANE  เป็นต้น และมักจะเช่ามากกว่าจะซื้อมาเป็นเจ้าของเองนอกจากจะมีงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน  การซื้อจะถูกกว่าการเช่า และการคิดราคามักจะคิด
เป็นชั่วโมงการทำงานรวมทั้งค่าล่วงเวลาด้วย  ข้อสำคัญก็คือจะต้องตกลงกันก่อนว่าค่าน้ำมันรถ ค่าซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายในการหาเครื่องจักรตัวใหม่มาทดแทนตัวที่เสีย

3.  SPECIFIC EQUIPMENT     เป็นเครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้เฉพาะงานและใช้เป็นบางเวลาที่ต้องการเท่านั้น เมื่อเสร็จงานนั้นๆแล้วจะต้องนำออกไปจาก SITE เช่น HEAVY
 CONSTRUCTION EQUIPMENTS ได้แก่ TRACTOR , BULLDOZER, GRADER เป็นต้น และเช่นเดียวกันกับ SITE EQUIPMENT  คือ มักจะเช่ามากกว่าซื้อนอกจากจะมีงานก่อสร้างต่อ
เนื่องเป็นระยะเวลานาน

หลักการและวิธีการคิดราคา SPECIFIC EQUIPMENT    นิยมบอกเป็นปริมาณงานที่ทำได้ต่อหนึ่งหน่วยเวลา หน่วยเวลาที่ใช้แล้วแต่ข้อตกลง อาจจะเป็น ชั่วโมงหรือสัปดาห์หรือ
 เดือน ก็ได้ เช่น ค่าเช่ารถแทรกเตอร์ ถ้าคิดเป็นปริมาณงานที่ทำได้ต่อชั่วโมง จะมีหน่วยเป็นบาท ต่อ ชั่วโมง ต่อ ดัน หรือถ้าคิดเป็นสัปดาห์จะมีหน่วยเป็นบาท ต่อ สัปดาห์ ต่อ คัน  หรือ 
 ถ้าคิดเป็นเดือน จะมีหน่วยเป็น บาท ต่อเดือน ต่อ คัน


การเช่า หรือ การซื้อเครื่องจักร อย่างใดจะให้ผลดีมากกว่ากัน
การที่จะซื้อหรือเช่าเครื่องจักรจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้เข้ามาสู่ธุรกิจก่อสร้าง คือถ้าเพิ่งจะเข้ามาสู่ธุรกิจก่อสร้างใหม่ ๆ การเช่าจะให้ประโยชน์มากกว่า  เพราะมีเงินทุนน้อย  มี
CREDIT หรือ ความน่าเชื่อถือน้อย   มี CONNECTION หรือสายใยความสัมพันธ์หรือการติดต่อกับสถาบันทางการเงินน้อย

แต่ถ้าเข้ามาสู่ธุรกิจก่อสร้างเป็นระยะเวลานานพอสมควร จะมีทางเลือก 2 ทาง คือ จะเช่าหรือจะซื้อก็ได้ เพราะมีเงินทุนมากพอ  มี CREDITที่เชื่อถือได้  มี CONNECTION หรือสายใย
ความสัมพันธ์หรือการติดต่อกับ
BANKER หรือสถาบันการเงินมากพอสมควร      ถ้าต้องใช้เป็นการชั่วคราว ควรเช่าดีกว่า เช่น MOBILE CRANE ถ้าต้องใช้บ่อย ๆ ควรซื้อดีกว่า

มีความจำเป็นประการใดหรือไม่ที่จะต้องซื้อเครื่องจักรเครื่องมือเสมอไป
ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องจักรเครื่องมือเสมอไป เพราะปัจจุบันมีบริษัทที่ทำธุรกิจให้เช่าเครื่องจักรเครื่องมือมากมายโดยมีครบทุกชนิดทุกประเภท และให้บริการพร้อมคนขับ และ
เนื่องจากเป็นการแข่งขันโดยเสรีจึงไม่มีใครกล้าตั้งราคาค่าเข่าสูงเพราะอาจจะไม่ได้งานเลยก็ได้

แต่อย่างไรก็ตามผู้รับเหมาจะต้องตัดสินใจเอาเองว่าจะซื้อหรือจะเช่าเครื่องจักรเครื่องมือดี หรือ ระหว่างการเช่า กับ การซื้อ วิธีไหนจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่ากัน


ข้อดีและข้อเสียของการเช่าหรือซื้อเครื่องจักรเครื่องมือใหม่
การซื้อหรือการเช่าเครื่องจักรเครื่องมือหนัก มีข้อควรพิจารณา ดังนี้

     ข้อดีของการเช่า
    ไม่ต้องมีโรงเก็บที่ใหญ่โต โดยที่อาจจะใช้เครื่องจักรที่ใช้บ่อย ๆ เพียง 2 – 3 ชนิดเท่านั้น ถ้าไม่ต้องมีโรงเก็บก็จะลดค่าประกันความเสียหายลงไปด้วย สามารถเลือกเครื่องจักรเครื่อง
มือที่ทันสมัยและมีประสทิธิภาพได้ตามความพอใจ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีโรงเก็บอะไหล่หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ลดการจ้างเจ้าหน้าที่มาทำการบำรุงรักษาหรือมาควบคุมการใช้
งานเป็นพิเศษทำบัญชีควบคุมค่าใช้จ่ายได้ง่าย

     ข้อเสียของการเช่า คือ
     ถ้าหากผู้รับเหมาต้องใช้เครื่องจักรเครื่องมือเป็นระยะเวลานาน ค่าเช่าที่จะต้องจ่ายออกไปจะแพงกว่าการซื้อเป็นเจ้าของเสียเอง

     การมีเครื่องจักรเครื่องมือเป็นของตัวเอง จะทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจเพิ่มขึ้นเพราะจำทำให้ดูว่ามีความมั่นคงมากกว่าบริษัทที่ไม่มีเครื่องจักรเครื่องมือเป็นของตัว
เอง

     เจ้าของงานบางคนต้องการให้ผู้รับเหมาที่จะมารับงานไปทำมีเครื่องจักรเครื่องมือเป็นของตัวเอง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะทำงานได้เสร็จโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้แม้ว่าจะใช้
เวลานานก็ตาม


ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของเครื่องจักรเครื่องมือในงานก่อสร้าง
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ประกอบด้วย ค่าเสื่อมราคา (DEPRECIATION)  ค่าซ่อมแซมและค่าบำรุงรักษา (MAINTENANCE AND REPAIR COST) ค่าดอกเบี้ย หรือค่าเสียโอกาสของเงิน
(FINANCING EXPENSE)  ค่าภาษี (TAXES)  ค่าประกันภัย (STORAGE COST)  ค่าน้ำมันหล่อลื่นและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (FUEL AND LUBRICATION COST)  และค่าอื่นๆที่ไม่สามารถ
ลงบัญชีได้

วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา
ค่าเสื่อมราคา       หมายถึง มูลค่าที่ลดลงของทรัพย์สินใดๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไปซึ่งโดยมากจะคิดต่อปี
หมายความว่า ราคาของเครื่องจักรทุกชนิดจะลดน้อยลงไปตามเวลาที่ใช้งานหรือแม้ว่าจะจอดทิ้งไว้เฉยๆ ก็ตามและเมื่อครบอายุใช้งานราคาของเครื่องจักรจะมีค่าใกล้เคียงศูนย์ซึ่ง
เรียกว่า
SALVAGE VALUE หรือ ราคาเมื่อหมดสภาพการใช้งานแล้วแต่โดยข้อเท็จจริงแล้วจะยังคงใช้งานได้อยู่แต่จะเสียค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษามากไม่คุ้มค่ากับงานที่ทำได้

อายุการใช้งาน (SERVICE LIFE) หมายถึง ระยะเวลาการใช้งานของเครื่องจักรที่จะให้ผลงานออกมามากกว่าค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา

ความสัมพันธ์ของค่าเสื่อมราคากับค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแสดงได้ ดังนี้

                     ค่าเสื่อมราคา = ราคาทรัพย์สิน (CAPITAL COST) – ราคาเมื่อหมดสภาพ (SALVAGE VALUE)


วิธีการที่ใช้คิดค่าเสื่อมราคา
มีอยู่หลายวิธีแล้วแต่ผู้วางแผนหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าจะเลือกใช้แบบใด แต่ที่ใช้กันส่วนมาก ได้แก่

ก.      วิธี STRAIGHT LINE

ข.      วิธี DECLINING BALANCE

ค.      วิธี PRODUCTION OR USE

ง.       วิธี SUM OF THE YEARS’ DIGIT

  วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบ STRAIGHT LINE  นิยมใช้กันมาก วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้คิดค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรที่มีการใช้งานอยู่ตลอดเวลา เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะง่าย
ในการคำนวณ โดยยึดหลักการว่า มูลค่าจะลดลงเท่ากันทุกๆ ปี ซึ่งการคิดแบบนี้ทำให้การวางแผนการเงินเป็นไปได้โดยง่าย แต่ผิดข้อเท็จจริง โดยข้อเท็จจริงแล้วค่าเสื่อมราคาจะลดลง
เร็วในปีแรกและจะคงที่ในปีท้ายๆ การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีนี้ไม่ได้นำอัตราการใช้เครื่องจักรเครื่องมือมากหรือน้อยมาพิจารณาด้วย

          สูตรที่ใช้ในการคำนวณ

             ค่าเสื่อมราคาต่อปี = (ราคาซื้อครั้งแรก – ราคาเมื่อหมดสภาพ) / อายุการใช้งาน

             ตัวอย่าง  เครื่องจักรตัวหนึ่งราคาซื้อ 150,000 อายุการใช้งาน 5 ปี หลังจากนั้นแล้วขายไปได้เงิน 50,000 อยากทราบว่าค่าเสื่อมราคาต่อปีเป็นเท่าใด 

            วิธีทำ   ค่าเสื่อมราคาต่อปี      =      (ราคาซื้อครั้งแรก – ราคาเมื่อหมดสภาพ) / อายุการใช้งาน  =      (150,000 – 50,000) / 5    =      20,000  

ตารางแสดงค่าเสื่อมราคาแบบ STRAIGHT LINE

สิ้นปีที่

ค่าเสื่อมราคาต่อปี

ราคาที่เหลืออยู่เมื่อหักค่าเสื่อมราคาออกไปแล้ว

0

1

2

3

4

5

0

20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

150,000

130,000

110,000

90,000

70,000

50,000

 

ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาของยางรถยนต์ 


            1. อายุการใช้งานของยางรถยนต์สั้นกว่าอายุการใช้งานของตัวเครื่องจักรมาก

            2. อัตราค่าเสื่อมราคาของยางจะแตกต่างจากอัตราค่าเสื่อมราคาของตัวรถ

            3. เปอร์เซ็นต่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาของยางรถยนต์จะแตกต่างกับตัวรถมาก

            4. ในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรเครื่องมือจะต้องแยกออกจากการคิดค่าเสื่อมราคาของยาง


วิธีการคิดค่าซ่อมบำรุง
เครื่องจักรเครื่องมือทุกชนิดจะต้องมีการซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้อุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือได้ใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด มีรายได้มากที่สุดตลอดอายุการใช้งาน  แต่ถ้าต้องมี
การวางแผนการซ่อมบำรุงจะต้องมีการคาดการณ์ว่าจะต้องซ่อมแซมอะไรบ้างเพื่อที่จะตั้งงบประมาณได้ถูกต้อง    

วิธีที่จะให้ได้ตัวเลขในการซ่อมบำรุงที่แน่นอนจะต้องหามาจากงานสนามโดยดูจากของจริงที่ได้มีการบันทึกเอาไว้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วทำไม่ได้ครบถ้วนด้วยเหตุผลหลายประการจึง
นิยมคิดเป็น
% แทนโดยอาศัยข้อมูลจาก RENTAL RATE ON CONSTRUCTION EQUIPMENT BY THE CANADIAN CONSTRUCTION ASSOCIATION ได้แนะนำไว้ ดังนี้

PORTABLE COMPRESSORS          83

%  

OF ANNUAL  DEPRECIATION

SELE-PROPELLED ROLLER           

120

OF ANNUAL  DEPRECIATION
HYDRAULIC LIFTING CRANE            120

%  

OF ANNUAL  DEPRECIATION
POWER SHOVELS             120

%  

OF ANNUAL  DEPRECIATION
HYDRAULIC BACKHOE 100

%  

OF ANNUAL  DEPRECIATION
TELESOOPIC BOOM EXCAVATOR 100

%  

OF ANNUAL  DEPRECIATION
TRACK-FRONT ENDLOADER 110

%  

OF ANNUAL  DEPRECIATION
RUBBER-TIRE-FRONT END LOADER 110

%  

OF ANNUAL  DEPRECIATION
MOTOR GRADER 125 % OF ANNUAL  DEPRECIATION
SELF-LOADING ELEVATING SCRAPER 110 % OF ANNUAL  DEPRECIATION
TRACTOR-DOZER 110 % OF ANNUAL  DEPRECIATION
DUMP TRUCK 130 % OF ANNUAL  DEPRECIATION

การคิดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
ถ้าต้องการตัวเลขที่ถูกแน่นอนต้องตรวจสอบในสนามหรือในภาวะการณ์ที่ทำงานจริง แต่ในทางปฏิบัติแล้วทำได้ยาก ดังนั้น จึงต้องใช้การประมาณเอาจากประสบการณ์

จากหนังสือ ESTIMATING CONSTRUCTION COST BY PEURIFOY ได้แนะนำการคิดตัวเลขค่าใช้จ่ายโดยคิดจากรายละเอียดตามที่ระบุไว้ใน SPECIFICATION หรือสมุดคู่มือประจำรถ
โดยประมาณไว้ ดังนี้

       กรณีภาวะการทำงานปกติทั่วไปที่ความดัน 29.9” ของปรอท และที่อุณหภูมิ 15° C

       เครื่องยนต์เบนซินจะใช้น้ำมัน        =      0.06 แกลลอน / 1 แรงม้า / ชั่วโมง   =      0.2271 ลิตร / 1 แรงม้า / ชั่วโมง

       เครื่องยนต์ดีเซลจะใช้น้ำมัน          =      0.04 แกลลอน / 1 แรงม้า /ชั่วโมง    =      0.1514 ลิตร / 1 แรงม้า / ชั่วโมง


การคิดค่าน้ำมันหล่อลื่น
จำนวนน้ำมันหล่อลื่นนที่ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ

     1. ขนาดของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ขนาดใหญ่จะใช้น้ำมันเครื่องมากกว่า

     2. ขนาดความจุของ CRANKCASE ของน้ำมันเครื่อง ถ้าใหญ่ก็จะใช้น้ำมันเครื่องมาก

     3. ภาวะแวดล้อมในการใช้งาน         การทำงานในบริเวณที่มีฝุ่นมากๆ ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อย

     4. ความถี่ในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยจะเสียค่าใช้จ่ายมาก

     5. การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ การบำรุงรักษาเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอหรือเครื่องไม่หลวมเครื่องจะใช้น้ำมันเครื่องน้อย

ในทางปฏิบัติทางด้าน COST PLANNING จะคิดค่าน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันเครื่องประมาณ 10% ของค่าน้ำมันเชื้อเพลิง


เงินค้ำประกันซอง (BID SECURITY)
เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมาทำสัญญาเมื่อชนะการประมูล

การยื่นซองประกวดราคาแบบเผื่อเลือก (ALTERNATIVE BID PRICE)
เป็นการยื่นซองประกวดราคามากกว่า 1 ราคาเพื่อเผื่อเลือกพร้อมกับมีเงื่อนไขต่างๆ กัน 

ลักษณะการอื่นซองประกวดราคาแบบนี้จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของโครงการหรือ
BID CONDITION ระบุไว้ว่าผู้รับเหมามีสิทธิ์ทำได้
มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิเพราะผิดเงื่อนไขการประมูล

        เหตุผลของการยื่นซองประกวดราคาแบบเผื่อเลือก  คือ

                         1. ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง SPECIFICATION ไม่ว่าจะรายการใดก็ตามก็จะมีการเปลี่ยนแปลงราคาตามไปด้วย

                         2.  เจ้าของโครงการหรือที่ปรึกษาการออกแบบต้องการให้ราคาประมูลยืดหยุ่นได้เพื่อที่จะได้มีการเจรจาต่อรองกันใน
ภายหลัง ถ้าหากว่ารายการใดมีราคาเกินงบประมาณที่ตั้งไว้หรือราคาเป็นที่น่าสงสัยหาที่มาของราคาไม่ได้

                         3.  การยื่นซองประกวดราคาแบบมีทางเลือกหรือเผื่อเลือกจะก่อให้เกิดความยุ่งยากถ้าหากว่างานนั้นๆ ผู้รับเหมาได้ให้ผู้รับเหมารายย่อยรับงานบางส่วนไปทำเพราะ
จะมีปัญหาในการคิดราคาภายหลัง เนื่องจากผู้รับเหมาหลักจะคิดค่าดำเนินการเพิ่มลงไปในราคาวัสดุนั้น ๆ ทำให้ราคาแตกต่างออกไปจากที่จ่ายจริง


การประมูลงานแบบแยกบางรายการออกไป (SEPARATE BID PRICE)
การประมูลงานบางอย่าง เจ้าของโครงการต้องการให้ผู้เข้าประมูลแยกรายการประมูลงานบางรายการออกมาแสดงให้ดูโดยละเอียดว่างานในรายการนั้นๆ ประกอบด้วยค่าอะไรบ้าง
จุดประสงค์เพื่อการตรวจสอบราคา เช่น การสร้างเขื่อนจะต้องมีการตัดไม้บริเวณน้ำท่วมออกไปเพื่อไม่ต้องการให้น้ำเน่าและเศษไม้ลอยไปกระทบตัวเขื่อน ดังนั้น ถ้างานในหมวด

SITE CLEARING บอกแต่เพียงว่าใช้เงินทั้งหมดสมมุติว่าเป็นเงิน 10 ล้านบาท เจ้าของโครงการต้องการทราบว่าเงินจำนวนนี้มีค่าอะไรบ้าง กรณีแบบนี้จำเป็นที่ผู้เข้าประมูลต้องแสดง
รายละเอียดให้ดูจนเป็นที่พอใจ

เงินเพิ่มพิเศษ (ALLOWANCES)
หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ยื่นซองประกวดราคาได้บวกเพิ่มเข้าไปในราคาประมูล( BID PRICE )โดยความยินยอมของเจ้าของโครงการหรือที่ปรึกษาของเจ้าของโครงการ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
สำหรับงานบางอย่างที่ไม่สามารถให้รายละเอียดได้ในขณะยื่นซองประกวดราคา ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าขณะนั้นยังไม่มีใครทราบว่าราคาควรเป็นเท่าใดแน่ต้องรอให้ลงมือก่อสร้างก่อนจึง
จะทราบ เช่นการ
GROUT ฐานรากได้ตัวเขื่อน หรือ การขุดลอกร่องแกนเขื่อน เป็นต้น  งานส่วนใหญ่มักจะเป็นงานก็เกี่ยวข้องกับ SUBSTRUCTURE

วิธีการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษจะรุบุเอาไว้ในสัญญาการก่อสร้างว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร หรือ มีเงื่อนไขอย่างไร

ในการถอดแบบประมาณราคา เมื่อผู้ประมาณราคาอ่าน
BID DOCUMENT พบว่าตอนใดก็ตามที่พูดถึงเงินเพิ่มพิเศษก็จะต้องหมายเหตุเอาไว้ให้เห็นเดนชัดเพื่อจะได้ให้ความสนใจเป็น
พิเศษและจะได้ไม่ลืม  ส่วนใหญ่แล้วเงินเพิ่มพิเศษนี้ เจ้าของโครงการมักจะกำหนดให้ว่าเป็นตัวเลขเท่าใดโดยมีทีมที่ปรึกษาการออกแบบเป็นผู้ให้คำแนะนำ  เงินเพิ่มพิเศษจะมีอยู่หลาย
ชนิดแต่ที่พบบ่อย คือ

                        1.  CASH ALLOWANCE OR PRIME COST SUM (PC SUM)  เงินส่วนนี้มักจะไม่นำไปใช้งานในหัวข้อหรือรายการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหรือค่าดำเนินการ  เงินเพิ่ม
พิเศษมีหลายความหมาย  ก่อนใช้ต้องตกลงกันก่อนว่าจะใช้ในความหมายใด ได้แก่

                                     กหมายถึง จำนวนเงินค่าใช้จ่ายบางรายการที่เจ้าของโครงการได้ตัดงานบางส่วนให้ผู้รับเหมารายย่อย
อื่นๆไปทำก่อนที่จะมีการประมูลงานเกิดขึ้น แต่ตอนประมูลจะต้องรวมรายการนี้เข้าไปด้วยแม้ว่าผู้ยื่นซองจะไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างก็ตาม

                         หมายถึง จำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่ผู้รับเหมาหรือผู้ยื่นซองประกวดราคาจะต้องจ่ายให้กับผู้ออกแบบ ถ้า
หากว่าต้องการให้ผู้ออกแบบทำการออกแบบเพิ่มเติมจากที่ได้ออกแบบไว้ก่อนหน้านั้นใน
WORKING DRAWING

                                     คหมายถึง จำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่กันเอาไว้สำหรับงานก่อสร้างที่อาจจะต้องมีการก่อสร้างเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้มีการออกแบบเอาไว้ก่อนหน้านั้น

                         2.  CONTINGENCY SUM มีความหมายส่วนใหญ่คล้ายๆกันกับ CASH ALLOWANCE OR PORME COST SUM แต่เงินส่วนนี้สามารถที่จะนำไปใช้ในการบริหารหรือ
การจัดการหรือดำเนินการในระหว่างการก่อสร้างได้

                         3.  PROVISIONAL SUM ค่าใช้จ่ายสำหรับงานก่อสร้างบางรายการที่คาดว่าจะต้องมีแน่นอน แต่ในขณะทำการประมาณราคาไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าราคาควรเป็น
เท่าใด เช่น การขุดลอกดินเดิมออกจากใต้ฐานเขื่อน


ส่วนที่บวกเพิ่มเข้าไป (ADD-ON)
หมายถึง จำนวนเงินส่วนที่ผู้รับเหมาต้องบวกเพิ่มเติมเข้าไปโดยไม่มีแบบหรือรายการก่อสร้างใดๆมายืนยันค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ถ้าไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้วงานก็จะไม่เสร็จสมบูรณ์ เช่น
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ
SMALL TOOL เช่น ฆ้อน สิ่ว เลื่อย พลั่ว เป็นต้น

หลักทรัพย์ค้ำประกันการประมูลงาน (BID SECURITY)
ทุกครั้งที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะต้องแนบหลักทรัพย์ค้ำประกันการประมูลงาน (BID SECURITY) มาพร้อมกันด้วย  เพื่อเป็นหลักประกันว่าถ้าประมูลงานได้และไม่มาทำสัญญา
ภายในเวลาที่กำหนดจะต้องถูกริบหลักทรัพย์ค้ำประกันการประมูลงานนั้น(
BIDSECURITY) เพราะทำให้เจ้าของโครงการเสียเวลาและเสียโอกาส  

โดยปกติแล้วหลักทรัพย์ค้ำประกันการประมูลงาน(
BID SECURITY) จะอยู่ระหว่าง 5% - 20%  ของราคาที่ยื่นซองประกวดราคา( BID PRICE)  หรือตามแต่เจ้าของโครงการหรือเจ้าของ
งานกำหนด

หลักทรัพย์ค้ำประกันการประมูลงาน (BID SECURITY)  โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ

                                    ก.  BID BOND หรือ เช็คเงินสด (CASHIER  S CHECK หรือ CERTIFIED CHECK)หรือ เอกสารอื่นใดที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีโดยเสียค่า
ธรรมเนียมให้กับธนาคาร
(BANK CHARGE)  ตัวเลขที่ระบุจำนวนที่ปรากฏบน CHECK เรียกว่า FACE VALUE

                                    ข.  CONSENT OF SURETY เป็นหนังสือค้ำประกันจากสถาบันทางการเงิน (BANK GUARANTEE) ว่าธนาคารที่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ความเสียหายทุกประการที่ผู้รับเหมาตามชื่อที่ปรากฏในหนังสือเป็นผู้ก่อขึ้นหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา ตัวเลขตามที่ระบุในเอกสารแบบนี้ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้


BID MARK-UP
เป็นเงินที่เพิ่มขึ้นมาจากการประมาณราคาโดยไม่มีที่มาที่แน่นอนซึ่งอาจจะเรียกว่า เพิ่มตามความเหมาะสมก็ได้    เงินในหมวดนี้ที่รู้ตัวเลขแน่นอนคือภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนิติบุคคล
เป็นต้น

นอกเหนือจากภาษีแล้ว เงินเพิ่มพิเศษอาจจะประกอบไปด้วย

                        1.  ค่าบริหารหรือค่าดำเนินการ (OVERHEAD) รายละเอียดได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องโครงสร้างของราคาก่อสร้าง เช่น  เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง เงินชดเชย เงินสวัสดิการ  ค่า
บำรุงรักษาและซ่อมแซมงาน ค่าสำนักงานและอุปกรณ์ ค่าคมนาคมและการขนส่ง ค่าประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ โทรสาร 
ค่าการศึกษาปัญหาและการวิจัย ค่าโฆษณา ค่าเลี้ยงรับรอง ค่า
บริจาคการกุศล ค่าเช่าที่ดินและสำนักงาน ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร  อื่นๆ

            2.  กำไร ซึ่งมีข้อควรพิจารณา ดังนี้  ถ้ากำหนดกำไรสูง โอกาสได้งานทำก็น้อย ถ้ากำหนดกำไรต่ำ โอกาสได้งานทำก็สูง

                        3.  ความเสี่ยง (RISK) ความเสี่ยงของผู้เข้ายื่นซองประกวดราคา(BIDDER) ที่เสี่ยงมากที่สุด คือ การคิดราคาที่อาศัยฐานจากความสามารถของคนงานที่ทำงานได้ต่อ
หน่วยเวลาซึ่งส่วนมากจะคิดด่อวัน เพราะผลงานหรือปริมาณงานที่คนงานทำได้ต่อวันไม่แน่นอนสม่ำเสมอเหมือนเครื่องจักรเครื่องมือในโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย


ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเงินเพิ่มพิเศษ (BID MARKUP)
มีปัจจัยหลายประการที่มีผลกระทบต่อเงินเพิ่มพิเศษ เช่น ภาวะการแข่งขันทางการค้าระหว่างบริษัทรับเหมาก่อสร้างด้วยกัน ถ้าการแข่งขันสูงการเพิ่มค่าใช้จ่ายในหมวดนี้จะทำให้โอกาส
ได้งานจะลดลง  ถ้าบริษัทอยากได้งานมากเพื่อต้องการเลี้ยงคนหรือเพื่อเอาผลงานไปประมูลโครงการอื่นที่มีมูลค่าโครงการสูงๆก้อาจจะเพิ่มเงินในหมวดนี้น้อย หรือ อาจจะไม่เพิ่มเลย
ก็ได้เพื่อให้มีโอกาสชนะการประมูลมากขึ้น

เงื่อนไขของผู้ยื่นซองประกวดราคา (BID CLARIFICATION)
ในการประมูลงานที่เกี่ยวข้องกับ INFRASTUCTURE หรือ สิ่งก่อสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาประเทศไม่ว่าจะเป็น ถนน คลองส่งน้ำ เขื่อน สะพานข้ามแม่น้ำ หรือเรื่องใดๆก็ตาม
เจ้าของโครงการมักจะเขียนเอาไว้ในคำแนะนำสำหรับผู้เข้ายื่นซองประกวดราคา(
INSTRUCTION TO BIDDER ) ว่า ห้ามผู้เข้าประมูลงานรายใดก็ตามยื่นซองประกวดราคามาพร้อมกับ
เงื่อนไขการประมูลมิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น

เหตุผลประการหนึ่งที่เจ้าของโครงการต้องออกระเบียบห้ามไว้ก็คือ ถ้าเจ้าของโครงการยอมให้ผู้เข้าประมูลงาน (BIDDER) ตั้งเงื่อนไขได้  ภาระความเสี่ยงในการดำเนินโครงการ
จะกลับมาอยู่กับเจ้าของโครงการเอง ซึ่งไม่มีใครยอม  ในกรณีที่มีข้อสงสัยประการใดก็ตามควรทำบัญชีข้อสงสัยเกี่ยวกับแบบ
(QUERY LIST) เพื่อสอบถามผู้ออกแบบหรือเจ้าของ
โครงการจะดีกว่าจะได้ไม่ถูกตัดสิทธิ์ ดังนั้น ผู้เข้าประมูลงาน
(BIDDER) จะต้องตัดสินใจเองว่ายอมเสี่ยงหรือไม่


เนื่องจากการซื้อแบบเพื่อประมูลงานแต่ละครั้งต้องเสียเงินค่าแบบเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ผู้รับเหมาจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจว่าควรซื้อแบบยื่นซองประกวดราคางานใดหรือไม่ ?

1. ชนิดของโครงการ  ต้องเป็นงานที่เคยทำมาก่อนและประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงกับงานนั้นๆเป็นอย่างดี มีคนเชื่อถือ
2. ขนาดของโครงการคร่าวๆทั้งในรูปหาวัสดุหรือในรูปหามูลค่าโครงการ

เช่น บริษัทเรารับงานคอนกรีตได้ไม่เกิน 1000 m3/วัน ถ้าเกินกว่านี้ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ต้องมีบริษัทอื่นที่รับช่วงต่อ
หรือบริษัทเราสามารถรับงานที่มีมูลค่าโครงการไม่เกิน
100 ล้านบาท ถ้ามากกว่านี้ไม่สามารถหาหลักทรัพย์ค้ำประกันซอง ค้ำประกันสัญญา หรือเงินหมุนไม่เพียงพอ

3. ที่ตั้งของโครงการ

การทำงานที่อยู่ใกล้บริษัท ไม่ต้องเดินทางไกล คนงานอยู่บ้านตัวเอง เช้าขึ้นมาก็มาที่ Site ได้เลย แต่บางบริษัทรับทำงานไกลๆ ต้องปลูกที่พักคนงาน อยู่ภายในสถานที่
ก่อสร้าง เป็นต้น

4. คุณภาพและความถูกต้องสมบูรณ์แบบและรายการก่อสร้าง

แบบและรายการก่อสร้างที่ไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดปัญหาในระหว่างก่อสร้างมาก ต้องนำไปแก้ไขไป คนงานต้องหยุดคอย ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย

ถ้าแบบดี รายการก่อสร้างถูกต้องชัดเจน จะทำให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง

5. นิสัยส่วนตัวของเจ้าของโครงการ

งานเอกชนบางแห่งเจ้าของงี่เง่าและเขี้ยวอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงแบบและรายการก่อสร้างบ่อยครั้ง การเงินจ่ายไม่ตรงเวลา ไม่คล่อง ทำให้มีปัญหากับเงินทุนหมุนเวียน
อย่างมาก

งานราชการบางแห่ง ต้องเสียเงินใต้โต๊ะมากและบ่อย  มีการขอแถมจากแบบมากมายซึ่งต้องทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

6. งานที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ

                ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากเกินไปจะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทำงานได้ยากขึ้น เช่น
                การก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะที่เป็นพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

7. โอกาสในการแข่งขันจะแปรผันโดยตรงกับความยากง่ายของโครงการ

                งานที่มีปัญหามาก ราคาประมูลจะสูง จำนวนผู้เข้าแข่งขันยื่นซองประกวดราคาจะน้อย โอกาสชนะการแข่งขันจะมีมากขึ้น

8. ข้อผิดพลาดทางด้านความปลอดภัย

โครงการก่อสร้างที่ต้องการมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าปกติ เช่น ห้อง x-ray ผู้รับเหมาทั่วๆไปจะหนีไม่กล้ายื่นซองประกวดราคาและบริษัทใดประมูลงานได้ การให้ผู้
เชี่ยวชาญพิเศษมาดำเนินการก่อสร้างและควบคุมงานให้จะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าปกติ เพราะอำนาจการต่อรองไม่มี

9. ความต้องการงาน

                 ทางบริษัทไม่มีงานเข้ามาทำแต่ต้องจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างให้กับพนักงานทุกเดือน ดังนั้นบางครั้งการประมูลงานราคาทุนเพื่อให้ได้งานมาทำ ก็จำเป็นต้องทำเพราะขาดทุน
น้อยดีกว่าขาดทุนมาก

10. หลักทรัพย์ค้ำประกัน

                       ในการยื่นซองประกวดราคาทุกครั้งจะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันซอง หลักค้ำประกันสัญญา และหลักทรัพย์ค้ำประกันอื่นๆอีกบางอย่างตามแต่เจ้าของโครงการกำหนด หลักทรัพย์
ค้ำประกันเหล่านี้เป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งบริษัทรับเหมาก่อสร้างต้องงพึ่งสถาบันทางการเงินเพื่อให้ออกหนังสือรับรองเพื่อค้ำประกันให้ซึ่งผู้รับเหมาต้องเสียค่าป่วยการตามแต่จะตกลงกัน
แต่สถาบันทางการเงินเหล่านั้นจะต้องค้ำประกันในวงเงินที่จำกัด บางครั้งน้อยกว่าที่เจ้าของโครงการเรียกร้อง จึงไม่สามารถซื้อแบบและยื่นซองประกวดราคาได้


ทำไมจึงต้องมีการกำหนดแผนระยะเวลาในการประมาณราคา ?
เพื่อให้การยื่นซองประกวดราคาทันตามที่กำหนดและผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว

ทำไมผู้ประมาณราคาจึงจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องหาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการ  ยื่นซองประกวดราคาอีกครั้งก่อนยื่นซองประกวดราคาจริง ?
เพื่อมิให้มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จนถึงขั้นเป็นเหตุให้คู่ต่อสู้ยกขึ้นเป็นข้ออ้างถึงผิดระเบียบ ทำให้แพ้การประมูลได้

สิ่งที่ผู้ประมาณราคาควรตรวจสอบ ทบทวนความถูกต้อง ที่สำคัญๆก่อนยื่นซองประกวดราคามีอะไรบ้าง ?
– ลายเซ็นของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เจ้าของ ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา
- สถานที่ เวลา ที่ยื่นซอง
- รวบรวมข้อมูลสำคัญๆที่จะต้องนำมาพิจารณากันเป็นพิเศษ ถ้าชนะการประมูล


      Query List คืออะไร และผู้ประมาณราคาจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ?
Query List เป็นรายการข้อสงสัยเกี่ยวกับแบบและรายการสิ่งก่อสร้างที่ผู้ประมาณราคาตรวจสอบวะหว่างดำเนินการถอดแบบและประมาณราคาและจำเป็นต้องขอคำตอบที่ชัดเจนจากผู้
ออกแบบเพื่อจะได้ทราบจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าต้องการอะไร จะทำให้การประมาณราคาทำได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด


Team Approach ในการถอดแบบประมาณราคาหมายถึงใครและสามารถช่วยผู้ประมาณราคาได้อย่างไรบ้าง ?
Team Approach หมายถึง ผู้ช่วยค้นหา/ตอบ ข้อสงสัยในระหว่างการถอดแบบประมาณราคา ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีหน้าที่ไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ผู้ถอดแบบประมาณราคาต้องการ
โดยที่ผู้ถอดแบบประมาณราคาไม่ต้องหยุดการทำงานเพื่อไปหาข้อมูลต่างๆเหล่านั้นเอง ทำให้การถอดแบบประมาณราคาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดตอน

Site Visit มีความสำคัญ/มีประโยชน์อย่างไร ต่อการถอดแบบประมาณราคา แม้ว่ารายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้กำหนดไว้
แล้วในเอกสารการประมูลงานที่ได้รับมาเมื่อไปซื้อแบบ
?

แบบก่อสร้างและข้อมูลประกอบแบบ ทางแบบได้ทำเสร็จไว้เรียบร้อยแล้ว ก่อนลงมือก่อสร้างจริง ทำให้เมื่อเวลาจะก่อสร้างจริงข้อมูลที่ปรากฏจะไม่ตรงกับที่ระบุไว้

เอกสารการประมูลงาน เช่น การสร้างเขื่อน เมื่อตอนออกแบบเสร็จอาจจะ ไม่มีบ้านเรือนราษฎรอยู่เลย แต่พอเวลาลงมือก่อสร้างจริงจะพบว่า มีบ้านเรือนราษฎรบุกรุกผืนที่โครงการเข้า
มามาก ต้องเสียเวลาและค้าใช้จ่ายมากขึ้นในการขับไล่ รื้อถอน จ่ายค่าชดเชย เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ออกไปดูก่อนลงมือประมาณราคา จะไม่สามารถกำหนดราคาและค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้
เป็นต้น

ทำไมผู้ประมาณราคาจึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานของการวัดในการเตรียมการถอดแบบประมาณราคา ?
เพื่อให้การตรวจสอบ การคำนวณการประมาณราคาตามหลังสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว เช่น การหาปริมาณ ต้องกำหนดไปเลยว่า กว้าง x ยาว x สูง ทุกครั้งที่ใส่ตัวเลข ไม่ควรใส่สลับกัน
เป็น ยาว
x กว้าง x สูง หรือ สูง x ยาว x กว้าง เป็นต้น จะใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้แต่ต้องเหมือนกันทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการตรวจสอบพร้อมอ่านแบบควบคู่กันไป


การวัดแบบ Net in Place หมายความว่าอย่างไร ?
เป็นการวัดเผื่อหาพื้นที่ หรือ ปริมาณที่ปรากฏตามแบบจริงๆไม่มีการเผื่อเสียหายตกหล่น

      ในการถอดแบบประมาณราคาทำไมจึงห้ามใช้ระยะที่วัดได้จากแบบ ?
ระยะที่จะใช้คำนวณถอดแบบประมาณราคาต้องเป็นระยะที่มีตัวเลขบอกระยะ (dimension) กำกับเท่านั้น ห้ามใช้ตัวเลขที่ได้จากการวัดเอาเองเพราะกระดาษ อาจยืดหดได้ทำให้ตัวเลขที่
ได้ไม่แน่นอน


ทำไมผู้ประมาณราคาจึงต้องบันทึก ย่อ ทำเครื่องหมาย ข้อสังเกต ในสิ่งต่างๆที่ได้ประมาราคาเอาไว้ ?
เพื่อให้ผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะขั้นตอนสำคัญๆ ที่มักมีปัญหาในแบบ เช่น การขุดลอกโคลน เลน ออกจากก้นคลอง ไม่มีใครรู้จริงว่าจริงๆแล้วมี
ปริมาณเท่าใดกันแน่ และผู้ประมาณราคาให้ราคาไว้นั้น อาศัยข้อสมมุติใด เป็นตัวอ้างอิง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยการตรวจสอบผลงานอีกทางหนึ่ง
(Cros - Check)

ในการประมาณราคาค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง มีค่าใช้จ่ายบางอย่างซึ่งผู้ประมาณราคามักจะลืมหรือนึกไม่ถึงเสมอ อยากทราบว่ามีอะไรบ้าง ?
– การยกของลง
- การแขวนวัสดุ
- ค่าติดตั้งและถอดถอนเครื่องจักรเครื่องมือ
- ค่าตัดต่อ วัสดุ ให้เป็นรูปร่างที่ต้องการ
- ค่าโกรกไม้แบบ
- ค่าทาน้ำมันแบบ
- ค่าอุปกรณ์หยาบๆ เช่น ค้อน ตะปู พลั่ว ชะแลง ฯลฯ
- ค่าไม้แบบและอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง เร่งถอน

ในการถอดแบบประมาณราคา อยากทราบว่าต้องการค่าความละเอียดถูกต้องแค่ไหน ?
ให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด แต่ที่โต้เถียงกันมากก็คือ ต้องการทศนิยมกี่ตำแหน่ง ต้องประชุมตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนเริ่มดำเนินการถอดแบบ

ทำไมกระบวนการในการวัดปริมาณการขุดดินจึงแตกต่างจากการวัดปริมาณงานชนิดอื่นๆ ?
ปกติแล้วแบบที่ใช้การด้านวัดปริมาณงานเพื่อยื่นซองประกวดราคา (Bid Drawing, Working Drawing) มักจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการปักหมุด วางผัง การเตรียมสถานที่ก่อสร้าง
ต่ในแบบก่อสร้างมักจะบอกว่าโครงสร้างหรืออาคารที่ต้องการสุดท้ายคืออะไร มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร แต่จะไม่มีแบบรายละเอียดว่า จะขุดดิน ปักหมุด วางผังเตรียมสถานที่อย่างไร
ทั้งสิ้น

ดังนั้นผู้รับเหมาจึงต้องคาดการณ์เอาเอง ว่าค่าใช้จ่ายควรเป็นเท่าใด ซึ่งจะต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์มากๆมาประมาณราคาซึ่งถ้าสิ่งใดไม่ชัดเจน หรือมีข้อสงสัยจะมีการเพิ่มราคาเผื่อ
ความเสียงเหล่านั้นมากขึ้น ทำให้ราคาประมูลงานในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ทำไมการออกไปตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างจริงก่อนลงมือประมาณราคา จึงจำเป็นสำหรับผู้ทำหน้าที่ประมาณราคา ?
เพราะสภาพแวดล้อมบริเวณก่อสร้างจะมีผลต่อราคาค่าก่อสร้าง ทำตัวโครงสร้างมากเนื่องจากจะไม่มีรายละเอียดในแบบ เช่น สภาพแวดล้อมของสถานที่ก่อสร้าง ทางเข้าสถานที่
ก่อสร้าง ถนน
-สะพาน ส่งหรือการขนส่งวัสดุและอุปกรณ์ ข้อมูลสภาพดิน ฐานรากของอาคารเดิม เป็นต้น ถ้าผู้ประมาณราคาไม่ออกไปดูของจริงจะทำให้การประมาณค่าใช้จ่ายผิดพลาด
ได้มาก เพราะต้องใช้ราคาที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการคาดการณ์เข้าบวก ทำให้ราคาสูง โอกาสได้งานน้อยลง

จุดประสงค์ของการทำรายงานเกี่ยวกับสภาพดินเดิม (Soil Report at Site) คืออะไร และจะช่วยผู้ประมาณราคาได้อย่างไร ?
ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างฐานราก การขุดดินปริมาณน้ำในดิน ระดับน้ำใต้ดิน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ทราบว่าจะต้องสร้างโครงสร้างชั่วคราวที่ไหนและอย่างไรและเท่าใด

       สถานะของดินที่ผู้ประมาณราคาต้องเข้าไปเกี่ยวข้องมีอะไรบ้างและมีผลต่อการประมาณราคางานดินอย่างไร ?
Bank Volume
เป็นปริมาตรของดินที่อยู่ตามธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดไปแบกขน เช่น การขุด ถม บดอัด เป็นต้น มีผลต่อการประมาณราคาคือ ทำให้รู้ว่าจะต้องใช้พื้นที่และความลึกเท่าใดจึงจะทำให้ได้
ปริมาณดินที่ต้องการ จากนั้นจึงสามารถกำหนดราคาได้จึงต้องซื้อหรือเช่าพื้นที่สำหรับทำบ่อยืมเป็นจำนวนเงินเท่าใด

Loose Volume
เป็นปริมาตรของดินที่มีการขุดขึ้นมาจากดินเดิมตามธรรมชาติ เมื่อขุดขึ้นมาแล้ว ปริมาตรของดินจะฟูขึ้นมากกว่าปริมาตรที่อยู่ตามธรรมชาติ ปริมาตรของดินที่อยู่ในสภาวะ Loose จะ
มากกว่าปริมาตรจากดินที่อยู่ในสภาวะ
Bank เสมอ ส่วนจะมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับดินแต่ละชนิด

สำหรับดินเหนียวโดยทั่วไป ปริมาตรดินเดิมเมื่ออยู่ในสภาพ
Bank มีประโยชน์ต่อการประมาณราคา คือ จะทำให้ทราบว่าปริมาตรหลังจากขุดขึ้นมาแล้วมีปริมาตรเท่าใดต้องใช้รถขุด รถ
ตักและรถขน รถเกลี่ยดิน เป็นจำนวนเท่าใด ใช้ระยะเวลาทำงานกี่วัน

Compacted Volume
เป็นปริมาตรของดินที่ถูกบดอัดแล้ว ปริมาตรของดินในสภาวะนี้จะน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับดินในสภาวะ Bank และ Loose.

มีประโยชน์ในการประมาณราคา คือ จะทำให้ทราบว่าดินแต่ละชนิดเมื่อถูกได้รับการบดอัดแล้วปริมาตรจะเหลือเท่าใด ต้องใช้ดินปริมาตรทั้งหมดเท่าใด ราคาเท่าใด ต้องใช้เครื่องจักรบด
อัดและเครื่องจักรสนับสนุนการทำงานชนิดใดบ้าง จำนวนเท่าใด ใช้เวลาทำงานทั้งหมดกี่วัน เป็นต้น

ตัวอย่างปริมาตรดินทั้ง 3 ชนิด

ถ้าดินเหนียวมีปริมาตรเดิมตามธรรมชาติ (Bank Volume, BCM หรือ Bank Volume cubic meters) จำนวน 1 เมตร เมื่อดินนี้อยู่ในสภาพloose (LCM) จะมีปริมาตรประมาณ 1.30 ลบ..
และถ้าบดอัดให้แน่น (Compact , CCM) จะเหลือปริมาตรหลังบดอัดแล้ว 0.90 ลบ.. เป็นต้น


ผู้ประมาณราคาจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบเกี่ยวกับการขุดและถมดินอย่างไรบ้างและสำคัญอย่างไร ?
ต้องค้นหา พระราชบัญญัติขุดและถมดิน และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการขุดและถมดินที่ รมวพรมสถาน (วสท.) จัดการขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามและจะได้กำหนดราคาได้ว่า
ถ้าจะต้องทำตามกฎหมายแล้วต้องกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงราคาการประมูลอย่างไรบ้าง

ทำไมจึงต้องแยกตารางการประมาณราคางานดินต่างหากจากตารางประมาณราคาอื่นๆ ?
เพราะการขุดดินแต่ละชนิดแต่ละอย่างจะใช้เครื่องจักรเครื่องมือต่างกัน ราคาต่อหน่วยจะไม่เท่ากัน เช่น การขุดดินเผื่อตัดหัวเข็มออกให้ได้ระดับที่ต้องการสามารถใช้แรงคน และพลั่ว
หรือเครื่องมือขนาดเล็กได้ แตกต่างจากการขุดดินร่องแกนเขื่อน ต้องใช้เครื่องจักรเครื่องมือขนาดใหญ่มาก เช่น
Back hoe, Drag Line เป็นต้นซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายมาก

ก่อนที่จะคำนวณปริมาตรของดินตัด ดินถม โดยวิธี Grid Method จะต้องดำเนินการอย่างไรก่อน ?
ต้องหาค่าระดับของผืนดินเดิมตามธรรมชาติทุกๆหมุด (Grid) ก่อนและทราบระดับสุดท้ายที่ต้องการตามแบบด้วยจากนั้นจึงจะคำนวณได้ว่า ปริมาณที่ต้องตัดดินออก หรือถมเพิ่มมี
ปริมาตรหรือความลึกเท่าใดเผื่อให้ได้สิ่งก่อสร้างที่ต้องการ

      การคำนวณปริมาตรของดินตัด (Cut) และ ดินถม (Pill) โดยวิธี Grid Method และ Section Method มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง ?
ความละเอียดถูกต้องของวิธี Section Method จะขึ้นอยู่กับการเขียนรูป Section หรือหน้าตัดซึ่งจะเขียนในสำนักงานซึ่งจะเสียเวลาในการเขียนรูปและการคำนวณ มาพอสมควรถ้า
ทำการคำนวณด้วยมือ

      สำหรับวิธี Grid Method เป็นการคำนวณโดยอาศัยค่าระดับความสูง และความลึกที่ต้องการตัด (Cut) หรือถม (Pill) ที่แต่ละหมุด ซึ่งจะทำให้การคำนวณมีความละเอียดถูกต้องมากขึ้น


มีงานที่เกี่ยวข้องกับการตอกเข็มชนิดใดบ้างที่ผู้รับเหมาหลัก (Man Contractor, General Contractor) จะต้องดำเนินการเอง แม้ว่าจะมีผู้รับเหมาย่อยมาช่วยก็ตาม ?
1. การให้แนวหัวเข็ม (lay-out)
2. การตัดหัวเข็มเผื่อให้ได้ระดับที่ต้องการ
3. การเคลื่อนย้ายวัสดุที่เหลือใช้ (Excess Material) จากการตอกเข็ม เช่น ดินที่ขุดขึ้นมา หัวเข็มที่ตัดแล้ว เศษวัสดุอื่นๆ เป็นต้น

ทำไมผู้ประมาณราคางานไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับบ้านพักอาศัยจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดและวิธีการปฏิบัติจริงๆ
เพราะผู้รับเหมามักไม่ค่อยใส่ใจเกี่ยวกับมาตรฐานของไม้และวิธีการปฏิบัติ โดยอ้างว่าซื้อไม้มาจากร้านซึ่งมีคุณภาพเหมือนๆกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวงกบหรือกรอบประตูหน้าต่าง
 มักจะแตกหรือหดตัวหลังจากติดตั้งแล้วทำให้เกิดช่องว่างตรงรอยต่อระหว่างคอนกรีตกับไม้อยู่เสมอ

      ความเสี่ยงของผู้รับเหมาคืออะไร และเกี่ยวพันกับสัญญาการก่อสร้างที่ใช้อยู่อย่างไร
ความเสี่ยงของผู้รับเหมา คือ การที่ราคาค่าก่อสร้างจริงเกินราคาที่ได้ประมาณเอาไว้

ถ้าสัญญาการก่อสร้างเป็นแบบ
LUMP SUM เจ้าของโครงการจะจ่ายเงินไม่เกินที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคา นั่นคือ ผู้รับเหมาจะเรียกเงินเพิ่มไม่ได้อีก

ถ้าสัญญาการก่อสร้างเป็นแบบ  COST PLUS เจ้าของโครงการจะจ่ายเงินส่วนที่เกินจากราคาค่าก่อสร้างจริงให้ตามแต่จะตกลงกัน


ให้ระบุเหตุผลที่ว่า ทำไมราคาค่าก่อสร้างจริงอาจจะมีราคาสูงกว่าราคาที่ประมาณเอาไว้ในการก่อสร้างตามสัญญาแบบเหมารวมหรือ LUMP SUM
ปริมาณงานที่ได้จากการถอดแบบโดยละเอียดต่ำเกินไป  หรือ งานที่ทำจริงไม่ตรงกับงานที่คาดการณ์เอาไว้ หรือ ผู้รับเหมาช่วงหรือผู้ส่งของไม่ทำตามสัญญาที่ได้มีการตกลงกันเอาไว้

ทำไมการกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานและอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือโดยละเอียด จึงมีความสำคัญสำหรับโครงการบางโครงการเป็นอย่างยิ่ง
เพราะว่าการหาอัตราค่าจ้างแรงงานและอัตราค่าเช่าอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือหาได้ยากและตัวเลขที่ได้ก็แตกต่างกันแต่ละบริษัท ทำให้ราคาประมูลงานแตกต่างกันด้วยโดยเฉพาะใน
หมวดเครื่องจักรเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ส่วนค่าแรงงานจะไม่แตกต่างกันมากนักยกเว้นแต่บางบริษัทที่จ้างค่าแรงงานสูง เพื่อจูงใจไม่ให้คนงานย้ายบริษัท

ในการเช่าเครื่องจักรเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการก่อสร้างมีข้อที่ควรพิจารณาอะไรบ้าง
อายุและสภาพของเครื่องจักรเครื่องมือที่เช่า
ค่าเช่ารวมค่าคนขับด้วยหรือไม่
ถ้าต้องการเช่าในระยะยาว ค่าเช่ารวมค่าบำรุงรักษาด้วยหรือไม่
ค่าเช่ารวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหรือไม่
มีค่าธรรมเนียมการเช่าต่ำสุดหรือการเช่าในช่วงระยะเวลาอย่างน้อยสุดหรือไม่
ต้องเสียค่าขนส่งหรือไม่
เครื่องจักรเครื่องมือที่เช่าต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติมพิเศษหรือไม่ ราคาเท่าใด
ราคาที่เช่ารวมค่าภาษีและค่าสิทธิบัตรด้วยหรือไม่
ราคาที่เช่ารวมค่าประกันภัยด้วยหรือไม่
ถ้าผู้รับเหมาจะใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษตามกฎหมายใดๆหรือไม่ หรือจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรใดๆก่อน
หรือไม่จึงจะถูกกฎหมาย

      FACTOR ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานของคนงานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างซึ่งทำให้การประมาณราคาผิดไปจากเดิม
      สภาพของดินฟ้าอากาศที่บริเวณก่อสร้าง ฝนตก อากาศร้อน จะทำงานได้ช้า

      เส้นทางไปยังบริเวณก่อสร้าง
             
ถ้าถนนไม่ดีรับน้ำหนักได้น้อยหรือแคบ ต้องใช้รถขนาดเล็กบรรทุกได้น้อยต้องเสียเวลาในการบรรทุกมากทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
              ถ้าถนนภายในบริเวณก่อสร้างไม่ดี ต้องเสียเวลาและแรงงานในการลำเลียงวัสดุเข้าที่เก็บหรือบริเวณที่จะทำงานอีกครั้งหนึ่งทำให้เสียเวลาและแรงงานเพิ่มขึ้น

      ที่ว่างบริเวณก่อสร้างที่จะใช้เก็บของ ถ้ามีพื้นที่แคบการเก็บวัสดุสำรองจะเก็บได้น้อย เมื่อของหมดต้องเสียเวลาสั่งของ อาจจะต้องคอยหลายวัน     
 
      ลักษณะ ขนาดและความซับซ้อนของโครงการ งานที่ยากจะทำงานได้ช้า
งานที่ทำยากเมื่อทำบ่อยๆจะชำนาญ แต่ไม่มีงานยากที่ต้องทำบ่อยในงานก่อสร้างเพราะงานยากๆมักจะมี
น้อยในโครงการหนึ่ง และเมื่อเริ่มจะชำนาญงานก็จะหมดต้องไปทำงานใหม่หรือในโครงการใหม่ซึ่งก็จะลืม

      ระยะทางจากแหล่งวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือ ยิ่งไกลยิ่งเสียเวลามาก เสียค่าใช้จ่ายมากเมื่อเทียบระหว่างผลงานที่ทำได้ต่อระยะเวลาที่เสียไป

      ระดับอัตราค่าแรงและราคาวัสดุบริเวณโดยรอบสถานที่ก่อสร้าง  ถ้าค่าแรงต่ำมาก คนงานจะหนีไปอยู่ที่อื่น หรือ ถ้ายังไม่มีโอกาสไปก็จะทำงานไม่เต็มความสามารถทำให้ได้ผลงาน
น้อยลงเมื่อเทียบกับเวลาที่เสียไป

คุณภาพของผู้ควบคุมงาน ถ้ามีความรู้ดีและตั้งใจทำงาน ผลงานก็จะออกมาดี

คุณภาพของแรงงาน ถ้าเป็นแรงงานมีฝีมือและได้อัตราค่าตอบแทนสมกับความรู้ความสามารถก็อาจจะตั้งใจทำงานทำให้ได้ผลงานออกมาดี

ขวัญและกำลังใจรวมทั้งแรงจูงใจของคนงาน ถ้ามีขวัญ กำลังใจ หรือมีแรงจูงใจที่ดี ก็อาจจะเต็มใจทำงานเพื่อให้ผลงานออกมาดีแต่ต้องขึ้นอยู่กบผู้ควบคุมงานด้วยว่าสนใจงานมาก
น้อยเท่าใด

      ถ้าเครื่องจักรเครื่องมือดี มีประสิทธิภาพดี ไม่ต้องเสียหรือซ่อมบ่อย ผลงานก็จะออกมาดี

      ประสบการณ์และการผ่านงานประเภทเดียวกัน

      ถ้ามีประสบการณ์หรือผ่านงานในลักษณะเดียวกันยิ่งมากเท่าใด ก็ยิ่งเข้าใจระบบการทำงานและรู้ว่าส่วนใดของโครงการต้องดูแลเป็นพิเศษ และรู้ด้วยว่าควรดูแลอย่างไร


 ทำไมผู้ประมาณราคาจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะติดตามสถานการณ์งานก่อสร้างในส่วนที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างซ้ำๆกันของโครงการ
เพราะราคาที่ได้ประมาณเอาไว้ก่อนหน้านั้นอาจจะผิดพลาดได้ เช่น การถมดินตัวเขื่อนในงานเขื่อนดินต้องใช้ดินเป็นจำนวนมาก ปริมาณดินที่ประมาณการเอาไว้ในขั้นตอนการประมาณ
ราคาก่อนการประมูลงานอาจจะแตกต่างจากที่นำมาถมจริงก็ได้

สภาพของถนนที่จะเข้าไปยัง SITE มีผลกระทบต่อราคางานอย่างไร
คุณภาพของถนนมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในหลายๆด้าน เช่น ถนนที่เลวจะเป็นตัวกำหนดขนาดของเครื่องจักรเครื่องมือที่จะใช้ในงานซึ่งมีขนาดเล็กกว่า มีประสิทธิภาพการทำงาน
น้อยกว่าทำให้ต้องเสียเวลาในการทำงานมากกว่า เป็นต้น

ผู้ประมาณราคานำ  COST REPORT หรือราคาก่อสร้างเก่าๆไปใช้ได้อย่างไร
ประวัติของโครงการก่อสร้างที่ผ่านมาในด้านที่เกี่ยวข้องกับอัตราค่าจ้างและจำนวนแรงงานที่ใช้  ค่าอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือและจำนวนที่ต้องใช้ หรือ ฯลฯ ผู้ประมาณราคาสามารถนำ
มาใช้ในการประเมินเปรียบเทียบกับราคางานปัจจุบันของโครงการประเภทเดียวกันได้ แต่จะเชื่อทั้งหมดไม่ได้เพราะสถานการณ์แตกต่างกัน

ก่อนที่ผู้ประมาณราคาจะนำ COST REPORT ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดหรืออย่างเต็มที่ จะต้องตอบคำถาม 2 ข้อให้ได้ก่อน คำถามที่ว่านั้นคืออะไร
1.       ทำไมจึงเลือกใช้ราคาต่อหน่วยเหมือนเดิมที่ได้เคยทำมาในโครงการก่อนหน้านั้น
2.       ทำไมราคาต่อหน่วยที่คิดได้ในโครงการใหม่จึงแตกต่างจากที่เคยทำไว้ในโครงการก่อนหน้านั้น

ทำไมกระบวนการในการคิดราคาค่าวัสดุจึง ง่ายกว่า การคิดราคาค่าแรงและเครื่องจักรเครื่องมือ
เพราะราคาวัสดุค่อนข้างแน่นอนจะแตกต่างกันไม่มากในแต่ละร้านซึ่งตรวจสอบได้ง่าย  แต่การคิดค่าแรงงานและเครื่องจักรเครื่องมือ จะคิดตามประสิทธิภาพการทำงานได้ใน 1 วัน
ซึ่งในทางปฏิบัติตรวจสอบได้ยากเพราะมีตัวแปรมากมาย

การที่เจ้าของโครงการเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือเอง จะสร้างปัญหาให้กับผู้ประมาณราคาได้อย่างไรบ้าง
อาจจะได้คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานตามที่ได้ระบุไว้ใน SPECIFICATION และจะหาผู้รับผิดชอบไม่ได้

 ทำไมการคิดค่าเสื่อมราคาโดยวิธี STRAIGHT LINE จึงไม่ใช่วิธีที่น่าพอใจในการคิดค่าเสื่อมราคา
เพราะค่าเสื่อมราคาโดยการคิดแบบนี้จะเท่ากันทุกปีซึ่งไม่จริง และไม่ได้คิดว่าการใช้งานมากหรือน้อยมีผลต่อค่าเสื่อมราคารถด้วย 

     

 

 บรรณานุกรม

[ 1 ]      DAVID J. PRATT ,  FUNDAMENTALS OF CONSTRUCTION ESTIMATING, DELMAR PUBLISHERS, USA. 1995.

[ 2 ]      Akira hashimoto , Summary on Construction Cost , Land Consolidation Project , RID PRINTING , BANGKOK , 1989 .  

[ 3 ]      วินิจ ช่อวิเชียร, วิสุทธิ์  ช่อวิเชียร, การประมาณราคาก่อสร้าง , สำนักพิมพ์ ป. สัมพันธ์พาณิชย์ , กรุงเทพ, 2534.

[ 4 ]     แสวง ดาวัน, การประมาณราคางานก่อสร้าง , สำนักพิมพ์ ท. การพิมพ์ , กรุงเทพ, 2540.
[ 5 ]     วิวัฒน์  แสงเทียน, มนูญ นิจโภค, วิฑูรย์ เจียสกุล, การจัดการงานก่อสร้าง , สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,กรุงเทพ, 2527. 150 หน้า
เบญจรงค์  ศรีนุกูล, ตัวอย่างการประมาณราคาบ้านพักอาศัย คสล. สองชั้น ,  โครงการบ้านนภาวัลย์,กรุงเทพ ฯ , 2533.   
ธานินทร์  แพ่งสภา , ตัวอย่างการประมาณราคางานถมดิน , โครงการห้างสรรพสินค้า Carrefour, กรุงเทพ ฯ, 2536.
งานดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง , ฝ่ายดัชนีการพาณิชย์ , กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า , ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ,  กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ , กระทรวงพาณิชย์ . 2540
 

rscelaw@yahoo.com

ปรับปรุงแก้ไข อังคาร, 27 ธันวาคม 2548 07:15:54