สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม
รังสรรค์ วงษ์บุญ Office of Law and Engineering Consultants |
HOME | Yes I Know 'who & why' |
ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
หมวด 1 นั่งร้าน
นิยาม นั่งร้าน หมายถึง พื้นปฏิบัติงานที่ยกสูงจากพื้นดิน โดยติดตั้งไว้เป็นชั่วคราว ตงนั่งร้าน (Putlog or Bearer) หมายถึง ส่วนประกอบชนิดหนึ่งของนั่งร้าน ซึ่งรองรับกระดานพื้นปฏิบัติงาน
คานนั่งร้านและไม้รัดข้าง (Ledger
and Stringer) หมายถึง
ส่วนประกอบชนิดหนึ่งของนั่งร้านซึ่งวางทอดตามแนวราบต่อระหว่างเสา
ทำหน้าที่เป็นตัวยึดนั่งร้าน ไม้ค้ำยัน (Brace) หมายถึง ไม้ซึ่งใช้ยึดจากจุดคงที่จุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้โครงสร้างเอนผิดรูป รั้วกันตก (Guardrail) หมายถึง ราวกั้นแนวราบซึ่งยึดติดกับเสาตามแนวด้านข้างของนั่งร้านเพื่อป้องกันผู้ปฏิบัติงานตกลงไปเบื้องล่าง ขอบกันตก (Toe Board) หมายถึงขอบกั้นแนวราบซึ่งยึดตลอดแนวด้านข้างของนั่งร้าน นั่งร้านไม้ไผ่นิยาม
นั่งร้านไม้ไผ่
หมายถึง พื้นปฏิบัติงานซึ่งวางบนตง รองรับด้วยคานไม้ไผ่
ซึ่งยึดแน่นกับเสาไม้ไผ่เรียงสอง โดยมีไม้ค้ำยันทั้งแนวยาวและแนวขวาง
นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวนิยาม
นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว (Single Pole
Scaffold) หมายถึง พื้นปฏิบัติงานซึ่งรองรับด้วยตงปลายด้านนอกของตงรองรับด้วยคานซึ่งยึดติดกับเสาลูกตั้งแถวเดียว
นั่งร้านแถวเรียงสองนิยาม
นั่งร้านแถวเรียงสอง
(Independent Pole Scaffold)
หมายถึง
นั่งร้านซึ่งใช้เสาแถวเรียงสองวางบนฐานราก โดยไม่อาศัยผนัง ประกอบด้วย
เสา คานขวาง
|
หมวด 2 การตอกเข็ม
นิยามเข็มดาล (Bearing Pile) คือ เสาไม้ โลหะหรือคอนกรีต หรือทั้งสามอย่างประกอบกัน ตอกลงไปในดินเพื่อถ่าย หรือแผ่น้ำหนักลงสู่ชั้นดินหรือหินแข็งข้างใต้ แท่นแบกทาน (Bearing cap) ได้แก่ 1. แท่นแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือไม้ ที่ปิดหัวเข็มเพื่อให้เข็มทั้งกลุ่มถ่ายน้ำหนักพร้อมกัน 2. แผ่นเหล็กที่วางท่อเหล็กเพื่อจะแผ่น้ำหนักจากท่อเหล็กไปยังคอนกรีต แท่นหัวเข็ม (Driving Cap) คือ เครื่องมือที่วางบนหัวเข็มเพื่อป้องกันมิให้เข็มเกิดการเสียหายในขณะตอกเข็ม เข็มไม้ (Wood Pile) คือ เข็มที่ได้จากลำต้นไม้ โดยมีลักษณะเรียวตามธรรมชาติ เข็มคอนกรีตที่หล่อในที่ (Cast-in-Place Concrete Pile) ได้แก่ 1. แบบตอม่อ คือ เข็มคอนกรีตหล่อในที่ซึ่งมีฐานขยายใหญ่ออกเป็นดอกเห็ด 2.แบบเรียว คือ เข็มคอนกรีตหล่อในที่ซึ่งมีปลอกโลหะเรียวแหลมที่ฐาน
เข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ
( Precast Concrete pile ) คือ เข็มที่หล่อและบ่มจนได้ที่แล้วจึงนำไปตอกเข็มรูปต่างๆ
คือ เข็มที่เป็นเสาเหล็กหรือคอนกรีต
เข็มท่อเหล็ก
(Steel-Tube Pile) คือ
เข็มที่มีลักษณะเป็นท่อเหล็กหุ้มคอนกรีตอาจเป็นท่อปลายเปิดข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
(โดยปกติจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง
เข็มพืด
(Sheet Piling) คือ
การตอกแผ่นไม้ให้ต่อเนื่องกันและยึดให้ติดกันเพื่อใช้เป็นกำแพงกันดินชั่วคราว
ในปัจจุบันเริ่มหันมานิยมใช้แผ่นเหล็กมากขึ้น เข็มหนุน (Jack or Pre-Test Pile) คือ ท่อเหล็กที่ตอกลงไปใต้ตึกที่สร้างเสร็จแล้วซึ่งจะต้องเจาะแล้วตอกท่อเหล็กเป็นท่อนๆ ต่อกันแล้วเทคอนกรีตให้เต็ม เข็มปล่อง (Caisson Pile) คือ เข็มคอนกรีตที่มีท่อเหล็กหุ้มอยู่ แต่ท่อเหล็กที่หุ้มมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ที่ข้างบน แล้วค่อยๆ เล็กลงไปคล้ายกล้องโทรทรรศน์ เข็มประกอบ (Composite Pile) คือ เข็มที่แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนล่างเป็นเข็มไม้ ส่วนบนเป็นเข็มคอนกรีต เครื่องตอกเข็ม (Pile Driver) คือ เครื่องมือที่ใช้ตอกเข็ม การติดตั้งและควบคุมตรวจสอบเครื่องตอกเข็ม
·
การตอกเข็มโดยใช้แรงงานคน
สามเกลอที่ใช้จะต้องเป็นเสาแก่นไม้เนื้อแข็งมีปลอกเหล็กรัดหุ้มที่หัวตอก
ด้านมือจับจะต้องยึดมั่นกับเสา
· การตอกเข็มจะต้องมีฐานรองรับที่มั่นคง · จะต้องตรวจตราเครื่องมือทุกชิ้นทั้งก่อนและหลัง ในกรณีที่ใช้เครื่องตอกเข็มด้วยไอน้ำหรือลม จะต้องดำเนินการป้องกันอันตรายดังนี้ · ต้องโยงท่อลม หรือท่อไอน้ำกับตัวค้อนให้มั่นคง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลุด สะบัดออกจนเป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ · ท่อลมหรือท่อไอน้ำต้องติดตั้งลิ้นควบคุม และลิ้นควบคุมจะต้องอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการปฏิบัติงาน ในกรณีที่ตอกเข็มด้วยเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน จะต้องดำเนินการเพื่อความปลอดภัยดังนี้· รางรถสำหรับเคลื่อนเสาเข็มสู่เครื่องตอกเข็ม จะต้องวางได้ระดับและมีหมอนรับมั่นคง
·
การยกเสาเข็มขึ้นตั้งในรางส่งเข็ม
จะต้องยกตัว ไม่น้อยกว่า 2
ตัว หรือลวดสลิงยึดเข็มไม่น้อยกว่า 2 ตำแหน่ง
จุดที่ผูกลวดสลิงจะต้องคำนึงถึง · คลัชและกว้าน หรือส่วนหมุนได้ ที่เป็นอันตรายของเครื่องจักรจะต้องมีครอบป้องกันอันตรายหรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นอำนวยความปลอดภัยเพียงพอ
·
ลวดสลิงที่นำมาใช้จะต้องเป็นชนิด
Improved plow steel หรือ Extra improved plow
Steel และ
จะต้องมีการตรวจสอบการหล่อลื่นลวดสลิง · จะต้องสร้างโครงเหล็กป้องกันผู้ควบคุมเครื่องยนต์ ในกรณีที่ลวดสลิงขาด และมีหลังคาเพื่อป้องกันของหล่น ยกพื้นและแคร่ลอย ( Platform & Floating Rigs )
·
การตอกเข็มด้วยสามเกลอ
ถ้าเข็มยาวมาก
พื้นปฏิบัติงานอาจจะสร้างเป็นยกพื้น หรือสร้างเป็นกระเช้า ยกพื้นจะสร้างให้แข็งแรง
·
การตอกเข็มในน้ำบนแคร่ลอยหรือเรือปั้นจั่น ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมชูชีพ
นอกจากนั้นบนแคร่หรือเรือต้องมีเครื่องช่วยชีวิตเตรียมไว้ · ในกรณีที่ฝนตก พื้นแคร่ลอยหรือเรือปั้นจั่นลื่นจะต้องนำทรายมาโรยบนพื้นเพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม หลักปฏิบัติงาน· ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจะต้องได้รับการฝึกและ ได้รับคำแนะนำในการทำงานที่ตนได้รับมอบหมาย · ในการให้สัญญาณเดินเครื่องแก่ผู้ควบคุมเครื่อง ผู้ควบคุบงานจะต้องอยู่ในที่ผู้ควบคุมเครื่องมองเห็นได้ถนัด · เข็มที่เตรียมไว้สำหรับตอกจะต้องไม่กองไว้ใกล้เครื่องตอก และควรจะอยู่ระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเข็มที่ยาวที่สุด
·
ขณะที่ยกเข็มขึ้นตั้งในรางส่งเข็ม
เฉพาะผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องเท่านั้นที่จะอยู่ในบริเวณแท่นเครื่องตอกเข็ม
· ขณะตัดท่อเหล็กโดยใช้เครื่องเชื่อม ต้องสวมหน้ากากป้องรังสี ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อดวงตาและใบหน้าของผู้ปฏิบัติงาน · ขณะที่มีการตัดหัวเข็ม จะต้องหยุดการตอกเข็ม เว้นแต่จะตัดอยู่ในระยะที่ห่างมากกว่า 2 เท่าของความยาวของเข็มที่ยาวที่สุด ห้ามผู้ปฏิบัติงานกระทำสิ่งต่อไปนี้1. โหนเชือกแคร่ลอยหนึ่งไปยังแคร่ลอยหนึ่ง 2. หันปลายสายลมฉีดใส่เพื่อนร่วมงาน 3. เดินเครื่องต้นกำลังในขณะที่เพื่อนร่วมงานยังไม่พร้อม |
หมวด 3 บันไดไต่
นิยาม บันไดไต่ (Ladder) หมายถึง เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ ซึ่งโดยปกติประกอบด้วย
แม่บันไดสองข้างประกอบเข้าด้วยกัน
โดยมีชิ้นส่วนทางด้านขวางวางห่างระยะเท่าๆกัน
ซึ่งเรียกว่า ขั้นบันได
เหยียบ ไต่
หรือ ฝัง (Steps,
rungs of cleats)
บันไดไต่เดี่ยวยกย้ายได้
(Single Portable Ladder) หมายถึง
บันไดไต่ซึ่งมีช่วงเดียว แม่บันได
อาจจะขนานกันหรือกว้างขึ้นทางด้านฐานสามารถยก บันไดไต่ติดตึง (Fixed Ladder) หมายถึง บันไดไต่ซึ่งยึดติดกับสิ่งก่อสร้างอย่างถาวร
บันไดไต่เหยียบยกย้ายได้
(Portable Step Ladder) หมายถึง
บันไดไต่ซึ่งมีขั้นบันไดกว้างยึดติดกับแม่บันได
มีชิ้นส่วนอีกช่วงหนึ่งยึดติดกับบันไดด้วยบานพับ
บันไดไต่ยืดได้ (Extension Ladders) หมายถึง บันไดตั้งแต่สองช่วงขึ้นไป เลื่อนอยู่ในซองหรือรางบังคับในลักษณะที่สามารถปรับความยาวได้ตามต้องการ
บันไดถ่างหรือบันไดรูปตัวเอ
(Trestle or A Ladder)
หมายถึงบันไดไต่ซึ่งประกอบด้วยบันไดไต่เดี่ยว 2
อันมาประกอบเข้าด้วยบานพับที่ปลายบันได
บันไดถ่างยืดได้
(Extension Trestle Ladder) หมายถึง
บันไดไต่ซึ่งประกอบด้วยบันไดถ่างหรือบันไดรูปตัวเอ
มีบันไดไต่เดี่ยวซึ่งมีโครงบันไดขนานกัน
บันไดไต่ช่วง (Sectional Ladder) หมายถึง บันไดไต่ซึ่งมีช่วงนับตั้งแต่ 2 ช่วงขึ้นไป ออกแบบเพื่อให้ช่วงต่างๆ ต่อระหว่างปลายกันได้ เพื่อประกอบเป็นบันไดไต่เดี่ยว บันไดไต่ปล่อง (Manhole Ladder) หมายถึง บันไดที่ใช้เฉพาะลงไปในปล่องหรือลงที่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน บันไดไต่หลังคา (Roof Ladder) หมายถึง บันไดซึ่งติดตั้งถาวร ใช้สำหรับขึ้นดาดฟ้าตึก ต่อจากบันไดหนีไฟ หรือใช้ขึ้นหลังคา บันไดไต่ขั้นบันไดฝัง (Cleat Ladder) หมายถึง บันไดไต่ช่วงเดี่ยว มีแม่บันไดสองข้าง ขั้นบันไดเป็นแบบฝังเข้าทางด้านหน้าแม่บันได ตำหนิ (Defect) หมายถึงลักษณะหรือสภาพในเนื้อไม้ซึ่งจะทอนความแข็งแรงของไม้นั้น
ตาไม้
(Knot)
หมายถึงส่วนของไม้ตอนที่กิ่งก้านสาขายื่นออกจากลำต้นของต้นไม้
ในที่นี้จะหมายถึงตาไม้ที่ปรากฏให้เห็นที่ผิวไม้เท่านั้น
ไม้เสี้ยนขวาง (Cross-grain Wood) หมายถึงไม้ที่มีเสี้ยนไม่ขนานกับแกนหรือขอบตามยาวของท่อนไม้นั้น รอยแตกตามยาวระหว่างเส้นวงปี (Shake) หมายถึงรอยผุแยกตามรอยเสี้ยนไม้ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเส้นวงปีของไม้ รอยแตกตามยาวของเส้นวงปี (Check) หมายถึงรอยแยกตามแนวเสี้ยนไม้ ซึ่งเกิดขึ้นขวางเส้นวงปีของไม้
ถุงยางไม้
(Pitch Pocket) หมายถึง
แอ่งที่เกิดขึ้นระหว่างเส้นวงปีมียางไม้ขังอยู่มากบ้างน้อยบ้าง
ซึ่งอาจเป็นยางเหลวหรือแห้งจนแข็งแข็งตัวแล้ว ผุ (Decay) หมายถึง ความความเสียหายที่เกิดขึ้นในไม้ที่เกิดขึ้นจากเชื้อรา รอยแตกขวาง (Cross break) หมายถึง การแยกตัวของเนื้อไม้ตามแนวขวางกับเสี้ยนไม้ ความเสียหายเนื่องจากแรงกด (Compression Failure) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเนื้อไม้อันเกิดจากแรงกดตามแนวเสี้ยนไม้เกินกำลัง ทำให้เสียรูปทรงของไม้
ไม้พิกัดน้ำหนักต่ำ
(Low Density Wood) หมายถึง
ไม้ซึ่งมีน้ำหนักเบา เนื่องจากเจริญเติบโต
ซึ่งไม่รวมถึงไม้ที่มีน้ำหนักเบาตามลักษณะพันธุ์ไม้นั้นๆ
ไม้แม่บันได
·
ไม้แม่บันไดควรเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติ เหนียว เบา
อบแห้งแล้วไม่มีรอยแตก คดงอ ถ้ามีตาไม้จะต้องเป็นตาไม้เนื้อเต็มและแข็ง
ขั้นบันได · เป็นไม้เนื้อแข็งควรเป็นไม้ชนิดเดียวกับ ไม้แม่บันไดอบแห้งแล้วไม่มีรอยแตกคดงอขั้นบันไดไม่ควรห่างกันเกินกว่า 30 เซนติเมตร และ มีระยะห่างเท่ากัน บันไดไต่ยกย้ายได้ · ยาวไม่เกิน 9 เมตร ทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรงเพียงพอกับการใช้งาน ด้านฐานแม่บันไดจะต้องกว้างกว่าด้านปลาย บันไดไต่ติดตรึง
·
ทำจากไม้หรือโลหะที่มีความมั่นคงแข็งแรงที่ปลายฐาน
ถ้าเป็นโลหะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 6 มิลลิเมตร และ
ปาดมุมให้มีความมน ยึดด้วยการเชื่อมหมุดย้ำ บันไดไต่เหยียบยกย้ายได้
·
มีความยาวไม่เกิน 6 เมตร
ลักษณะกางขาหยั่งออกขั้นบันไดอยู่ในแนวระดับ มีสิ่งโยงยึดบันไดและขาหยั่งให้มั่นคง
ถ้าเป็นโลหะต้องเป็นโลหะที่เหนียว บันไดไต่ยืดได้ · บันไดไต่ควรยืดได้เต็มที่ไม่เกิน 18 เมตร มีช่วงเลื่อนได้ไม่เกิน 2 ช่วง และมีที่ล็อคเมื่อยืดบันไดออก ควรทำจากเหล็กหรือวัสดุที่มีความแข็งแรงพอกับการใช้งาน บันไดไต่ปล่อง
·
มีความยาวไม่เกิน 6 เมตรระยะห่างขั้นบันไดไม่เกิน 37.5 เซนติเมตร
แม่บันไดต้องขนานกัน
ทำจากเหล็กอ่อนหรือโลหะที่มีความแข็งแรงเพียงพอ โกร่งครอบบันได
·
บันไดไต่ติดตรึงถาวรมีความยาวมากกว่า 6 เมตร
ต้องมีโกร่งครอบบันไดที่ทำจากโลหะยึดติดมั่นคง
ความกว้างโกร่งครอบบันไดไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ชานพัก · ชานพักมีความกว้างไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และ มีราวกันตก จะต้องมีชานพักทุกๆระดับ 9 เมตร สำหรับบันไดหนีไฟและบันไดไต่ติดตรึงจะต้องมีโกร่งครอบบันได |
หมวด 4 งานขุดดินลึก
นิยาม อุปกรณ์ หมายถึง บันไดไต่ นั่งร้าน ทางเดิน ราวกั้น เข็มพืด ค้ำยัน แกงแนง อุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่างๆ อุปกรณ์ในการอำนวยความปลอดภัยแก่ลูกจ้างขุดดิน แม่แรง หมายถึง เครื่องมือใช้ระบบกล หรือ ระบบไฮดรอลิค เพื่อยก วาง หรือ เคลื่อนย้าย น้ำหนักโดยใช้แม่แรง ทางเดินยกระดับ หมายถึง ทางซึ่งปูด้วยไม้หรือเหล็กใช้เป็นทางเดินของลูกจ้างและทางขับเคลื่อนยานพาหนะ ปล่อง หมายถึง รูใหญ่ซึ่งขุดลึกลงไปในดินทำมุมไม่เกิน 45 องศากับแนวระดับ คู หมายถึง การขุดดินลึกเป็นแนวแคบ โดยปกติความลึกคูมากกว่าความกว้างคู ข้อกำหนดทั่วไป งานขุดดินลึก
งานขุดดินลึก
จัดไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดต่อประชาชน ลูกจ้าง หรือ
ทรัพย์สินในงานขุดดินลึกในงานก่อสร้างฐานรากอาคาร หรือ คู
ที่อยู่ต่ำกว่าพื้นดิน การป้องกันอันตรายต่อสาธารณะ
·
ทางเดินสาธารณะเลียบเขตก่อสร้าง จัดให้มีกำแพงปิดที่มั่นคง
และทางเข้าออกจัดให้มีคนให้สัญญาณในขณะรถเข้าออกเขตก่อสร้าง
ในเวลากลางคืน เข็มพืด ค้ำยัน แกงแนง
·
อุปกรณ์ ต่างๆต้องใช้ให้เหมาะสมกับงานและลักษณะของดิน
งานขุดดินลึกควรตอกเข็มพืด
พร้อมมีค้ำยัน แกงแนง เพื่อป้องกันดินถล่ม แม่แรง
·
ขนาดของแม่แรงต้องมีขนาดเหมาะสมกับการใช้งานโดยผู้ผลิตจะต้องกำหนดอัตราการรับน้ำหนักที่จุดต่างๆ
และมีอุปกรณ์ล็อคห้ามการเคลื่อนตัวของแม่แรง
·
ทางลาดและถนนยกระดับ มีความกว้างไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร
มีราวกันตกด้านข้างและมีความแข็งแรง
ถ้ามีความลาดชันมากจะต้องจัดให้มีคนคอยเดินด้านข้าง รถตักดิน
·
มีการป้องกันอันตรายให้แก่พนักงานรถ เช่น หลังคาเก๋ง ตะแกรง
เพื่อป้องกันวัสดุหล่นใส่จัดให้มีบันไดไต่
หรือเหยียบพร้อมทั้งราวมือจับอำนวยความปลอดภัย รถบรรทุก · พนังงานขับรถบรรทุกต้องมีความชำนาญ ตรวจสอบระบบห้ามล้อ ระบบควบคุมทิศทาง ยาง และชิ้นส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ · สิ่งของที่บรรทุกที่ยืดยาวออกไปเกินกว่าท้ายรถ เมื่อรถวิ่งในถนนสาธารณะจะต้องผูกสิ่งของด้านปลายที่ยื่นนั้น 1. ธงสีแดง ในเวลากลางวัน 2. ไฟสีแดง ในเวลากลางคืน |
หมวด 5 การรื้อถอนทำลาย
ทั่วไป
อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ เช่น นั่งร้าน บันไดไต่ ปั่นจั่น กว้าน
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรื้อถอนจะต้องติดตามตรวจสอบบำรุงรักษา และ
ขั้นตอนการรื้อถอนทำลายนี้
ขั้นตอนการทำงานต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเทศบัญญัติ และ
ประกาศกระทรวงหรือข้อบังคับใดๆ
ที่รัฐบาลได้เตรียมไว้
การเตรียมงาน
·
ก่อนการรื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง กรณีที่ ไฟไหม้ น้ำท่วม
ถูกระเบิดหรือด้วยสาเหตุอื่นๆ ต้องใช้แกงแนง ค้ำยัน
ตามข้อกำหนดของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง การป้องกันอันตรายต่อสาธารณะและบริเวณพื้นชั้นล่าง
·
การรื้อถอนทำลาย ระยะห่างระหว่างขอบฟุตบาทถึงสิ่งก่อสร้างน้อยกว่า
4.5 เมตร จะต้องสร้างหลังคาคลุมฟุตบาทตลอดแนวที่ใกล้กับสิ่งก่อสร้าง
การขนถ่ายวัสดุจากการรื้อถอนทำลาย · การทิ้งวัสดุลงมาจากที่สูงสู่พื้นต้องทำรางระบายให้มิดชิด โดยทำจากไม้หรือเหล็ก · ถ้าใช้รถเข็นล้อเดียวสำหรับขนถ่ายวัสดุลงรางระบาย จะต้องสร้างขอบกันของตกไว้ที่ปากช่องที่เปิดไว้โดยผ่านช่องเปิดที่เปิดไว้ที่พื้น
·
ถ้าใช้วิธีทิ้งวัสดุผ่านช่องเปิดที่เปิดที่พื้น
โดยไม่ใช้รางระบายวัสดุ พื้นที่ของช่องเปิดที่ชั้นต่างๆแต่ละชั้นระหว่างพื้นชั้นบนซึ่งจะต้องทำการ · ในการสกัดช่องที่พื้นของชั้นอาคารระหว่างชั้นที่รื้อถอนกับชั้นพื้นรับวัสดุ ถ้าการสกัดนั้นทำให้พื้นบางส่วนของพื้นอาคารไม่ปลอดภัยจะต้องสร้างค้ำยันไว้ด้วย บันไดถาวรผ่านทางและบันไดไต่
·
เส้นทางทุกแห่งเข้าสู่อาคารจะทำการรื้อถอนทำลายจะต้องปิดกั้นตลอดเวลา
ยกเว้นบันไดถาวรที่คนงานจำเป็นใช้ในการปฏิบัติงานและ การรื้อถอน · ห้ามปล่อยให้เศษที่รื้อจากผนังปูนหรือส่วนที่สร้างด้วยปูนร่วงหล่นลงมาพื้นอาคาร โดยที่เศษชิ้นส่วนเหล่านั้นมีน้ำหนักเกินกว่าที่น้ำหนักที่พื้นจะรับได้ · การรื้อถอนอาคารซึ่งสร้างเป็นแบบโครงสร้างเหล็ก จะต้องไม่รื้อโครงสร้างเหล็กออกจนกว่าจะได้รื้อส่วนที่เป็นปูนออกหมดแล้ว · หลังจากเสร็จงานวันหนึ่งๆ จะต้องให้ผนังซึ่งยังรื้อไม่เสร็จทรงตัวอยู่ได้โดยไม่มีอันตรายจากการพังทลายลงมา · ในการรื้อถอนปล่องควันที่สร้างด้วยอิฐหรือคอนกรีต ซึ่งไม่ปลอดภัยในการทิ้งวัสดุที่รื้อลงมา ให้ทิ้งวัสดุลงในปล่อง · จะต้องจัดหาหมวกแข็งที่มีคุณภาพให้ผู้ปฏิบัติการรื้อถอนทำลายในขณะปฏิบัติงาน แคร่รับวัสดุที่หล่นจากการรื้อถอน
·
การรื้อถอนผนังอาคารที่สูงกว่า 21 เมตร
จะต้องสร้างแคร่รับวัสดุที่หล่นลงมา การรื้อถอนตามแนวด้านนอกผนัง
เพื่อป้องกันอันตราย · จะต้องสร้างแคร่รับอยู่ด้านนอกอาคารให้ต่ำกว่าชั้นที่ทำการรื้อถอน 3 ชั้น ถ้าการรื้อถอนกระทำอยู่ชั้นที่ 3 นับจากพื้นดิน ไม่จำเป็นต้องสร้างแคร่รับวัสดุ · แคร่รับวัสดุต้องมีความแข็งแรงไม่เสื่อมสภาพ และรับน้ำหนักบรรทุกจรไม่น้อยกว่า 600 กิโลกรัมต่อตารางเมตร · จะต้องสร้างกรอบทำมุม 45 องศากับแนวราบ มีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร จะต้องไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่นตะแกรงกับแคร่รับวัสดุ · ห้ามขนถ่ายวัสดุทิ้งลงบนแคร่รับวัสดุ หรือใช้แคร่รับวัสดุเป็นที่เก็บวัสดุสิ่งของ การรื้อพื้น · การสั่งการรื้อพื้นออกจะต้องจัดไม้กระดานขนาดหนาและกว้างไม่น้อยกว่า5*25 เซนติเมตร และ มั่นคงพอที่จะรับผู้ปฏิบัติงานไว้ได้ สถานที่เก็บวัสดุ
·
การรื้อถอนพื้นจากทีที่เก็บวัสดุจะเริ่มตั้งแต่ชั้นล่างสุดแล้วทยอยรื้อถอนชั้นสูงถัดไปการรื้อถอนพื้นชั้นที่สูงถัดขึ้นไปนับจากชั้นล่างสุดจะต้องรอไปก่อน · จะต้องปิดบริเวณที่เก็บวัสดุซึ่งจะเทวัสดุลงมายกเว้นช่องที่เปิดไว้สำหรับขนถ่ายวัสดุ และจะต้องเปิดช่องที่ปิดไว้นี้ตลอดเวลาที่ไม่มีการขนถ่ายวัสดุ การรื้อถอนเหล็กโครงสร้าง
·
ในการขับหรือควบคุมรถยกและปั้นจั่น
จะต้องจัดให้มีการให้สัญญาณตามแบบมาตรฐานและผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร
จะต้องได้รับการอบรม · ห้ามผู้ปฏิบัติงานโดยสารไปกับสิ่งของที่ยกลอยตัว · ถ้ามีการยกท่อแก๊ส หรือท่อออกซิเจนโดยใช้รถยกหรือปั้นจั่น จะต้องยึดท่อแก๊สกับโครงสร้างใส่กระบะให้มั่นคงเพื่อยกขึ้นไป
·
ห้ามตัดคานออกจนกว่าจะได้ทำการป้องกันไม่ให้คาน
(ซึ่งผูกยึดด้วยสลิงจากรถยก หรือปั้นจั่น)
แกว่งซึ่งอากจระแทกผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ |
หมวด 6 ปั้นจั่น
ข้อกำหนดทั่วไป
การสร้างติดตั้งบำรุงรักษา
และใช้งานปั้นจั่นให้อยู่ในสภาพใช้งานได้และมีความปลอดภัยเพียงพอโดยไม่ให้ชิ้นส่วนใดรับแรงเกินกว่าหน่วยแรงใช้งาน สัญญาณการใช้ปั้นจั่น · สัญญาณมืออยู่กับที่ เคลื่อนที่ · สัญญาณนกหวีด ปั้นจั่นอก
ปั้นจั่นอก
ใช้สำหรับเรียงหินจะต้องวางอยู่บนไม้กระดานหนา หรือ พื้นปูนที่แข็งแรง
จะต้องครอบเฟืองขับต่างๆของกว้าน และมีห้ามล้อจะบังคับน้ำหนักสิ่งของ ปั้นจั่นเสาเดี่ยว สลิง สลิงและอุปกรณ์ยึดต่างๆ ต้องรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ มีการหล่อลื่น ไม่มีการแตกเกลียวหรือพันงอ ลวดสลิงต้องพันอยู่ในแกนกว้านอย่างสม่ำเสมอ ขอเกี่ยว ขอเกี่ยวทำมาจากเหล็กหล่อเหนียว หรือ แผ่นเหล็กเหนียวตัดเป็นรูปประกอบกัน ควรใช้ขอเกี่ยวนิรภัย (ทีมีเปิดปิดห้ามสลิง) ไม่ควรใช้ขอเกี่ยวที่ง้างออกแล้ว รอก
ควรใช้รอกเหนียวเหล็กแทนรอกเหล็กหล่อ
จะต้องตรวจสอบรอยแตกร้าวและรอยชำรุดอื่นๆ ไม่ควรใช้รอก ชำรุด แตกบิ่น
เพื่อป้องกันสลิงพลาดร่อง เชือกมะนิลา
ควรเป็นเชือกขนาดและชนิดให้เหมาะสมกับการใช้งานเชือกต้องอยู่ในสภาพดี
ห้ามอยู่ใช้รอกซึ่งมีร่องรอกเล็กกว่าเชือก ควรเก็บเชือกไม่ให้เปียกชื้น
โซ่
ตรวจสอบความยาวเชือกเดือนละครั้งโดยวัดความยาวเชือกซึ่งยังใหม่อยู่เปรียบเทียบในการวัดการตรวจสอบต่อไป
ถ้าโซ่ยืดออกเกินร้อยละ 5 |
หมวด 7 กว้านและลิฟต์
ข้อกำหนดทั่วไป
·
กว้านและลิฟต์ จะต้องมีระบบบังคับห้องโดยสารลิฟต์หรือยกพื้น
เครื่องกว้านนั้นให้จอดอยู่กับที่ในขณะคนเข้าหรือออกจากลิฟต์
และผู้ควบคุมลิฟต์จะต้อง · ปล่องลิฟต์ส่งของที่สร้างในอาคาร · พื้นลิฟต์ส่งของจะต้องสร้างอย่างแข็งแรงมั่นคงมีความปลอดภัยในการบรรทุก · ห้องลิฟต์จะต้องคลุมรอบด้านด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันอันตรายจากการตกของบุคคลและวัสดุ · เพดานห้องลิฟต์ ต้องคลุมด้วยตาข่ายหรือปูพื้นไม้เพื่อป้องกันอันตรายจากของตกหล่นมาใส่ลิฟต์ · หอลิฟต์สร้างนอกอาคาร
·
หอลิฟต์ที่สร้างอยู่ภายนอกอาคาร
จะต้องสร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรงไม่มีตำหนิ ส่วนเสามุมยึดด้วยสลักเกลียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง การให้สัญญาณมือสำหรับปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ · สัญญาณให้ยกของขึ้นได้ ให้งอข้อศอกยกขึ้นได้ฉาก ใช้นิ้วชี้ ชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม · สัญญาณให้ลดของที่ยกลง กางแขนออกเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้ ชี้ลงแล้วหมุนเป็นวงกลม · สัญญาณให้ลูกรอกเคลื่อนที่ กำมือขวาหงายขึ้นให้ระดับไหล่ นิ้วหัวแม่มือชี้ออกในทิศทางที่ต้องการให้ลูกรอกเคลื่อนที่ไปโดยโยกมือเคลื่อนที่ในแนวนอน · สัญญาณให้หยุดยกของเหยียดมือซ้ายออกข้างลำตัวระดับไหล่ ฝ่ามือคว่ำลงโดยเหยียดแขนนิ่งอยู่ในท่านี้ · สัญญาณให้สะพานปั้นจั่นเคลื่อนที่หยียดฝ่ามือขวาออกตรงไปข้างหน้าในระดับไหล่ ฝ่ามือตั้งตรงทำท่าผลักในทิศทางที่ต้องการให้สะพานเคลื่อนที่ไป · สัญญาณหยุดยกของฉุกเฉินหยียดแขนซ้ายออกไปอยู่ระดับไหล่ฝ่ามือคว่ำลงแล้วเหวี่ยง ไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
·
สัญญาณการใช้ลูกรอกคู่ชูมือซ้ายระดับหรือเหนือศีรษะงอข้อศอกเป็นมุมฉาก
(90องศา)
ชูนิ้วชี้ขึ้นมานิ้วเดียว หมายถึง ให้ใช้ลูกรอกหมายเลข1 · สัญญาณให้ยกของขึ้นช้าๆยกแขนคว่ำฝามือให้ได้ระดับคางแล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือแล้วหมุน ช้าๆ · สัญญาณเลิกใช้ปั้นจั่น ให้ผู้บังคับปั้นจั่นเหยียดแขนทั้งสองออกไปทางข้างลำตัวโดยหงายฝ่ามือทั้งสอง ข้าง การให้สัญญาณมือสำหรับปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ · สัญญาณให้ยกของขึ้นได้ ให้งอข้อศอกยกขึ้นได้ฉาก ใช้นิ้วชี้ ชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม · สัญญาณให้ลดของที่ลดลงกางแขนออกเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้ ชี้ลงแล้วหมุนเป็นวงกลม · สัญญาณใช้รอกใหญ่หรือตะขอใหญ่ กำมือยกขึ้นเหนือศีรษะ แล้วเคาะเบาๆบนศีรษะของตัวเองหลายๆครั้งแล้วใช้สัญญาณอื่นที่ต้องการ · สัญญาณใช้ตะขอเชือกเส้นเดียว (รอกช่วย) งอข้อศอกขึ้น กำมือระดับไหล่โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มือข้างหนึ่งแตะที่ข้อศอก จากนั้นใช้สัญญาณอื่นๆที่ต้องการ · สัญญาณให้ยกแขนปั้นจั่น เหยียดแขนออกสุดแขน แล้วกำมือยกหัวแม่มือขึ้น · สัญญาณให้ลดแขนปั้นจั่นลง เหยียดแขนออกสุดแขน แล้วกำมือชี้หัวแม่มือลง · สัญญาณให้ยกของขึ้นช้า ยกแขนคว่ำฝ่ามือให้ได้ระดับคาง แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือแล้วหมุนช้าๆ · สัญญาณให้ยกแขนปั้นจั่นแล้วหย่อนของที่กำลังยกลงเหยียดแขนออกสุดแขนเหยียดฝ่ามือในลักษณะตั้งยกหัวแม่มือชี้ขึ้น แล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไปมา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) · สัญญาณลดแขนปั้นจั่นลงแล้วยกของที่กำลังยกขึ้นเหยียดแขนออกสุดแขนเหยียดฝ่ามือในลักษณะตั้งยกหัวแม่มือชี้ลง แล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไปมา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) การใช้สัญญาณมือสำหรับปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ · สัญญาณให้แขนปั้นจั่นเหวี่ยงหมุนไปตามทิศทางที่ต้องการ เหยียดแขนซ้ายหรือขวา ชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการที่จะให้หมุนแขนปั้นจั่นไป · สัญญาณให้หยุดยกของเหยียดมือซ้ายออกข้างลำตัวระดับไหล่ ฝ่ามือคว่ำลง โดยเหยียดแขนนิ่งอยู่ในท่านี้ · สัญญาณหยุดของฉุกเฉิน เหยียดแขนซ้ายออกไปในระดับไหล่ ฝ่ามือคว่ำลง แล้วเหวี่ยงไป-มา ในระดับไหล่อย่างรวดเร็ว · สัญญาณให้รถปั้นจั่นเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ เหยียดฝ่ามือขวาตรงออกไปข้างหน้าในระดับไหล่ ฝ่ามือตั้งตรงทำท่าผลักในทิศทางที่ต้องการให้ปั้นจั่นเคลื่อนที่ไป · สัญญาณให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด กำมือทั้งสองข้างเข้าหากัน ให้อยู่ในระดับเอว
·
สัญญาณให้รถปั้นจั่น
( ตีนตะขาบ)
เดินหน้าหรือถอยหลังกำมือทั้งสองซ้อนกันยกขึ้นเสมอหน้าท้องแล้วหมุนมือสองข้างให้ได้จังหวะกัน
·
สัญญาณให้รถปั้นจั่น ( ตีนตะขาบ ) เคลื่อนที่ทางด้านข้าง
(โดยยึดตีนตะขาบข้างหนึ่งไว้)ให้ยึด (ล็อค) ตีนตะขาบข้างหนึ่ง
โดยกำมือขวาชูขึ้น · สัญญาณให้รถปั้นจั่นเลื่อนแขนปั้นจั่นออกสำหรับรถปั้นจั่นชนิดแขนยืด-หดได้) กำมือทั้งสองข้างหงายยกขึ้นเสมอเอวแล้วเหยียดหัวแม่มือออกทั้งสองข้าง · สัญญาณหดแขนปั้นจั่นเข้า(สำหรับรถปั้นจั่น ชนิดแขนยืด-หดได้) กำมือทั้งสองข้าง คว่ำ แล้วยกขึ้นเสมอเอวแล้วให้หัวแม่มือทั้งสองข้างชี้เข้าหากัน การใช้สัญญาณนกหวีด ยกของ เป่าสั้นสองครั้ง ลดของ เป่าสั้นสามครั้ง หยุด เป่าสั้นครั้งเดียว หยุดฉุกเฉิน เป่าสั้นติดๆกันหลายครั้ง ยกคันยก เป่าสั้นสี่ครั้ง ลดคันยก เป่าสั้นห้าครั้ง หยุดคันยก เป่าสั้นครั้งเดียว พื้นลิฟต์ส่งของ
·
พื้นลิฟต์ส่งของจะต้องสร้างอย่างแข็งแรง
มีส่วนปลอดภัยในการบรรทุกตามอัตราไม่น้อยกว่า
5
เพดานลิฟต์จะต้องคลุมด้วยตาข่าย หรือ · ลิฟต์ควรมีฝาผนังปิดกั้นด้านที่ไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าออก โดยมีขอบกันของตกและใช้ลวดตาข่ายเบอร์ 16 ขนาดช่อง 3.8 cm และ 3.8 cm หอลิฟต์ที่สร้างนอกอาคาร
·
พื้นลิฟต์ส่งของจะต้องสร้างอย่างแข็งแรง
มีส่วนปลอดภัยในการบรรทุกตามอัตราไม่น้อยกว่า
5
เพดานลิฟต์จะต้องคลุมด้วยตาข่าย หรือ ปูพื้นไม้เพื่อ · การสร้างหอลิฟต์จะต้องดำเนินการโดยผู้มีประสบการณ์ในการสร้างมาก่อนหน้าเท่านั้น · บริเวณชานขนของเข้าและออกประตูลิฟต์ จะต้องมีขนาดใหญ่พอและแข็งแรงรวมทั้งมีราวกั้น และขอบกันของตก และจะต้องทำทุกชั้นที่คนงานทำงาน · ลิฟต์ควรมีฝาผนังปิดกั้นด้านที่ไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าออก โดยมีขอบกันของตกและใช้ลวดตาข่ายเบอร์ 16 ขนาดช่อง 3.8 cm และ 3.8 cm เครื่องกว้าน
·
หมู่เฟืองเป็นส่วนประกอบเครื่องกว้าน จะต้องมีครอบป้องกันอันตราย
ลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจะต้องต่อสายดินจะต้องตรวจสอบส่วนประกอบ ลวดสลิงแขวนลิฟต์และรอก
·
ลวดสลิงแขวนลิฟต์เป็นชนิด
Plow Steel เป็นอย่างน้อย ประกอบด้วยกลุ่มเส้นลวด
6 กลุ่มแต่ละกลุ่มประกอบด้วยลวด
19 เส้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง · ขนาดของลวดสลิง ซึ่งใช้แขวนลิฟต์ขึ้นอยู่กับส่วนปลอดภัย น้ำหนักที่จะยก และ อัตราความเร็วของเครื่องกว้านและลิฟต์
· ห้ามใช้ลวดสลิงสำหรับลิฟต์โดยสารหรือส่งของที่ขาดคุณสมบัติ ดังนี้ 1. เมื่อสลิงมีเส้นลวดขาดเกินกว่า 10 % ต่อช่วงความยาว 30 เซนติเมตร 2. เนื้อลวดสลิงส่วนที่ขัดสีกับรอกสึกไปกว่า 40 % ของพื้นที่เดิม 3. โดยการตรวจดูผิวของสลิงเมื่อปรากฏรอยสนิมผุกร่อนอย่างชัดเจน มอเตอร์ไฟฟ้า · การติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ เพื่อความปลอดภัยทางด้านไฟฟ้า จะต้องใช้ตู้ควบคุมสวิทช์ปิดเปิดและตู้ฟิวส์เสมอ |
หมวด 8 การเชื่อมและการตัด
ข้อกำหนดทั่วไป
·
สำหรับข้อบัญญัตินี้
เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการเชื่อมและการตัดที่จำเป็นในการก่อสร้างรายละเอียดบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวไว้ในหมวดนี้
· จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎกระทรวง หรือข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องการเชื่อมหรือการตัดด้วยไฟฟ้าหรือแก๊ส ซึ่งได้ตราไว้
·
ผู้ที่จะทำการเชื่อม
หรือตัดจะต้องเป็นผู้ที่ชำนาญซึ่งจะสามารถทำการเชื่อมและตัดได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติช่างเชื่อมและตัด
ซึ่งได้กำหนดไว้
·
จะต้องใช้อุปกรณ์การเชื่อมและตัดด้วยแก๊สอะเซททีลีน เช่น หัวเชื่อม-ตัด
อุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดัน,
เครื่องผลิตแก๊สอะเซทีลีน ฯลฯ
·
จะต้องสร้างเครื่องเก็บแก๊สอะเซทีลีน,
ออกซิเจน ซึ่งใช้ในการเก็บหรือขนส่งให้เป็นไปตามรายละเอียดข้อกำหนดต่างๆ ของ
Interstate Commerce Commission
·
ต้องจัดให้มีหม้อดับเพลิงหรืออุปกรณ์ระงับอัคคีภัยที่ใช้ได้ผลเตรียมไว้เพื่อใช้ได้ทันท่วงทีในบริเวณที่มีการเชื่อมหรือการตัด
ถ้าบริเวณการเชื่อมหรือการตัดนั้นมี
·
อาจใช้ฉาก,
ฉนวนกั้น หรือสิ่งป้องกันอันตรายอื่นๆ ที่เหมาะสม
เพื่อป้องกันบุคคลหรือวัสดุที่ติดไฟง่าย
ซึ่งอยู่ทางเบื้องหลัง หรืออาจเป็นอันตรายจากประกายไฟเชื่อม
·
ห้ามเคาะหรือ พยายามซ้อมอุปกรณ์นิรภัย
หรือลิ้นเปิดปิดของท่อเก็บแก๊สออกซิเจน ถ้าเกิดมีการชำรุดดังกล่าว
จะต้องแจ้งให้ผู้ส่งท่อแก๊สทราบและส่งคืนทันที · เมื่อมีการเชื่อมหรือตัดโลหะ เช่น ตะกั่ว สังกะสี หรือวัสดุที่ชุบแคดเมียมหรือโลหะหล่อแบริ่ง จะต้องจัดให้มีการระบายควัน ซึ่งเกิดจากการเชื่อมดังกล่าว การเชื่อมด้วยไฟฟ้า
·
ในงานก่อสร้างอาคาร
ควรใช้แต่อุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้ามาตรฐาน โดยมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดมาตรฐาน
เช่น มาตรฐานของ
· การติดตั้งและการบำรุงรักษาวงจรไฟฟ้ากำลัง ซึ่งใช้กับอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้า จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้า เช่น National Electrical Safety Code · โครงโลหะของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า ซึ่งต่อมาจากวงจรไฟฟ้ากำลัง จะต้องต่อสายดินให้ใช้ได้ผลด้วยลวดทองแดงขนาดไม่น้อยกว่า No. 8 B( US.gage ) · การต่อสายดินทางด้านวงจรไฟเชื่อมจะต้องยึดหัวสายให้มั่นคง และจะต้องยกสายไฟเชื่อมและสายดินให้สูง เพื่อไม่ให้เกะกะทางเดินของผู้ปฏิบัติงานอื่น
·
เมื่อจำเป็นต้องต่อสายไฟเชื่อม และสายดินให้ยาวออกไป
ควรใช้หัวต่อซึ่งมีฉนวนหุ้มทั้งสองเส้น
เพื่อความสะดวกในการถอดหรือต่อเป็นครั้งคราว
·
ต้องใช้หัวจับลวดเชื่อมที่มีขนาดให้กระแสไฟผ่านได้เพียงพอ
และมีฉนวนหุ้มป้องกันไฟดูดช่างเชื่อม หรือป้องกันกระแสไฟลัดวงจร
หรือเกิดประกายไฟแลบ · เมื่อเชื่อมไฟฟ้าใกล้กับผู้ปฏิบัติงานอื่นจะต้องใช้ฉากกั้นเพื่อป้องกันรังสีหรือให้ผู้ปฏิบัติงานอื่นสวมแว่นป้องกันรังสี · ถ้าใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าซึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ในที่แคบและอับทึบ จะต้องจัดให้มีท่อระบายอากาศเสียออกสู่ด้านนอก · ช่างเชื่อมและผู้ช่วยงานเชื่อม จะต้องสวมเครื่องป้องกันอันตรายต่อดวงตา เครื่องผลิตแก๊สอะเซททีลีน · ถ้าใช้เครื่องผลิตแก๊สอะเซททีลีนจะต้องติดตั้งและใช้งานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่กล่าวไว้ใน Gas System for Welding and Cutting การเก็บและการใช้ท่อเก็บแก๊ส ก. ข้อกำหนดทั่วไป · ท่อเก็บแก๊สออกซิเจน และอะเซททีลีน ที่นำมาใช้งานจะต้องมีเครื่องหมายกำกับไว้ตามข้อบังคับของ ICC ( ออกซิเจน ICC-3A อะเซททีลีน ICC-8 ) · จะต้องเก็บท่อเก็บแก๊สออกซิเจนและอะเซททีลีน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือเทศบัญญัติที่ตราเอาไว้ ข. การเก็บ · จะต้องเก็บท่อเก็บแก๊ส ให้ห่างจากสื่อความร้อนต่างๆ · ควรเก็บท่อเก็บแก๊ส ไว้ในที่ซึ่งได้กำหนดไว้แน่นอนแล้ว โดยอยู่ห่างจากลิฟท์ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทก หรือสิ่งของตกหล่นใส่ · ต้องไม่เก็บท่อเก็บแก๊สออกซิเจนไว้ใกล้กับท่อเก็บแก๊สอะเซททีลีน หรือเชื้อเพลิงอื่นๆ เว้นแต่ได้ทำผนังทนไฟกั้นไว้ระหว่างท่อเก็บแก๊ส · ถ้าเก็บท่อเก็บแก๊สไว้กลางแจ้งต้องป้องกันไม่ให้ถูกฝนหรือแดด เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิสูงขึ้น · ท่อเก็บแก๊สที่ใช้แก๊สหมดแล้ว จะต้องปิดวาล์วไว้ ค. การขนย้าย
·
การขนย้ายท่อเก็บแก๊ส โดยใช้เครื่องยกหรือปั้นจั่น ควรมีกะบะ ลัง
ที่เหมาะสมไว้สำหรับวางท่อแก๊ส หรือใช้วิธีกลิ้งท่อเก็บแก๊สไป โ · ควรใช้รถเข็นซึ่งออกแบบไว้เฉพาะขนท่อเก็บแก๊สโดยมีโซ่รัดหรือยึดท่อเก็บแก๊สไว้แน่น
·
แม้ว่าจะใช้รถเข็นซึ่งออกแบบไว้เฉพาะขนท่อเก็บแก๊สแล้วก็ตาม
ในระหว่างเคลื่อนย้ายท่อเก็บแก๊สจะต้องถอดอุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดันออก
· จะต้องเก็บท่อเก็บแก๊สให้ห่างจากจุดปฏิบัติงานตัดหรือเชื่อม เพียงพอที่จะไม่ให้ประกายไฟ หรือเศษเชื่อมที่ยังร้อนอยู่ กระเด็นถึงท่อเก็บแก๊สได้
·
ต้องไม่วางท่อเก็บแก๊สในที่ซึ่งท่อเก็บแก๊สนั้นทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของ
วงจร ไฟฟ้าอย่าให้ท่อเก็บแก๊สแตะกับรางรถรางไฟฟ้า
(
Third rails ) หรือสายสาลี่ · ห้ามผสมแก๊สหลายชนิดเข้าด้วยกันในท่อเก็บแก๊ส, เติมแก๊สหรือใช้ท่อเก็บแก๊สผิดวัตถุประสงค์ที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ง. ท่อเก็บแก๊สอะเซททีลีนและแก๊สเชื้อเพลิงอื่นๆ
·
การเก็บท่อเก็บแก๊สจำนวนมาก โดยมีปริมาตรเกินกว่า
54 ลูกบาศก์เมตร จะต้องสร้างห้องแยกไว้เป็นส่วนๆ
หรือเก็บท่อเก็บแก๊สไว้ภายนอกอาคาร
·
ท่อเก็บแก๊สอะเซททีลีนจะต้องมีปลั๊กนิรภัยอุดไว้
ซึ่งมันสามารถหลอมตัวได้เมื่อความร้อนถึงจุดเดือดของน้ำ
ด้วยเหตุนี้ถ้าปลายทางออกของวาล์วมีน้ำแข็งอุดตัน · ต้องเก็บและใช้งานท่อเก็บแก๊สในลักษณะที่ตั้งขึ้น ห้ามวางนอน · ท่อเก็บแก๊สเชื้อเพลิงเหลว ถ้าเกิดการรั่วจะต้องเลิกใช้งานทันที และขนย้ายออกโดยวิธีดังต่อไปนี้
1.
ปิดวาล์ว แขวนป้ายเตือนอันตราย
และนำออกภายนอกอาคารโดยให้ห่างจากเปลวไฟหรือประกายไฟ
และแจ้งให้ผู้ผลิตทราบ ถ้าแก๊สรั่วที่บ่าลิ้นของวาล์ว
2.
ถ้าแก๊สรั่วที่ปลั๊กนิรภัยหรืออุปกรณ์นิรภัยอื่นๆ
ให้แขวนป้ายเตือนอันตรายให้นำท่อเก็บแก๊สนั้นออกภายนอกอาคารและอยู่ห่างจากเปลวไฟหรือประกายไฟ
3. ติดป้ายเตือนห้ามสูบบุหรี่ หรือนำสื่อที่จะทำให้เกิดการลุกไหม้เข้ามาแจ้งผู้ผลิตและปฏิบัติตามคำแนะนำวิธีขนท่อเก็บแก๊สนั้นกลับคืน
·
การเปิดวาล์วท่อเก็บแก๊สอะเซททีลีนจะต้องเปิดช้าๆ ไม่เกินหนึ่งรอบครึ่ง
การเปิดจะต้องใช้กุญแจที่ผู้ผลิตให้มาและควรจะแขวนไว้ที่ก้านวาล์วในระหว่างที่ใช้งาน
·
ด้านบนของท่อเก็บแก๊สไม่ควรใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือ ซึ่งอาจจะทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์นิรภัยต่างๆ ของท่อ
หรืออาจทำให้เกิดความไม่สะดวก จ. ท่อเก็บแก๊สออกซิเจน
·
ท่อเก็บแก๊สออกซิเจนและข้อต่อต่างๆต้องเก็บไว้ไม่ให้เปื้อนน้ำมันจารบี (จารบีเมื่อถูกออกซิเจนที่มีกำลังดันอาจจะเกิดลุกไหม้ไม่มีแรง)
ห้ามผู้ปฏิบัติงานที่มือ · ห้ามใช้กุญแจและค้อนเป็นเครื่องมือเปิดวาล์วท่อเก็บแก๊สออกซิเจน ถ้าเปิดวาล์วโดยใช้กำลังคนไม่ออก ควรแจ้งผู้ผลิตให้มาแก้ไข
·
เมื่อต่ออุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดันเข้ากับวาล์วของท่อเก็บแก๊สออกซิเจนแล้ว
การเปิดวาล์วในครั้งแรกจะต้องเปิดช้าๆ
เพื่อให้เครื่องวัดกำลังดันออกซิเจนขึ้นช้าๆ · ขณะที่ท่อเก็บแก๊สออกซิเจนกำลังใช้งาน จะต้องเปิดวาล์วเต็มที่เพื่อป้องกันแก๊สรั่วออกมาตามขอบก้านวาล์ว การต่อท่อเก็บแก๊สหลายท่อเข้า
·
ท่อรวมหรือท่อต่อแยก ซึ่งใช้สำหรับให้แก๊สออกซิเจน
หรืออะเซททีลีนจากท่อเก็บแก๊สหลายๆท่อผ่านเข้ามายังอุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดันตัวเดียวจะต้องออกแบบ
·
เมื่อต่อท่อเก็บแก๊สอะเซททีลีนเข้าด้วยกัน
จะต้องมีผนังกั้นเปลวไฟแลบระหว่างท่อ และระหว่างหัวต่อกับอุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดัน
ท่อเก็บแก๊สอะเซททีลีนที่มี · ปริมาตรรวมของแก๊สในท่อเก็บแก๊สอะเซททีลีนที่ต่อร่วมใช้กับท่อรวมชนิดยกย้ายได้ภายในอาคารจะต้องไม่เกิน 54 ลูกบาศก์เมตร อุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดัน (Regulator) · ต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดัน ซึ่งออกแบบไว้สำหรับแก๊สหนึ่งๆโดยเฉพาะ · ห้ามต่อแก๊สจากท่อเก็บแก๊สออกไปใช้งานโดยไม่ผ่านอุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดัน · ก่อนต่ออุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดัน ให้ค่อยๆเปิดวาล์วท่อเก็บแก๊สเพื่อทำความสะอาดฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกที่บ่าลิ้น แล้วปิด · สำหรับแก๊สออกซิเจน ก่อนที่จะเปิดวาล์วท่อเก็บแก๊ส จะต้องปิดอุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังดัน โดยหมุนสลักเกลียวแต่งกำลังดันทวนเข็มนาฬิกาจนกระทั่งหมุนฟรี ท่อยางและหัวต่อท่อยางใช้กับแก๊ส · ให้ใช้ท่อยางซึ่งใช้เฉพาะการเชื่อมหรือตัดโดยต่อกับหัวเชื่อม-ตัดอ๊อกซีอะเซททีลีน และไม่แนะนำให้ใช้ท่อยางชนิดหุ้มเกราะหรือหุ้มโลหะ
·
จะต้องมีเครื่องหมายบ่งไว้ที่หัวต่อท่อยาง
เพื่อป้องกันการต่อสลับกันหรือเกิดสับสน ท่อยางสำหรับออกซิเจนและอะเซททีลีนจะต้องใช้สีไม่เหมือนกัน
·
หัวต่อท่อยางจะต้องยึดมั่นคง โดยใช้อัดแน่นกับปลอกรัดท่อยาง ( Clamp )
หรือวิธีใดวิธีหนึ่งที่จะทำให้แก๊สไม่รั่ว
โดยต้องทนต่อกำลังดันได้เป็นสองเท่าของ
·
อย่าใช้ท่อยางยาวเกินไปโดยไม่จำเป็น
ถ้าจำเป็นต้องใช้ท่อยางยาวจะต้องระวังอย่าให้ท่อยางหักพับหรือพันกันยุ่งเหยิง
รวมทั้งป้องกันไม่ให้รถทับ, คนเหยียบ · ท่อยางส่วนใดที่เกิดไหม้ภายในสาย เนื่องจากไฟย้อนกลับ ( Flashback ) จะต้องงดใช้งานการใช้งานท่อยางซึ่งเกิดรอยไหม้ภายในสายแล้วนั้นเป็นวิธีที่ไม่ปลอดภัย ท่อพ่นเปลวไฟหรือหัวเชื่อม-ตัด ( Blow Pipe of Torches ) · จะต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้ท่อพ่นเปลวไฟ และหัวเชื่อมตัดโดยเคร่งครัด วิธีการที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ จะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง 1. เลือกปลายหัวเชื่อมหรือหัวผสมให้เหมาะกับงาน 2. เมื่อจะเปลี่ยนหัวตัดหัวเชื่อม จะต้องปิดแก๊สที่อุปกรณ์ควบคุมการลดความดันอย่าใช้วิธีบีบท่อยาง 3. เมื่อจะหยุดเชื่อมชั่วคราว จะต้องปิดวาล์วที่หัวเชื่อมหรือปิดวาล์วที่ท่อเก็บแก๊ส 4. อย่าใช้ไม้ขีดจุดหัวเชื่อม-ตัด ควรใช้ไฟแช็คจุดหัวเชื่อม ( Friction Lighter ) อุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่อดวงตา · ผู้ปฏิบัติงานเชื่อม ตัดด้วยออกซิเจนอะเซททีลีน จะต้องสวมแว่นซึ่งมีเลนส์กรองแสงที่เหมาะสม · ผู้ปฏิบัติงานเชื่อม-ตัดด้วยไฟฟ้า จะต้องสวมหน้ากากเชื่อมที่มีเลนส์กรองแสงที่เหมาะสม
·
ลูกจ้างซึ่งอาจได้รับอันตรายจากเศษโลหะปลิวเข้าตา
จะต้องสวมแว่นที่มีเลนส์แข็ง และมีกรอบป้องกันด้านข้าง
ซึ่งช่างเชื่อมจะต้องสวมแว่นแบบนี้ · เมื่อมีการเชื่อมไฟฟ้าภายในอาคาร ผนังของอาคารบริเวณที่ใช้ทำการเชื่อม จะต้องทาสีดำหรือสีที่ไม่สะท้อนแสงเพื่อป้องกันรังสีสะท้อน · ทางที่ดีควรจะทำการเชื่อม-ตัดภายในห้องซึ่งจัดไว้เฉพาะ ซึ่งผนังทาด้วยสีที่ไม่สะท้อนแสงโดยห้องหรือฉากดังกล่าวจะต้องให้อากาศผ่านทางด้านระดับพื้นได้ดี |
หมวด 9 การขนย้ายและการเก็บวัสดุ
ข้อกำหนดทั่วไป
·
วัสดุทุกชนิดที่บรรจุในถุง ภาชนะ หรือผูกรวมกันเป็นมัด
และวัสดุซึ่งเก็บกองเป็นแถวเป็นแนว ควรจัดเก็บโดยวิธีกองรวมกัน
มีไม้กั้นยันไว้วางทับเหลื่อมกัน
·
วัสดุที่กองเก็บไว้ในอาคารซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้างจะต้องไม่กองไว้ใกล้กว้าน
หรือช่องที่เปิดไว้ที่พื้นในระยะ 1.8
เมตร
หรือไม่ก็กองไว้ที่พื้นชั้นใดๆ · วัสดุใดที่เก็บกองอยู่บนทางสาธารณะ จะต้องกำหนดสถานที่ที่จะกองเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อสาธารณะ หรือกีดขวางการจราจร · จะต้องสร้างรั้วกั้นวัสดุ และมีธงแดงปักไว้ในระหว่างเวลากลางวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ยวดยานชน หรือทับวัสดุ · ในเวลากลางคืนจะต้องมีรั้วกั้นวัสดุ และมีไฟแดงจำนวนพอสมควรติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน · จะต้องห้ามเด็กไม่ให้ไปเล่นอยู่รอบๆ หรือบนกองวัสดุ การกองไม้ · จะต้องกองไม้ซ้อนทับกันบนไม้รองรับ เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้ที่กองนั้นสัมผัสกับพื้นดิน · ไม้รองรับจะต้องวางให้ได้ระดับ และวางอยู่บนพื้นที่มั่นคง
·
จะต้องกองซ้อนไม้ให้อยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่หล่นหรือโค่นลงมา
กองไม้กองหนึ่งควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า
4
แถว · เมื่อกองไม้สูงเกินกว่า 1.2 วางไม้พาดขวางทุกๆ ระยะ 1.2 เมตร · ไม้ซึ่งใช้งานแล้วจะต้องถอนตะปูออกให้หมดก่อนที่จะนำมากองเมตร จะต้องเก็บ เว้นแต่จะเผาทิ้งโดยไม่มีการขนย้ายต่อไป ปูนซีเมนต์และปูนขาว · จะต้องกองถุงปูนซีเมนต์และปูนขาวสูงไม่เกิน 10 ชั้นถุงปูนยกเว้นแต่การกองนั้น กองในถังหรือภาชนะซึ่งได้สร้างเพื่อการนี้โดยเฉพาะ · ถุงปูนที่วางอยู่ริมนอกจะต้องวางในลักษณะปากถุงหันเข้าหาศูนย์กลางของกอง
·
เพื่อป้องกันให้ถุงปูนที่กองนั้นหล่นออกข้างนอก ถุงปูน
5
ชั้นแรก แต่ละมุมทั้งสองด้านจะต้องวางในลักษณะขวางทับซ้อนกัน
และเริ่มกองเหลื่อมล่น · ถ้าถุงปูนแถวหลังไม่วางพิงกับผนังซึ่งมีความแข็งแรงพอที่จะรับแรงดันด้านข้าง จะต้องเว้นแนวถุงด้านข้างไว้หนึ่งแนว ทุกๆห้าชั้นถุงปูนทั้งนี้รวมทั้งถุงปูนแถวริมโดยรอบ · ในการยกถุงปูนออกจะต้องให้ถุงปูนชั้นบนอยู่ในระดับราบ และจะต้องคงลักษณะการเว้นแนวถุงด้านข้างหนึ่งแนวทุกๆห้าชั้นถุงปูนไว้ · คนงานซึ่งแบกถุงปูนซีเมนต์และปูนขาวจะต้องสวมแว่นป้องกันฝุ่นปูน รวมทั้งมีอุปกรณ์คลุมศีรษะและบ่าในการแบกปูน
·
จะต้องมีการประกาศเตือนคนงานไม่ให้สวมเสื้อผ้าซึ่งเปรอะเปื้อนด้วยฝุ่นปูนซีเมนต์จนแข็งตัวแล้ว
เสื้อผ้าสภาพดังกล่าวนี้อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง · การเก็บปูนขาวจะต้องเก็บในที่แห้งเพื่อป้องกันปฏิกิริยาการดูดซึมความชื้นอย่างรวดเร็วของปูนขาว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความร้อนสูงไฟอาจจะไหม้ได้ อิฐ · ห้ามกองอิฐไว้บนพื้นดินอ่อนหรือพื้นที่ไม่เรียบ ควรจะกองอิฐไว้บนแผ่นไม้เสมอ เว้นแต่พื้นบริเวณนั้นจะเป็นคอนกรีต · ต้องไม่กองอิฐสำรองไว้บนนั่งร้านหรือทางเดิน · ไม่กองอิฐสูงเกิน 2.10 เมตร นอกจากกองในโรงเก็บ · ถ้ากองอิฐสูงเกินกว่า 1.20 เมตร ชั้นต่อไปต้องกองเหลื่อมเข้าข้างใน 2.5ซ.ม. และรักษาระดับด้านบนของกองอิฐให้อยู่ในแนวราบ อิฐบล็อกซึ่งใช้กั้นผนัง, กั้นพื้น · ต้องกองอิฐบล็อกกันเป็นแนวบนพื้นที่มั่นคงและอยู่ในแนวราบ · การกองอิฐบล็อกต้องกองสูงไม่เกิน 1.80 เมตร · ถ้ากองอิฐบล็อกสูงเกิน 1.80 เมตร ต้องวางซ้อนให้เหลื่อมร่นเข้าข้างใน · ห้ามโยนอิฐบล็อกลงจากที่สูง ควรทิ้งลงในรางระบายวัสดุ เหล็กรูปพรรณและเหล็กเส้น · ต้องแยกเหล็กเป็นกองตามความยาวและขนาดของเหล็ก · คนงานขนเหล็กเส้นจะต้องสวมถุงมือหนัง · การดัดเหล็กเส้นต้องทำบนโต๊ะที่มั่นคงเพื่อป้องกันโต๊ะล้ม และต้องวางโต๊ะบนพื้นเรียบและไม่ลื่น · ต้องกองเหล็กรูปพรรณด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันเหล็กแต่ละชิ้นเลื่อนไถล และไม่ควรกองเหล็กลักษณะแกนอยู่ในแนวดิ่ง เหล็กแผ่นและสังกะสี · เหล็กแผ่นและสังกะสีควรจะกองในแนวราบ โดยกองสูงไม่เกิน 1.20เมตร · ควรมีแผ่นชั้นรองระหว่างแต่ละชั้น ท่อ · ท่อทุกชนิดต้องวางซ้อนในลักษณะที่ท่อต้องไม่กลิ้งออกจากกอง · ท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกินกว่า 5ซ.ม. ออกจากกองและซ้อนกันตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปต้องดึงท่ออกจากด้านปลาย ห้ามดึงออกทางด้านข้าง · ต้องจัดท่อที่มีขนาดใหญ่ไว้ด้านล่างลำดับขึ้นไปถึงท่อเล็กด้านบน และความสูงของท่อจะต้องไม่เกิน 1.50เมตร ทราย,กรวดและหินย่อยขนาดต่างๆ การทิ้งทราย กรวดหรือหินกองไว้ข้างผนังต้องกองไม่สูงจนเป็นสาเหตุให้ผนังทลาย |
หมวด 10 พื้นชั่วคราว
บันไดถาวร
ราวกั้นและขอบกันของตก
นิยาม ช่องเปิดที่พื้น (Floor Opening) คำว่า ช่องเปิดที่พื้น หมายถึงช่องเปิดว่างไว้ที่พื้น, ยกพื้นหรือถนน โดยต้องมีขนาดวัดทางด้านสั้นตั้งแต่ 30ซ.ม. ขึ้นไป รูที่พื้น (Floor Hole) คำว่า รูที่พื้น หมายถึง ช่องเปิดว่างไว้ที่พื้น, ยกพื้นหรือทางเดิน, ซึ่งมีขนาดวัดทางด้านสั้น น้อยกว่า 30 ซม. แต่มากกว่า 2.5 ซม. ช่องเปิดที่ผนัง (Wall Opening) คำว่า ซึ่งเปิดที่ผนัง หมายถึง ช่องว่างในผนังหรือฝากั้นซึ่งมีความสูงของช่องอย่างน้อย 75ซม. และความกว้างอย่างน้อย 45ซม.
ยกพื้น(Platform)
คำว่า ยกพื้น หมายถึง
พื้นปฏิบัติงานเพื่อให้บุคคล,อุปกรณ์หรือวัสดุ
ยืนหรือวางอยู่เหนือระดับพื้นดินหรือระดับพื้นอาคาร
ทางยกระดับ
(Runway)
คำว่า ทางยกระดับ
หมายถึง ทางเดินสำหรับสำหรับบุคคล
ซึ่งยกสูงจากระดับพื้นอาคารหรือพื้นดินโดยมีความยาวไม่เกิน ราวบันได (Stair Railway) คำว่า ราวบันได หมายถึงรั้วซึ่งตั้งในแนวดิ่งทอดไปตามแนวด้านข้างบันได ซึ่งเปิดโล่งอยู่ เพื่อป้องกันบุคคลตกลงไป ราวมือจับ(Handrail) คำว่า ราวมือจับ หมายถึงท่อนไม้หรือท่อที่ยึดด้วยแป้นหูช้างซึ่งติดอยู่กับผนังหรือฝาห้อง เพื่อให้บุคคลเกาะเพื่อป้องกกันหกล้ม เช่น ที่บันได หรือทางลาด
ขอบกันของตก
คำว่า
ขอบกันของตก
หมายถึงขอบกั้นในแนวดิ่งที่ระดับพื้นตามขอบด้านข้างของช่องเปิดที่พื้น,
ช่องเปิดที่ผนัง, ยกพื้น, ทางยกระดับ พื้นชั่วคราว
·
สำหรับอาคารที่จะต้องเทพื้นถาวร หรือปูไม้แบบสำหรับเทพื้น
ในขณะที่งานกำลัง ดำเนินอยู่ จะต้องประกอบอาคารสูงไม่เกิน
8 ชั้น
·
จะต้องปูพื้นไม้ชั่วคราวทุกๆชั้นซึ่งยังไม่ได้เทพื้นถาวร
หรือไม่ได้ปูไม้แบบสำหรับเทพื้นเว้นไว้แต่ช่องที่จะใช้เป็นทางสำหรับขึ้นลงบันไดไต่,
บันไดถาวร · สำหรับอาคารหรือโครงสร้างซึ่งปูพื้นไม้ จะต้องปูพื้นหยาบๆ บนแต่ละแถวของคร่าว และชั้นล่างที่กำลังก่อสร้างอยู่จะต้องปูไม้ปิดตลอด
·
สำหรับอาคารทนไฟจะต้องมีห้องบนไดหรือพื้นที่สร้างด้วยวัสดุทนไฟ
จะต้องปูไม้แบบโค้งตั้งพื้นในระหว่างที่งานกำลังดำเนินอยู่ โดยต้องปู · ไม้กระดานที่ใช้ปูพื้นต้องไม่มีตะปูหรือเสี้ยน และหนาไม่น้อยกว่า 5เซนติเมตร สำหรับคานไม่เกิน 3 เมตร · ต้องปูไม้กระดานบนฐานที่มั่นคง และแต่ละปลายต้องทับบนฐานอย่างน้อย 10 ซม. · ก่อนรื้อไม้กระดานพื้นออก ต้องเก็บวัสดุออกจากพื้นเพื่อป้องกันวัสดุตกลงไปโดนผู้อื่น · จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบสภาพพื้นชั่วคราวอยู่บ่อยๆ เพื่อแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย บันไดถาวรและช่องบันได (Stairs and Stair Wells) · ต้องติดตั้งบันไดถาวรให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพปฏิบัติงานจะอำนวย
·
เมื่องานก่อสร้างอาคารดำเนินคืบหน้าไปถึงระดับสูงเกินกว่า 18 เมตร เหนือพื้นดิน
และในทางปฏิบัติยังไม่สะดวกที่จะติดตั้งบันไดถาวร
· ขั้นบันไดและชานบันไดชั่วคราวจะต้องรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย · ต้องสร้างบันไดชั่วคราวให้มีชั้นบันไดและไม้ลูกตั้งมีความสูงเท่าๆกันในแต่ละชั้น · บันไดชั่วคราวควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร · ชานพักของบันไดชั่วคราวควรอยู่ต่ำจากปลายบันไดไม่น้อยกว่า 1เมตร · บันไดชั่วคราวซึ่งสูงในแนวดิ่งเกิน 3.65เมตร จะต้องสร้างชานพัก · ต้องจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอที่บันไดชั่วคราวทั้งหมด · ควรสร้างชานพักบริเวณที่มีประตูเปิดปิด โดยมีความกว้างอย่างน้อยเท่ากับความกว้างของประตู · ชานพักที่ไม่มีฝากั้นด้านข้างจะต้องสร้างราวกั้นมาตรฐานทางด้านที่เปิดโล่ง · เมื่อรื้อราวกั้นออกเพื่อขนย้ายวัสดุแล้วจะต้องประกอบเข้าที่เดิม · บันไดถาวรที่ออกแบบให้มีชานบันไดเป็นเหล็ก เพื่อหล่อซีเมนต์ทับต้องปูไม้ชั่วคราวเป็นขั้นบันได · ต้องสร้างราวกั้นหรือฝากั้นบันไดถาวรทันทีที่ได้ติดตั้งบันไดเสร็จ · บันไดทุกชั้นที่มีลูกตั้งเกินกว่า 4ขั้นขึ้นไป จะต้องสร้างราวกั้นหรือราวมือจับ · บันไดซึ่งกว้างไม่เกิน 1.10เมตร และมีที่ปิดกั้นทั้งสองข้าง ต้องมีราวจับมืออย่างน้อยหนึ่งราวทางด้านลง · บันไดที่กว้างไม่เกิน 1.10เมตร มีด้านข้างเปิดโล่งอยู่ข้างหนึ่ง ต้องสร้างราวบันไดทางด้านข้างที่เปิดโล่งนั้น · บันไดซึ่งกว้างไม่เกิน 1.10เมตร และมีด้านข้างเปิดโล่งทั้งสองข้าง ต้องสร้างราวบันไดทางด้านข้างแต่ละด้าน · บันไดซึ่งกว้างเกินกว่า 1.10เมตร ต้องมีราวจับทางด้านที่ปิดกั้น และราวบันไดทางด้านที่เปิดโล่ง · บันไดซึ่งกว้างตั้งแต่ 2.20เมตรขึ้นไป ต้องมีราวบันไดกลาง ราวกั้นมาตรฐาน · ราวกั้นหรือรั้วกันตกตามมาตรฐานความปลอดภัยจะต้องประกอบด้วย ราวอันบน, ราวอันกลาง และเสาลูกตั้ง · ราวกั้นมาตรฐานจะต้องมีความสูงตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า 90ซม. และไม่เกิน1.10เมตร ส่วนราวกลางจะต้องอยู่กลางระห่างพื้นหรือยกพื้นกับผิวด้านใต้ของราวบน · ราวกั้นทุกชนิดจะต้องมีลักษณะมั่นคงแข็งแรง · เสาหรือลูกตั้งจะต้องตั้งห่างกันไม่เกิน 2.40เมตร ราวไม้
·
ราวอันบนประกอบด้วยไม้ขนาดหน้าตัดอย่างน้อย 5x10
ซม. ราวอันกลางขนาดหน้าตัดอย่างน้อย
5x5 ซม. และเสาลูกตั้งขนาดหน้าตัดอย่างน้อย5x10
ซม.
·
การยึดเสากับพื้นหรือยกพื้น
รวมทั้งโครงของราวจะต้องสร้างให้ราวกั้นสามารถรับน้ำหนักได้
90กิโลกรัม ที่จะมากระทำในทิศทางใดหรือจุดใดๆ
ของราวอันบน · ห้ามนำราวไม้เนื้ออ่อนหรือโรงไม้รองถังกลมหรือหีบห่อหรือไม้รองสิ่งของอื่นๆ มาจัดทำเป็นรั้วกันตก
·
ต้องสร้างราวบันไดให้คล้ายกับราวกั้นมาตรฐาน
แต่ความสูงตามแนวดิ่งต้องไม่น้อยกว่า
85ซม.
และไม่เกิน
1เมตร
· ราวมือจับต้องประกอบด้วยวัสดุชิ้นเดียวยึดติดกับผนัง โดยวิธีวางบนแป้นรับของ แป้นหูช้าง เพื่อให้ผิวด้านข้างและด้านบนของราวมือจับเรียบไม่สะดุดมือ · ราวกั้นทั้งหมดจะต้องสร้างด้วยไม้ที่มีคุณภาพดีไม่มีตาและหน้าไม้ไสเรียบทุกด้าน ราวทำด้วยท่อ
·
เสาหรือลูกตั้ง
และราวอันบนจะต้องใช้ท่อโลหะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในอย่างน้อย
3ซม.
และราวอันกลางจะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในอย่างน้อย
2.5ซม. ราวทำด้วยโลหะต่างๆ · เสาหรือลูกตั้งและราวอันบนจะต้องใช้เหล็กฉากขนาดอย่างน้อย 38x38x4.7มม.หรือโลหะรูปอื่นๆซึ่งมีแรงดัดเทียบเท่า ระยะระหว่างเสาลูกตั้งต้องไม่เกิน 2.40เมตร · แทนที่จะใช้ราวอันกลาง อาจใช้ตะแกรงลวดขึงระหว่างราวอันบนกับขอบกันของตก โดยใช้ลวดเบอร์ 16 และขนาดช่องตะแกรง 38มม. ขอบกันของตก · ขอบกันของตกตามมาตรฐานจะต้องสูงจากแนวดิ่งอย่างน้อย 14ซม. นับจากพื้น, ยกพื้นหรือทางเดินถึงขอบบนของขอบกันของตก ช่องเปิดที่พื้นและผนัง · ทันทีที่ทำช่องเปิดว่างไว้จะต้องปูไม้กระดานปิดช่องทีว่างไว้ โดยจะต้องรับน้ำหนักซึ่งอาจจะนำมาวางตามความจำเป็นได้โดยปลอดภัย และต้องกั้นรั้วโดยรอบ - ช่องเปิดที่ผนังต้องป้องกันอันตรายถ้าขอบล่างสูงไม่เกิน 7.5 ซม. ในกรณีด้านในอาคาร - กรณีด้านนอกคิดความสูงจากระดับพื้นดินเกินกว่า 1.50 เมตรขึ้นไป พื้นซึ่งด้านข้างเปิดโล่ง, ยกพื้น และทางเดินยกระดับ · พื้นที่ด้านข้างในด้านที่เปิดโล่งไว้ ซึ่งอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 1.5เมตร จะต้องติดตั้งขอบกันของตกด้วยถ้าด้านล่างมีผู้ปฏิบัติงานหรือมีเครื่องจักรทำงานอยู่ · ในบริเวณที่ต้องขนย้ายวัสดุบ่อยอาจไม่ต้องสร้างราวกั้น · ยกพื้นซึ่งออกแบบตามข้อบัญญัติจะต้องมีรั้วกั้นมาตรฐานโดยาวกั้นนี้จะต้องมีขอบกันของตกด้วย |
หมวด 11
ความสะอาดและมีระเบียบ การเดินสายไฟ
การให้แสงสว่างชั่วคราวและห้องสุขาชั่วคราว
ความสะอาดและมีระเบียบ · ต้องรักษาความสะอาดบันได ทางเข้าออกและทางเดินไม่ให้มีวัสดุและสิ่งกีดขวางทุกชนิด · ต้องวางวัสดุให้ห่างจากริมช่องส่งของ ช่องบันได หากยังไม่ได้สร้างผนังด้านนอกก็ควรวางให้ห่างจากขอบอาคารด้านนอก · ห้ามทิ้งสิ่งของไว้ตามพื้นและบนหลังคาที่ยังมุงไม่เสร็จ เว้นแต่จะผูกไว้มั่นคงปลอดภัย · ต้องเก็บรวบรวมสลักเกลียวหรือหมุดย้ำไว้ในกล่อง · ทุกครั้งเมื่อเลิกงานจะต้องเก็บรวบรวมเครื่องมือไว้ที่แผงเครื่องมือ · ถุงบรรจุปูนขาวปูนซีเมนต์จะต้องมีสิ่งปกปิดเพื่อป้องกันการเสียหายจากความชื้น · ถ้าพบไม้มีตะปูโผล่จะต้องถอน, ตอกให้ฝังจมหรือตีพับปลายให้ฝังจมเนื้อไม้ การเดินสายไฟและการให้แสงสว่างชั่วคราว · จะต้องจัดให้มีแสงสว่างพอเพียงทั่วทั้งอาคาร โดยเฉพาะทางเดินและช่องบันได · ถ้าใช้หลอดไฟเพื่อให้แสงสว่างจะต้องใส่โป๊ะเพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน · การเดินสายไฟชั่วคราวจะต้องเดินในลักษณะที่ไม่ทำให้เกิดชำรุดได้ · การติดตั้งเครื่องมือไฟฟ้าจะต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน · ต้องระวังรักษาแผงทางเดินสายไฟและการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าชั่วคราวให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย การทิ้งขยะ · เศษไม้เศษวัสดุจะต้องเก็บรวมกองให้เรียบร้อย หรือใช้รางระบายวัสดุในการขนถ่ายขยะ · การกองวัสดุต้องไม่กองจนพื้นรับน้ำหนักเกินกำลัง · ห้ามทิ้งขยะจากด้านบนลงสู่พื้นดิน ควรใช้วิธีผูกมัดรวมแล้วหย่อนลงโดยใช้รอก · ห้ามทำลายวัสดุโดยการเผาในอาคาร ห้องสุขาชั่วคราว · ต้องติดตั้งห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะในที่ใกล้แหล่งปฏิบัติงาน · ห้องสุขาต้องมีลักษณะมิดชิด มีหลังคาป้องกันผู้ใช้เปียก รวมทั้งมีหลอดไฟเพื่อให้แสงสว่าง อีกทั้งรักษาความสะอาด · สำหรับอาคารสูงต้องจัดห้องสุขาไว้ทุก 4ชั้นอาคาร · ถ้าอาคารสูงไม่เกิน 4 ชั้นอาจสร้างห้องสุขาไว้นอกอาคารแต่ไม่ไกลจากอาคารเกิน 30 เมตร · ควรจัดให้มียาฆ่าเชื้อโรคหรือน้ำยาดับกลิ่นเพื่อให้ห้องสุขาสะอาด · การต่อท่อเข้าบ่อเกรอะบ่อซึมต้องเป็นไปตามเทศบัญญัติที่กำหนด · ควรจัดให้มีห้องน้ำ อ่างล้างมือล้างหน้าโดยไม่ไกลจากสถานที่ทำงานมากนัก · ต้องจัดให้มีน้ำดื่มที่สะอาดให้เพียงพอ รวมทั้งต้องจัดถ้วยกระดาษหรือแก้วเฉพาะคน เตาต้มน้ำ, น้ำมัน หรือหลอมตะกั่ว · ต้องไม่วางเตาต้มน้ำไว้บนพื้นไม้หรือวัสดุไหม้ไฟได้ แต่ต้องวางบนพื้นดิน ทรายหรือพื้นคอนกรีต · ห้ามใช้เตาหลอมหรือเตาต้มในที่อับทึบ · ควรต่อกำบังครอบหรือท่อซึ่งทำด้วยแผ่นโลหะออกไปยังบรรยากาศภายนอกเพื่อระบายควัน · เตาขนาดเล็กที่ยกย้ายได้ ควรนำไปใช้ในห้องที่ระบายอากาศได้สะดวกถ้าตั้งเตาเผาหรือเตาหลอมไว้ใกล้ผ้าใบ จะต้องวางให้ห่างอย่างน้อย 3เมตร สายชูชีพและเข็มขัดนิรภัย · ต้องจัดสายชูชีพให้ผู้ที่ปฏิบัติงานบนที่สูงเกินกว่า 4.5 เมตรหรือที่เห็นว่าเสี่ยงอันตราย · สายชูชีพและเข็มขัดนิรภัยจะต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้ · ให้ใช้เชือกมะนิลาเท่านั้นเป็นสายชูชีพ · ต้องคอยตรวจสอบสายชูชีพและเข็มขัดนิรภัยอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้งหลังจากมีการใช้งานติดต่อกัน · สายชูชีพต้องมีห่วงยึดไว้แข็งแรงเป็นระยะๆ โดยไม่เกิน 1.80เมตรต้องยึดสายชูชีพไว้กับที่โยงยึดที่มั่นคงแข็งแรง |
หมวด 12 การระเบิด
นิยาม
ผู้ควบคุมการระเบิด
(Blaster)
ผู้ควบคุมการระเบิดหมายถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมการระเบิด
และมีหน้าที่รับผิดชอบในการเตรียมการ โครงรถ(chassis) หมายความถึงรถทั้งคันยกเว้นตัวถังและของบรรทุก ดินขยายการระเบิด (Detonator) คำว่าดินขยายการระเบิดที่ใช้ในข้อบังคับนี้ หมายความถึง Igniters, blasting caps, electric blasting cap หรือสิ่งอื่นที่ใช้ในการจุดระเบิด คนขับรถ (Driver) หมายถึงบุคคลที่จะขับเคลื่อนรถยนต์บรรทุกหรือผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะ
วัตถุระเบิด
(Explosive) วัตถุระเบิดหมายความถึงดินปืน
และวัตถุอื่นๆ ที่ใช้ในการระเบิดรวมถึงชนวนจุดระเบิดต่างๆ
น้ำยาเคมีและส่วนผสมอื่นๆที่มี Oxidizing
สายชนวน(Fuse)
ในข้อบังคับนี้หมายความถึงสายชนวนไหม้ช้าที่ประกอบด้วยดินปืนเป็นแกนกลางหรือหุ้มด้วยด้ายถักและเทป
และอาจจะหุ้มด้วยวัสดุกันน้ำอีกทีหนึ่ง ทางหลวง(Highway) หมายความถึงถนนสาธารณะ ตรอก ซอย สวนสาธารณะ ลาน สะพาน และเชิงลาดสะพาน คลังเก็บระเบิด(Magazine) หมายถึงอาคารหรือสถานที่ๆใช้เก็บวัตถุระเบิด รถยนต์บรรทุก(Motor Trucks) คือรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังกล และได้ออกแบบไว้สำหรับบรรทุกสินค้า
ชนวนดินส่ง
(Primer) ในข้อบังคับนี้จะหมายความถึง
ปลอกบรรจุระเบิดซึ่งมีชนวนจุดระเบิดติดอยู่ด้วยมีจุดประสงค์เพื่อใส่ไว้ในหลุมเจาะ(Bore
hole) รถไฟ(Railroad) หมายถึงรถไฟต่างๆ รวมถึงรถไอน้ำ รถไฟฟ้าซึ่งเป็นพาหนะขนส่งผู้โดยสาร สิ่งของ และสินค้า ยานพาหนะ(Vehicle) หมายความและรวมถึงยานลากด้วยสัตว์ตลอดจนหาบที่ออกแบบหรือใช้สำหรับบรรทุกสินค้าและเครื่องจักร ทั่วไป · มาตรฐานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับจ้างสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยในสภาพปกติ การเก็บและการขนย้ายวัตถุระเบิด · ถ้าข้อมูลไม่ครอบคลุมไปถึงจุดใดแล้วจะหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงดังนี้ Pamphlet No.1, Standard Storage Magazine, issued by the Institute of Makers of Explosives. Pamphlet No.17, Safety in the Handling and Use of Explosive, issued by the Institute of Makers of Explosives: · วัตถุระเบิด สายชนวนต้องเก็บในคลังเก็บที่กันไฟและการสึกกร่อน · คลังเก็บควรอยู่ในรั้วที่สามารถป้องกันผู้บุกรุกได้และปิดกุญแจไว้ตลอดเวลา · ระเบิดที่เก็บในคลังต้องอยู่ห่างจากที่ชุมชนไม่น้อยกว่า 90เมตร · คลังเก็บระเบิดต้องไม่ใช้เก็บวัตถุอื่นที่ติดไฟง่าย · วัตถุระเบิดที่นำมาเก็บก่อนต้องนำมาใช้ก่อนและต้องวางระเบิดในแนวนอน · ไม่เก็บวัตถุระเบิดไว้ในที่ที่มีไฟฟ้าสถิต จะต้องเก็บในกล่องเดิมของมัน · คลังวัตถุระเบิดต้องรักษาให้สะอาด แห้ง เย็นและทาป้ายเตือนด้วยสีแดงจัด · ห้ามจุดไม้ขีดไฟในบริเวณคลังเก็บระเบิดและห้ามสูบบุหรี่ในระยะ 8เมตร · คลังเก็บระเบิดจะต้องมีสำเนาใบอนุญาตที่ออกให้โดยหน่วยงานที่มีอำนาจออก ใบอนุญาตคลังวัตถุระเบิด · ต้องไม่เอาดินขยายการระเบิดเก็บไว้ในคลังเก็บวัตถุระเบิด · สายชนวนต้องไม่นำมาใส่รวมไว้กับดินขยายการระเบิด · อย่าวางกล่องวัตถุระเบิดที่เปิดไว้ในคลังวัตถุระเบิด · การเปิดหีบห่อบรรจุวัตถุระเบิดและการยกย้ายจะต้องทำโดยผู้ที่มีความชาญเท่านั้น · กระสุนที่มีรอยGlycerine ชำรุดหรือมีรอยด่างที่ปลอกด้านนอกให้งดใช้ · ห้ามสวมรองเท้าที่ติดตะปูหรือแผ่นโลหะที่ทำให้เกิดการเสียดสีจนเกิดเปลวไฟเข้าในคลังวัตถุระเบิด · อย่าใส่เชื้อปะทุทั้งที่เป็นแบบธรรมดาและแบบจุดด้วยไฟฟ้าในกระเป่าเสื้อผ้า · อย่าพยายามนำเอาไดนาไมท์ที่แข็งเป็นน้ำแข็งมาใช้ · ถ้ามีความจำเป็นต้องหลอมละลายไดนาไมท์ก็ควรสร้างเครื่องหลอมตามแบบUnited states Bureau of mines · เมื่อใช้ดินปืนเพื่อจุดระเบิดแต่ละครั้งแล้วจะต้องปิดถังหรือภาชนะที่ใส่ดินปืนนั้นเสมอ · อาคารสำหรับเก็บสายชนวนควรจะแห้งและมีอุณหภูมิระหว่าง 7-24 องศาเซลเซียส การขนส่งวัตถุระเบิด ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามที่ต้องการรายละเอียดต่างเฉพาะเจาะจงก็ให้อ้างถึงถึงเอกสารหนังสือสองเล่มซึ่งจัดพิมพ์โดย Institute of Makers of Explosives Pamphlet No.5, Rules for Handling, Storing,Delivering and Shipping Explosives Pamphlet No. 16, the Transportation of Explosives over State Highway · กฎระเบียบต่างๆ ซึ่งได้ประกาศเป็นพระราชบัญญัตินั้นจะต้องปฏิบัติตามและเชื่อฟัง
·
รถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งวัตถุระเบิดจะต้องมีความสามารถเพียงพอเมื่อรถบรรทุกของเต็มที่
และต้องรักษาสภาพรถให้อยู่ในชั้นดีเลิศ
·
เพื่อที่จะลดอันตรายจากไฟไหม้และการเสี่ยงกับการระเบิด
รถบรรทุกนั้นจะต้องมีพื้นปิดอัดแน่น
แผ่นโลหะที่เปลือยด้านในตัวรถจะต้องปิดหุ้ม · ที่ตัวถังของรถจะต้องทำสีหรือเครื่องหมายถาวรด้วยคำว่า อันตราย-วัตถุระเบิด · เมื่อบรรทุกวัตถุระบิดบนรถบรรทุกที่ไม่มีหลังคาจะต้องมีสิ่งป้องกันแสงแดดและสภาวอากาศโดยใช้ผ้าใบคลุม · รถบรรทุกจะต้องได้รับการตรวจทุกๆวัน เพื่อพิจารณาถึง เครื่องดับเพลิง โครงรถเครื่องยนต์ ถังน้ำมันและท่อน้ำมันที่ไม่รั่ว สภาพของเบรก เป็นต้น · ต้องไม่ขนย้ายวัตถุระเบิดในรถพ่วง · ห้ามไม่ให้บุคคลอื่นนอกจากคนขับและผู้ได้รับอนุญาต โดยสารไปกับรถ · ห้ามเติมน้ำมันในขณะที่มีวัตถุระเบิดบรรทุกอยู่ ยกเว้นกรณีฉุกเฉินแต่ต้องดับเครื่องยนต์และปิดไฟต่างๆหมดแล้ว · ห้ามจอดรถบรรทุกทิ้งไว้โดยไม่ดับเครื่อง และต้องห้ามล้อให้เรียบร้อย · ไม่นำรถบรรทุกระเบิดที่บรรทุกระเบิดไปจอดในที่สาธารณะและที่มีรถมาก · ห้ามนำวัตถุระเบิดมาซ้อนกันหลังท่อไอเสียเพราะอาจเกิดไฟลุกไหม้ได้ · คนขับรถจะต้องไม่จอดรถโดยไม่จำเป็น หากจอดกินข้าวต้องจอดให้ห่างจากบริเวณที่มีการจราจร · รถบรรทุกจะต้องมีหม้อดับเพลิงอย่างน้อย 2 หม้อ ตั้งอย่ในที่สะดวกแก่การใช้ · ในการขนย้ายต้องแยกวัตถุระเบิดออกจากดินขยายการระเบิดออกจากกัน การเจาะรู · การเจาะรูจะต้องให้ได้ขนาดเดียวกันตลอดความยาวเพื่อให้การใส่ปลอกไม่จำเป็นต้องดันเข้าไป · รูที่เจาะต้องเรียบร้อยก่อนที่จะนำไดนาไมท์มาใส่ ตลอดจนการบรรจุการระเบิดต้องใช้คนน้อยที่สุดด้วยความรวดเร็วและระมัดระวัง · ห้ามทำให้รูเจาะที่มีวัตถุระเบิดอยู่ก่อนเป็นรูลึกลงไป · การเจาะจะทำได้ก็ต่อเมื่อสำรวจรูเก่าที่อาจมีวัตถุระเบิดหลงเหลือหมดทุกรูแล้ว · การเจาะหลังการระเบิดจะทำได้ก็ต่อเมื่อตรวจสอบหาตัวบรรจุที่ไม่ระเบิดที่ยังติดค้างอยู่เรียบร้อยแล้ว การบรรจุ · การบรรจุระเบิดลงรูเล็กๆ ต้องใช้แงไม้โดยจะต้องไม่ทำอย่างเร็วและรุนแรง · ต้องตรวจสอบรูที่เจาะทั้งหมดและทราบตำแหน่งก่อนที่จะจุดระเบิด · หากว่ารูนั้นยืดหยุ่นได้ก็ปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพื่อรอให้เย็นตัวก่อนๆที่จะบรรจุตัวบรรจุระเบิดใหม่ · ให้ใช้ดินขยายการระเบิดที่จุดด้วยไฟฟ้าสำหรับตัวบรรจุที่ยืดหยุ่นเพื่อความปลอดภัย · จะต้องแยกการปฏิบัติในการเจาะรุและการบรรจุออกจากกัน การเตรียมการวางระเบิด · ตัวบรรจุจะต้องยึดแน่นกับชนวนระเบิดโดยใช้เครื่องมือทำให้จีบย่นซึ่งสร้างขึ้นพิเศษ · ชนวนระเบิดจะต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หากอยู่ในพื้นที่เปียกชื้นชนวนระเบิดจะต้องหุ้มด้วยเทป · ผู้วางระเบิดจะต้องทดสอบวงจรไปยังรูโดยการใช้ Galvanometers · ก่อนจุดระเบิดต้อเอาเครื่องรองแรงระเบิดคลุมก้อนหินหรือสิ่งที่จะทำให้เกิดการแตกกระจายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดกับผู้ปฏิบัติงาน · ถ้าใช้แบตเตอรี่มือถือจะต้องตรวจสอบทุกวัน และห้ามเชื่อมเส้นลวดกับเครื่องจุดระเบิดจนกว่าจะจุดจริง · ห้ามจุดระเบิดโดยใช้สายชนวนจุดระเบิดในปล่องหรือที่ลาดชัน · หากทำการจุดระเบิดโดยใช้ไฟฟ้าจากวงจร Voltage ของไฟจะต้องไม่เกิน 250 Voltsนอกจากนี้การเดินสายไฟและการควบคุมต่างๆจะต้องปฏิบัติดังนี้ 1. สายไฟที่ใช้ในวงจรการจุดระเบิดห้ามนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น 2. วงจรสายไฟจุดระเบิด จะต้องไม่ทับกันทั้งด้านบนด้านล่าง 3. ชุดควบคุมการจุดระเบิด จะต้องประกอบด้วยสวิทช์ปลอดภัยสองอัน แต่ละสวิทช์ต้องอยู่ห่าง กัน 2 เมตร แลการต่อเชื่อมกันด้วยการเสียบปลั๊ก 4. สวิทช์ทั้งสองอันต้องล๊อคได้แบบ Double Pole, Double throw ซึ่งจะเปิดและล๊อคในตำแหน่งดึงลงข้างล่างเพื่อต่อเชื่อมวงจรในตำแหน่งเปิดJumper · เมื่อจะทำการจุดระเบิด ทุกคนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงจะต้องได้รับการแจ้งเตือนเป็นเวลานานพอ ควรและทุกคนอยู่ในระยะปลอดภัย · หากจะจุดระเบิดโดยไม่มีสถานที่หลบภัยตามธรรมชาติเพียงพอ จะต้องสร้างที่หลบภัยเพื่อป้อง กันไม่ให้เศษสะเก็ดกระเด็นมาถูกคน · จะต้องกำหนดให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนรู้ว่าแหล่งหลบภัยของตนอยู่ที่ไหนและต้องมีเจ้าหน้าที่คอย ดูแลรับผิดชอบว่าทุกคนไปยังที่หลบภัยที่กำหนดไว้ การตรวจสอบภายหลังการจุดระเบิด · หลังจากจุดระเบิดแล้ว ผู้ควบคุมจะต้องทำการตรวจสอบเพื่อหาว่าตัวบรรจุได้ระเบิดก่อนที่จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่คนอื่นๆ กลับไปยังที่เดิมของตน
·
ในการระเบิดอย่างต่อเนื่องกันหลายจุดนั้น
ผู้ควบคุมการระเบิดจะต้องนับจำนวนครั้งที่ระเบิด
เมื่อพบว่ามีการระเบิดไม่ครบจำนวนขึ้นผู้ควบคุม · จะต้องตรวจค้นสายไฟต่างๆ ที่อยู่ใต้หินที่ระเบิดแล้วอย่างระมัดระวัง และจะต้องค้นหาจุดที่ยัง ไม่ระเบิดให้ได้
·
หัวหน้าคนงาน
หรือผู้ที่ได้รับมอบให้ควบคุมบริเวณสถานที่จะต้องตรวจสอบบริเวณที่จะทำงาน
ทำความสะอาดไม่ให้มีเศษหินหรือดิน
·
หลังจากการะเบิดด้วยกระแสไฟฟ้าแล้วต้องถอดสายเชื่อมโดยงระหว่างสวิทช์ปลอดภัยและสวิทช์ระเบิดออก
และให้ใส่กุญแจสวิทช์ทั้งหมด · หลังจาการระเบิดให้ทำการขูดผนังบริเวณเพื่อให้หินที่ติดไม่แน่นหล่นลงมา วิธีวางระเบิดโดยใช้ดินกลบ (Mudcapping)
·
วิธีการวางระเบิดแบบดินกลบอาจจะจุดระเบิดได้ด้วยสายชนวนและเชื้อปะทุหรือกระแสไฟฟ้า
ถ้าจะทำการระเบิดใกล้ถนนที่มีการจราจร · เมื่อจำเป็นต้องใช้สายชนวน ให้ใช้ชนวนที่ทำเสร็จแล้วเป็นสายโดยเฉพาะในฤดูหนาว ส่วนที่ไม่ระเบิด (Misfired) · ส่วนที่ไม่ระเบิดจะต้องได้รับการตรวจสอบดูแลอย่างถูกกรรมวิธีจากช่างผู้ชำนาญในเรื่องนี้ก่อน ที่จะเริ่มการจุดระเบิดใหม่
·
ในการใช้ปะทุด้วยไฟฟ้าเมื่อจุดหนึ่งหรือทุกๆจุดเกิดการไม่ระเบิดขึ้น
จะต้องถอดสายนำออกจากเครื่องจุดระเบิดแล้วนำมาวางไว้ให้ห่างจากบริเวณเดิม
· การตรวจสอบประการแรกคือตรวจดูว่ามีสายไฟขาด รอยต่อไม่สนิทหรือลัดวงจรหรือเปล่าถ้ามีให้ซ่อมให้เรียบร้อย แล้วจึงนำสายนำมาต่อกับเครื่องจุดระเบิดได้
·
การจุดประทุด้วยสายชนวน
และเชื้อประทุต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดการไม่ระเบิดขึ้นโดยทิ้งระยะเวลาประมาณ
1
ชั่วโมงก่อนทำการสำรวจดินระเบิด · เมื่อหลุมเจาะที่เจาะอย่างดีเกิดการไม่ระเบิดขึ้นต้องแยกออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1.ในกรณีที่ 1 เมื่อใช้กระแสไฟครั้งที่ 2 แล้วยังไม่ระเบิด ให้บรรจุกระสุนจุดระเบิดใหม่ 2.ในกรณีที่2นี้มีความจำเป็นที่จะเอาวัตถุระเบิดออกเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดจึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและโดยช่างผู้ชำนาญโดยเฉพาะ เคซอง ปล่อง หรืออุโมงค์ (Caisson , Shaft , or Tunnel) · ภายในเคซองจะต้องมีสวิทช์ตัดตอนสำหรับกระแสไฟทั้งหมด และจะต้องตัดไฟและสายไฟ ทั้งหมดออกก่อนที่จะนำวัตถุระเบิดเข้าไปในเคซอง
·
ผู้ควบคุมการระเบิดจะต้องให้สัญญาณภัย
และเป็นผู้รับผิดชอบที่จะให้คนงานทั้งหมดอยู่ในที่ปลอดภัยก่อนที่จะทำการจุดระเบิดและจะคอยดูแลไม่ให้
คนงาน
·
ในการฝังปล่องที่ใช้กระแสไฟในการจุดระเบิดนั้น
วงจรสำหรับจุดระเบิดจะต้องอยู่ต่างหากแยกจากวงจรอื่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการจุดระเบิดก่อนเวลา
· จะไม่มีการจุดระเบิดด้วยชนวนในปล่องที่ตังดิ่งหรือลาดชัน · ในการระเบิดอุโมงค์ ห้ามใช้วัตถุอื่นนอกจาก Fume Class 1 นอกจากจะได้รับอนุญาตพิเศษจากทางการ · ในการบรรจุหลุมระเบิดจะต้องไม่มีกระแสไฟอยู่ในวงจรใดๆในระยะ 60 เมตร การบรรจุต้องกระทำด้วยไฟแสงสว่างจากแบตเตอรี่ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว · ราง ท่ออากาศ ปล่องอากาศจะต้องมีสายดิน · การจัดระบบสวิทช์สำหรับจุดชนวนจะต้องเป็นไปตามกฎ 6.7 นอกจากสวิทช์สองตัวจะอยู่ตรงข้ามกันและมีสายเชื่อมต่างหาก
·
จะต้องไม่ยอมให้ใช้สายไฟจุดระเบิดมาใช้เป็นสายสำหรับให้แสงสว่างเด็ดขาด
และในผนังเดียวกันกับสายไฟจุดระเบิดห้ามในสายไฟเพื่อประโยชน์อื่น · ไดนาไมท์ และเชื้อประทุ หรือกระสุนจุดระเบิดจะต้องนำมาคนละเที่ยวโดยไม่ใช้โดยไม่ใช้รถคันเดียว |
หมวด 13 การปฏิบัติงานภายใต้ความกดอากาศสูง
นิยาม
เคซอง(Caisson)
หมายถึงห้องทึบซึ่งสร้างด้วยไม้หรือเหล็ก
คอนกรีตหรือคอนกรีตเสริมเหล็กโดยอากาศหรือน้ำรั่วซึมเข้าไปไม่ได้
ล็อค
หมายถึง ห้องซึ่งออกแบบไว้เป็นทางเข้าออกสำหรับคนหรือวัสดุจากห้อง
อุโมงค์ซึ่งมีความกดอากาศสูงกว่าระดับปกติไปยังความกดบรรยากาศ ล็อคฉุกเฉิน หมายถึงล็อคซึ่งออกแบบไว้เพื่อห้ามหรืออนุญาตให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งกะใช้เป็นทางด่วนเข้า ออก ล็อคสำหรับบุคคลหมายถึง ล็อคซึ่งใช้สำหรับให้คนผ่านเท่านั้น ล็อคสำหรับปฐมพยาบาลหมายถึงล็อคซึ่งใช้สำหรับผู้ป่วยซึ่งเกิดจากความกดอากาศเพื่อการรักษา ความกดอากาศปกติหมายถึงความกดดันบรรยากาศซึ่งจะเท่ากับหนึ่งบาร์ที่ระดับน้ำทะเล ความกดอากาศรวมหมายถึงความกดอากาศปกติบวกกำลังดันมาตรวัด การเจาะหมายถึงการขุดดิน เริ่มจากผิวดินลงไปเป็นปล่องยาวทำมุม45องศากับแนวราบ ปล่อง หมายถึงห้องปิดทึบป้องกันการรั่วซึมของอากาศและน้ำซึ่งสร้างบนหลังคาของเคซอง และต่อยื่นสูงไปจนเหนือระดับดินปกติหรือระดับน้ำปกติ ข้อกำหนดทั่วไป · งานก่อสร้างใดๆที่ดำเนินการโดยให้คนงานอยู่ภายใต้ความกดอากาศสูง จะต้องให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติงานภายใต้ความกดอากาศสูง · บริษัท หรือผู้รับเหมาต้องแต่งตั้งตัวแทนรับผิดชอบในการดำเนินงานประเภทนี้ และจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจกฎข้อบังคับดังกล่าวดี · ต้องอบรมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อลูกจ้างหรือต่อผู้อื่น · เครื่องจักรจะต้องมีครอบปกปิดส่วนที่เป็นอันตรายเพื่อให้เป็นไปตาม ข้อบังคับที่ว่าด้วยเรื่อง เครื่องจักร · ห้ามไม่ให้ลูกจ้างอาศัยมากับถัง, กระบะหรือบุ้งกี๋ ซึ่งบรรทุกวัสดุอยู่ · ควรติดประกาศสำเนากฎหมายหรือกฎข้อบังคับต่าง ๆ ไว้ที่ตำแหน่งซึ่งเห็นได้ชัดที่ทางเข้าออกเขตปฏิบัติงาน จำนวนชั่วโมงทำงาน
·
การทำงานภายใต้ความกดอากาศสูงภายใน
24ชั่วโมงควรแบ่งออกเป็น 2
กะ
บุคคลที่ไม่เคยปฏิบัติงานในความกดอากาศสูงมาก่อน · จะต้องใช้ดุลยพินิจเวลาปฏิบัติงานของแต่ละกะเมื่อความกดอากาศน้อยกว่า 1.24 บาร์ โดยมีข้อแม้ว่าชั่วโมงการทำงาน 2 กะรวมกันจะต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง การรับความกดอากาศสูง
·
คนงานทุกคนที่เข้าไปปฏิบัติงานภายใต้ความกดอากาศสูงเป็นครั้งแรก
จะต้องได้รับการอบรมวิธีการแก้ความอึดอัดหูอื้อซึ่งจะทำให้กำลังอัดสมดุลกัน
·
เมื่อคนงานเข้าไปในล็อค
กำลังดันอากาศจะต้องไม่เกิน 0.345
บาร์มาตรวัด
สำหรับหนึ่งนาทีแรก
และจะต้องรักษากำลังดันนี้ให้คงที่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง การลดความกดอากาศสูง
·
ห้ามคนงานซึ่งปฏิบัติงานอยู่ภายใต้ความกดอากาศสูงออกจากห้องปฏิบัติงานมายังความกดอากาศปกติ
เว้นแต่จะได้เข้าไปอยู่ในห้องซึ่งได้ลด · ทุกกะ 8 ชั่วโมง จะต้องมีพนักงานซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะคอยจดรายงานสภาพคนงานซึ่งปฏิบัติงานภายใต้ความกดอากาศ โดยผู้จดจะต้องอยู่ที่ทางเข้าภายในล็อค มาตรวัด
·
เมื่อกำลังดันมาตรวัดเกินกว่า
1.172 บาร์
จะต้องมีมาตรวัดบันทึกค่าการลดความกดอากาศติดตั้งไว้ภายในล็อคแต่ละล็อค
มาตรวัดจะต้องอ่านได้ละเอียดพอที่ · จะต้องติดตั้งมาตรวัดกำลังดันภายนอกห้องปฏิบัติงานอย่างน้อยหนึ่งมาตร ซึ่งจะต้องติดตั้งให้เห็นได้ง่ายและอ่านได้ค่าถูกต้อง · จะต้องให้มีผู้ชำนาญการคอยควบคุมวาล์วและมาตรวัด และต้องไม่อยู่ในห้องปฏิบัติงานเกินกว่า 8 ชั่วโมง และจะต้องไม่ควบคุมท่อส่งอากาศซึ่งแยกกันต่างหากเกินกว่า 2 ท่อ การให้แสงสว่าง · จะต้องจัดให้มีระบบแสงสว่าง 2 ระบบ รวมทั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าระบบแยกอิสระจากกัน ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องทำงานอัตโนมัติถ้าระบบที่จ่ายอยู่ตามปกติเกิดขัดข้อง · ความเข้มข้นของแสงที่เดินทาง, บันไดไต่, บันไดเหยียบ จะต้องไม่น้อยกว่า 0.25 แรงเทียน · การเดินสายไฟฟ้าแสงสว่างหรือไฟฟ้ากำลัง จะต้องเป็นไปตามข้อบัญญัติความปลอดภัยทางด้านไฟฟ้าเกี่ยวกับการเดินสายในที่เปียกหรือในที่แวดล้อมเป็นอันตราย · เปลือกนอกของอุปกรณ์ไฟแสงสว่างซึ่งติดตั้งสูงไม่เกิน 2.40 เมตร จะต้องเป็นชนิดที่ไม่ไหม้ไฟ ไม่เป็นฉนวนที่ดูดซึมง่าย เว้นแต่จะใช้โลหะซึ่งต้องต่อลงดิน · ไฟส่องสว่างชนิดโยกย้ายได้ต้องมีมือจับเป็นฉนวนไฟฟ้า มีโกร่งครอบกันหลอดแตกและห้ามใช้โคมห้อยที่เปลือกนอกชำรุด ลิ้นระบายอากาศเสีย · ต้องจัดให้มีลิ้นระบายอากาศเสีย โดยต่อท่อออกไปด้านบนของห้องถ้าจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการจุดระเบิด ห้ามคนงานเข้าปฏิบัติงานจนกว่าควันจะจางหมดไปแล้ว ระบบสัญญาณและระบบสื่อสาร · ต้องจัดให้มีระบบสื่อสารที่เชื่อถือได้ และถ้าทำได้ควรติดตั้งโทรศัพท์ติดตั้ง · สํญญาณที่ใช้จะต้องติดประกาศให้เห็นเด่นชัดใกล้ทางเข้าที่ปฏิบัติงานโดยตัวอักษรต้องสูงไม่น้อยกว่า2.5ซ.ม. การสุขาภิบาล · ควรจัดให้มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าที่มีแสงสว่างและมีระบบระบายอากาศ และจัดห้องสุขาอย่างน้อยในอัตรา 1 ห้องต่อคนงาน 25 คน · ต้องระวังรักษาส่วนต่างๆของเคซองไม่ให้มีขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ และห้ามส่งเสียงดัง รวมทั้งงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด ระเบียบและการดูแลทางแพทย์ · ต้องจ้างแพทย์ปริญญาอย่างน้อยหนึ่งนายซึ่งมีใบประกอบโรคศิลป์เกี่ยวกับอาการบาดเจ็บเนื่องจากความกดอากาศสูง
·
ผู้รับเหมาจะต้องมอบอำนาจในการออกคำสั่งหรือแต่งตั้งระดับบังคับบัญชาแก่นายแพทย์เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน
และต้องมีล็อคสำหรับปฐมพยาบาลโดย การห้ามนำสุราเข้าเขตปฏิบัติงาน · ห้ามอนุญาตลูกจ้างเข้าไปในปล่องเคซองและห้ามนำสุราเข้าสถานที่ปฏิบัติงาน ยกเว้นเพื่อใช้งานทางแพทย์ อุณหภูมิและการระบายอากาศ · อุณหภูมิของห้องปฏิบัติงานภายใต้ความกดอากาศสูงจะต้องไม่เกิน 29.4องศาเซลเซียส · ท่ออากาศที่ส่งเข้าไปจะต้องมีลิ้นกันกลับและพยายามส่งในระดับหน้าคนเท่าที่จะทำได้ · ผู้รับเหมาจะต้องจัดให้มีการวิเคราะห์อากาศในห้องปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อวันและบันทึกผลการวิเคราะห์นี้เก็บไว้ในแฟ้มใกล้กับสถานที่ปฏิบัติงาน เครื่องอัดลม · ต้องมีเครื่องอัดลมที่มีคุณภาพดีสำรองไว้ โดยต้องสำรองน้ำที่ใช้กับหม้อน้ำเพียงพอ 12 ชั่วโมง เว้นแต่จะต่อท่อประปา · เครื่องอัดลมจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะจ่ายอากาศเข้าไปในห้องปฏิบัติงานแต่ละห้องและเพียงพอที่จะทำให้อากาศในห้องแห้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ · ถ้าใช้ไฟฟ้าจากองค์กรรัฐวิสาหกิจจะต้องมีข้อกำหนดดังนี้ 1. จะต้องมีไฟฟ้ากำลังป้อนเข้าเครื่องอัดลมอย่างน้อย 2 ฟีดเดอร์เพื่อป้องกันในกรณีที่อีกฟีดเดอร์เกิดการขัดข้อง 2. ต้องมีเครื่องอัดลมอย่างน้อยสองเครื่องเพื่อป้องกันในกรณีที่ฟีดเดอร์เกิดการชำรุดเครื่องอัดลมก็จะหยุดทำงานเพียงเครื่องเดียว ล็อคและปล่อง · ล็อคและปล่องที่ต่อเข้ากับเคซองจะต้องสร้างแบบใช้หมุดย้ำตลอด วัสดุที่ใช้จะต้องเป็นแผ่นเหล็กหนาไม่น้อยกว่า 6.35 มม · ต้องทำการทดสอบปล่องโดยวิธีอัดน้ำหรือใช้กำลังดันลม 5.17 บาร์โดยที่กำลังดันขนาดนี้ปล่องจะต้องไม่รั่ว · เมื่อจะใช้งานปล่องถ้ามีที่ว่างพอให้ติดตั้งบันไดเหยียบซึ่งปลอดภัยและกะทัดรัด · จะต้องมีเครื่องวัดความดันติดตั้งไว้ทุกเคซองและทุกห้องที่มีความกดอากาศสูงเพื่อให้รู้ค่ากำลังดันอากาศที่คนงานได้รับอย่างแท้จริง · ห้องที่มีความกดอากาศสูงนอกแคซองจะต้องมียกพื้นกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร มีรั้วกันตกสูงหนึ่งเมตร แผ่นกั้นเพื่อความปลอดภัย
·
ที่ใดซึ่งมีการใช้เคซองซึ่งมีความกดอากาศสูงโดยความยาวเคซองน้อยกว่า3.65
เมตร เมื่อยกเคซองนี้ขึ้นแขวนลอยในขณะปฏิบัติงานโดยที่ก้นหลุม การหย่อนเคซองลงใต้น้ำ · ห้ามหย่อนเคซองลงระยะต่ำกว่า 60 ซม. โดยวิธีลดกำลังอัดอากาศและในทางปฏิบัติจะต้องให้มีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้นเป็นผู้ควบคุม · ตัวเคซองจะต้องได้รับการค้ำยันเพียงพอก่อนที่จะเพิ่มน้ำหนักโดยใช้คอนกรีตหรือน้ำหนักอื่นๆถ่วง
·
เหล็กหล่อหรือน้ำหนักอื่นๆ ซึ่งใช้สำหรับถ่วงน้ำหนักเคซองให้จมลง
จะต้องจัดกองในลักษณะที่เป็นระเบียบและปลอดภัย น้ำหนักดังกล่าว การป้องกันอัคคีภัย · โครงสร้างหลังคาควรจะสร้างด้วยเหล็กรูปพรรณหรือโครงสร้างแบบเปิดซึ่งสร้างด้วยไม้ที่อาบน้ำยาทนไฟ
·
ห้ามกองสะสมน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบนซิน
หรือวัสดุติดไฟง่ายต่างๆไว้ในระยะ
30.5เมตรนับจากปล่องเคซองหรืออุโมงค์
จะต้องดำเนินการป้องกันไม่ให้ |
rangsonw@gmail.com |
||||
ปรับปรุงแก้ไข พฤหัสบดี, 20 กรกฎาคม 2549 19:19:24 |